ข่าว ม.รังสิต ผ่านสื่อ

  สำนักงานกิจการนักศึกษา


สำนักงานกิจการนักศึกษา
Office of Student Affairs

 

สำนักงานกิจการนักศึกษาเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายมหาวิทยาลัยในการพัฒนา และเสริมสร้างนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ ตามปณิธานของ มหาวิทยาลัย ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนดูแลการทำกิจกรรมนักศึกษาในทุกๆ ด้านทั้ง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ กิจกรรม สโมสรนักศึกษา กิจกรรมชมรมนักศึกษา เพื่อวางแผนการดำเนิน โครงการกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาตลอดปีการศึกษา รวมถึงจัดสวัสดิการและบริการแก่นักศึกษา เช่น การประกันอุบัติเหตุ การบริการกู้ยืมเงินฉุกเฉิน การ จัดทำบัตรลดค่าโดยสารรถยนต์ บ.ข.ส. และรถไฟ ด้านงานวิชาทหารได้ทำหน้าที่ประสาน งานกับกรมรักษาดินแดน และจัดบริการผ่อนผัน การตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารให้กับ นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนวิชาทหาร การประชาสัมพันธ์ และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย บริการแนะแนว ให้คำปรึกษาในด้านการหางานทำและเผยแพร่ข้อมูล การรับสมัครงงาน นอกจากนี้ ได้เสริมสร้างและพัฒนาวินัยนักศึกษาให้เป็น ไปตามระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ศีลธรรมอันดี สนองตอบนโยบายการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ

สำนักงานกิจการนักศึกษา จัดแบ่งภารกิจหลักออก เป็น 3 ส่วน คือ 1. กิจกรรม นักศึกษา 2. สวัสดิการและบริการนักศึกษา 3. หน่วยจิตวิทยาการศึกษา

* กิจกรรมนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรังสิตกำหนดกิจกรรมนักศึกษาเป็น 2 ส่วนคือ
1. กิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาเพื่อนักศึกษาในหลากหลายรูปแบบกิจกรรม
2. กิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ทั้งนี้มีเป้าหมาย ในการพัฒนาศักยภาพและคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อสังคม ส่วนรวม โดยมีเนื้อหาของกิจกรรมหลักดังนี้

1. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาพัฒนา
กิจกรรมนี้มุ่งปลูกฝังคุณธรรม และอุดมการณ์แก่นักศึกษา สอนให้รู้จักช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส รู้จักการทำงานร่วมกันและได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรม รู้จักเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวมนำความรู้ทางวิชาการและ/หรือประสบการณ์ของตนเองในการพัฒนา ชุมชนและสังคมอีกทั้งเป็นการฝึกความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

กิจกรรมอาสาพัฒนาเป็นกิจกรรมอาสาสมัครให้ผลตอบแทน ทางด้านจิตใจและการพัฒนาตนเอง ซึ่งไม่มีผลตอบแทนเป็นเงินตรา หรือสิ่งอื่นๆ อันเป็นผลจากการที่ได้มีโอกาส ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่

1. ด้านการศึกษา จัดกิจกรรมสร้างหรือซ่อมแซมอาคารเรียน ห้องสมุด พัฒนาโรงเรียน สร้างสนามกีฬาจัดทำและสาธิต การทำอุปกรณ์การศึกษา บริจาคหนังสือ สอน หนังสือ เป็นต้น
2. ด้านสาธารณูปโภค โดยสร้างศาลาเอนกประสงค์ ถังเก็บน้ำฝน ขุดสระน้ำ หรือบ่อน้ำ พัฒนาปรับปรุงหมู่บ้าน และสาธารณสมบัติอื่นๆ
3. ด้านการเกษตร จัดแนะนำการปลูกพืชผักการใช้ยาปราบศัตรูพืชที่ถูกต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
4. ด้านสาธารณสุข โดยจัดชุดนักศึกษาด้านสาขาวิชา วิทยาศาสตร์การแพทย์ ออกหน่วยตรวจและรักษาโรคฟรี ให้คำแนะนำในการรักษาสุขภาพ ให้ความรู้ในการป้องกัน โรคเอดส์ โรคติดต่อทั่วไป ยาเสพติด เป็นต้น
5. ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดกิจกรรม ปลูกป่า ให้ความรู้และบริการด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง

2. กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
กิจกรรมนี้มุ่งหวังเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ แลกเปลี่ยน พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ปลูกฝังค่านิยม ความภาคภูมิใจ ความซาบซึ้งใน ศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้จะเน้นให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษาจัดกิจกรรมทางศาสนาอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งกิจกรรมทางศาสนาพุทธ อิสลาม และคริสต์

กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ การร่วมกิจกรรมทางศาสนา การจัดนิทรรศการ การแสดงทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล การละเล่นพื้นเมือง กิจกรรมตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีและท้องถิ่น อีกทั้งมีการจัดงานสำคัญตามประเพณีไทย เช่น วันไหว้ครู วันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันเข้าพรรษา ฯลฯ ในส่วนของชมรมนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ เช่นโครงการประกวดเพลงลูกทุ่งไทย โครงการแสดงดนตรีไทย โครงการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย เป็นต้น

3. กิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง
กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษา เช่น การพัฒนา บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ คุณธรรมและจริยธรรม การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม การ ปรับตัวให้อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข สร้างจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศชาติทั้งในขณะที่เป็นนักศึกษาและเมื่อสำเร็จเป็นบัณฑิต

กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ การจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม โดยมีเทคนิคและวิธีการต่างๆ เช่น การบรรยาย อภิปราย กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสร้างสถานการณ์จำลอง การศึกษาและปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ การเยี่ยมคนชรา เด็กและผู้ด้อยโอกาส โครงการเสริมสร้างจริยธรรมให้กับชุมชนต่างๆ โครงการรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมอดออม และนิยมไทย

4. กิจกรรมกีฬา
กิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการเล่น กีฬาปลูกฝังความมีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ความสามัคคีในหมู่คณะ พัฒนาด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ให้นักศึกษา รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา และเพื่อให้หลีกไกลจากยาเสพติด ทั้งนี้กิจกรรมกีฬาจะใช้เป็นสื่อได้หลายประการ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ กิจกรรมของชมรมกีฬาประเภทต่างๆ การแข่งขันกีฬาประเพณีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ คือ กีฬารังสิตสัมพันธ์ และกีฬาน้องใหม่รังสิตสัมพันธ์นอกจากนี้ยังมีการแข่งกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

5. กิจกรรมวิชาการ
กิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมการทำงานด้านกิจกรรมวิชาการของคณะสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงการจัดประชุมสัมมนา เพื่อเผยแพร่แนวทางในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้กับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่เกี่ยวข้องได้รับทราบกฎ ระเบียบและแนวปฏิบัติต่างๆ ในการจัดกิจกรรม รวมถึงกำหนดแนวทางการพัฒนาและวางแผนปฏิบัติกิจกรรม เสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน อาจารย์ด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ที่ร่วมกันทำ กิจกรรมต่างๆ

การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
นักศึกษาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามความชอบและความสนใจ ซึ่งกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีกลุ่มกิจกรรม 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
2. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัย/คณะ (22 คณะ)
3. ชมรมนักศึกษา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตมีชมรมนักศึกษาครอบคลุมกิจกรรม 4 ด้าน คือ วิชาการ, ศิลปวัฒนธรรม, บำเพ็ญประโยชน์,กีฬา โดยมีจำนวนชมรมนักศึกษาทั้งสิ้น 38 ชมรม ดังนี้

ชมรมฝ่ายกีฬา
1. ชมรมฟันดาบสากล
2. ชมรมเทนนิส
3. ชมรมเชียร์ลีดเดอร์
4. ชมรมวอลเลย์บอล
5. ชมรมบาสเกตบอล
6. ชมรมยูโด
7. ชมรมกอล์ฟแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
8. ชมรมฟุตบอล
9. ชมรมกรีฑา
10. ชมรมเทควันโด
11. ชมรมแบดมินตัน
12. ชมรมเปตอง
13. ชมรมรักบี้ฟุตบอล

ชมรมฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์
1. ชมรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. ชมรมศึกษาและพัฒนายุวชน
3. ชมรมนักศึกษาทุนมหาวิทยาลัยรังสิต
4. ชมรมทักษิณสัมพันธ์
5. ชมรมอาสาพัฒนาชนบท

ชมรมฝ่ายวิชาการ
1. ชมรมศิลปะ
2. ชมรมมัคคุเทศก์
3. ชมรมเศรษฐกรพัฒนา
4. ชมรมถ่ายภาพ
5. ชมรมสร้างสรรค์ชีวิต
6. ชมรมการ์ตูน
7. ชมรมประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
8. ชมรมอาหารและเครื่องดื่ม
9. ชมรมอุปกรณ์การแพทย์
10. ชมรมแบ็คแพ็คเกอร์
11. ชมรมนักออกแบบเพื่อชุมชน
12. ชมรมพัฒนาบุคลิกภาพและการพูด
13. ชมรมทูบี นัมเบอร์วัน

ชมรมฝ่ายศิลปวัฒนธรรม
1. ชมรมไทยลูกทุ่ง
2. ชมรมดนตรีไทย
3. ชมรมศิลปะการแสดงละครเวที
4. ชมรมมุสลิม
5. ชมรมพุทธศาสตร์
6. ชมรมคริสเตียน
7. ชมรมนาฏศิลป์และกระบี่กระบอง
8. ชมรมภาษาญี่ปุ่นม.รังสิต
9. ชมรมดนตรีสากล
10. ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรม

งบประมาณการทำกิจกรรมนักศึกษา
ในการดำเนินงานกิจกรรมนักศึกษาโดยนักศึกษา มีแหล่งงบประมาณสนับสนุนดังนี้
1. งบประมาณอุดหนุนประจำปีจากมหาวิทยาลัย
2. งบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม)
3. การจัดหารายได้ของกลุ่มและองค์กรนักศึกษา
4. ผู้ให้การสนับสนุนอื่นๆ

นักศึกษาที่สนใจทำกิจกรรม โดยจัดทำโครงการกิจกรรม ติดต่อขอรับคำปรึกษา การดำเนินกิจกรรม และถ้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรมติดต่อขอทราบข้อมูลได้ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา อาคารประสิทธิ์พัฒนา (อาคารหอพัก 8 A) ชั้น 2 โทรศัพท์ 0-2997-2200-22 ต่อ 2843,2844 โทรสาร 0-2997-2200-22 ต่อ 2557 สโมสรนักศึกษา อาคารประสิทธิ์ พัฒนา (อาคารหอพัก 8 A) ชั้น 2 โทรศัพท์ 0-2997-2200-22 ต่อ 1696.

* สวัสดิการและบริการนักศึกษา
งานบริการด้านการศึกษาวิชาทหารรักษาดินแดน
นักศึกษาชายและหญิงที่มีความประสงค์เข้าเรียนวิชาทหารรักษาดินแดนให้แจ้งความประสงค์ได้ที่งานบริการนักศึกษา โดยผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ
1. จะต้องผ่านการเรียนวิชาทหารในชั้นปีที่ 1,2 มาแล้ว โดยมีใบรับรองการฝึก จากศูนย์การกำลังสำรอง
2. จะต้องเรียนต่อเนื่องกันไป โดยไม่เว้นระยะการเรียน หรือถ้ามีการเว้นระยะจะต้องมีหนังสือรอรับสิทธิจากศูนย์การกำลังสำรอง
3. ในส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น ในปีการศึกษา 2547 ศูนย์การกำลังสำรองได้ จัดให้เรียนวิชาทหารในวันอาทิตย์ ช่วงบ่าย (13.00-17.00 น.) ณ ศูนย์การฝึกกำลังสำรอง ถนนวิภาวดีรังสิต

งานบริการด้านการขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารกองประจำการ
นักศึกษาชายที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ มีหน้าที่ต้องไปแสดงตน เพื่อรับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ งานบริการนักศึกษาได้จัดบริการขอผ่อนผัน การตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการแก่นักศึกษาโดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนวิชาทหาร (ร.ด.)

2. นักศึกษาที่เรียนวิชาทหารไม่จบชั้นปีที่ 3 เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารในปีที่ถัดไป

3. การขอผ่อนผันเข้ารับราชการทหารจะดำเนินการให้กับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และมีอายุไม่เกิน 26 ปี

4. การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารกองประจำการนักศึกษาต้องปฏิบัติดังนี้
4.1 การเตรียมเอกสาร
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
- สำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร จำนวน 3 ชุด (ส.ด.35)
- สำเนาหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด. 9) จำนวน 3 ชุด
- หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา (ฉบับจริง) จำนวน 1 ฉบับ
4.2 การยื่นเอกสารและการตรวจสอบรายชื่อ
- ให้นักศึกษาส่งเอกสารในการขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารกอง ประจำการได้ที่ งานบริการนักศึกษา สำนักงานกิจการนักศึกษา
- ตรวจสอบบัญชีรายชื่อของตนเองที่งานบริการนักศึกษา ในช่วงกลาง เดือนมกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
- ตรวจสอบบัญชีรายชื่อของตน ณ ที่ว่าการอำเภอภูมิลำเนาทหาร ก่อนการตรวจ เลือกประมาณ 1 เดือน (เดือนมีนาคม) หากพบว่าไม่มีรายชื่อปรากฏในบัญชีบุคคล ผ่อนผันจะต้องรีบแจ้งสถาบันการศึกษา เพื่อแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา ดำเนินการต่อไป
- นักศึกษาที่ดำเนินการผ่อนผันการตรวจเลือกทหารกองประจำการไว้ต้องไปแสดง ตัวต่อคณะกรรมการตรวจเลือกทหาร ตามวัน และเวลาที่ได้กำหนด ไว้ในหมายเรียก (ส.ด. 35) โดยมีเอกสารที่ต้องนำไปในวันแสดงตัวต่อคณะกรรมการตรวจเลือก คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ใบสำคัญ (แบบ ส.ด. 9)
3. หมายเรียก (ส.ด. 35)
4. บัตรประจำตัวนักศึกษา

ในปีต่อไปนักศึกษาไม่ต้องส่งเอกสารการขอผ่อนผัน การตรวจเลือกทหารต่อ มหาวิทยาลัยอีก แต่จะต้องไปรับหมายเรียก (ส.ด.35) ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาทหาร ของตน ก่อนเดือนธันวาคมของทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา (อายุไม่เกิน 26 ปี) และจะต้องไปแสดงตัวต่อคณะกรรมการตรวจเลือกทหารทุกปี ตามวัน และเวลาที่ระบุในใบ ส.ด. 35 ในกรณี ที่นักศึกษาจบการศึกษาหรือลาออกจากมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาจะหมดสิทธิ์ในการขอ ผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารทันที และจะต้องแจ้งให้อำเภอตามภูมิลำเนาทหาร ทราบทันทีภายใน 30 วัน นับจากจบการศึกษา หรือพ้นสภาพนักศึกษาหากไม่ปฏิบัติตามจะผิดกฎหมายตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

งานบริการด้านการขอผ่อนผันการเรียกระดมพล เพื่อเข้ารับการฝึกวิชาทหาร
นักศึกษาวิชาทหารที่ผ่านการเรียนตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด คือ ผ่านการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 และทำการปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว หากมีความประสงค์จะทำการขอผ่อนผันการเรียกระดมพล เพื่อฝึกหรือนักศึกษาที่ได้รับหมาย เรียกเพื่อฝึกแต่ไม่ สามารถไปทำการฝึกได้ ให้นักศึกษานำเอกสารสำเนาหนังสือสำคัญ (ส.ด.8) จำนวน 2 ชุด พร้อมหมายเรียก (ถ้ามี) มายื่นได้ที่งานบริการนักศึกษา เพื่อทำการขอผ่อนผันการฝึกต่อไป

การดำเนินการของงานบริการนักศึกษาในกรณีขอผ่อนผันการตรวจเลือก ทหารกองประจำการ
1. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ติดประกาศ ทำหนังสือ ถึงคณะ เพื่อแจ้งให้นักศึกษา ซึ่งมีอายุครบกำหนดที่ต้องเข้ารับการคัดเลือกทหารกองประจำการ นำเอกสารมายื่น เพื่อขอ ผ่อนผันการคัดเลือกทหาร
2. รวบรวมเอกสาร และจัดพิมพ์บัญชีรายชื่อผู้ขอผ่อนผันการคัดเลือกทหาร
3. ทำบัญชีรายชื่อเสนอรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เพื่อลงนาม
4. ส่งบัญชีรายชื่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามระยะเวลาที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

งานกองทุนกู้ยืมฉุกเฉิน
มหาวิทยาลัยรังสิตอนุมัติเงินกองทุนกู้ยืมฉุกเฉินสำหรับนักศึกษา เพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนในด้านการศึกษาโดยมีรายละเอียด ดังนี้ คุณสมบัติของผู้กู้
1. เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียน เรียนในภาคเรียนปัจจุบัน
2. มีความเดือดร้อน และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกระทันหัน ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการศึกษา และการดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัย
3. มีความประพฤติดี
4. ไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษทางวินัยนักศึกษา

เงื่อนไขการกู้ยืม
1. นักศึกษามีความประสงค์จะขอกู้ยืมเงินฉุกเฉิน จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ ระบุใน ใบคำร้อง

2. ให้เพื่อนนักศึกษา 1 คน รับรองถึงความจำเป็นในการใช้เงิน พร้อมแนบ สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา
3. การยื่นคำร้องขอกู้ยืมฉุกเฉินได้นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาและการรับรอง จากอาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา และคณบดีของแต่ ละคณะว่ามีความเดือดร้อนในด้านการเงินจริง
4. ในการพิจารณาคำร้องขอให้ถือเอาคำพิจารณาของรองอธิการบดีฝ่ายกิจ การนักศึกษาเป็นที่สิ้นสุด

ขั้นตอนการขอกู้ยืมเงินฉุกเฉิน
1. นักศึกษารับแบบฟอร์มการกู้ได้ที่คณะที่ตนสังกัด
2. กรอกแบบฟอร์มให้ละเอียดทุกช่อง โดยเฉพาะเหตุผลในการขอกู้
3. แนบเอกสารใบแสดงผลการเรียน สำเนาบัตรประจำตัว ประชาชน สำเนา บัตรนักศึกษา และซองจดหมายจ่าหน้าซอง ถึงผู้ปกครองของผู้กู้
4. ให้เพื่อนนักศึกษา 1 คน เซ็นต์รับรองถึงความจำเป็นในการใช้เงิน และแนบ สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษาของผู้รับรองด้วย
5. นำเอกสารทั้งหมดผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีฝ่าย กิจการนักศึกษาและคณบดีตามลำดับ
6. นำเอกสารและเพื่อนผู้รับรองมาที่งานบริการนักศึกษา เพื่อลงชื่อเป็นหลัก ฐาน และรอการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักงานกิจการนักศึกษา
7. นำเอกสารการอนุมัติจากสำนักงานกิจการนักศึกษาไปรับเงิน ที่แผนกการ เงิน(ตึก 1) 8. นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับเงินกู้ยืมฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติตามสัญญา กู้ยืมเงินฉุกเฉินอย่างเคร่งครัด

วงเงินที่ให้กู้ยืม
- ไม่เกิน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน)
การจ่ายเงินให้ผู้กู้
1. ให้นักศึกษานำเอกสารที่ผ่านการอนุมัติแล้วไปยื่นที่แผนกการเงิน พร้อมกับ แสดงบัตรนักศึกษา หรือบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประกอบในการขอรับเงิน
2. แผนกการเงินจะส่งเอกสารที่มีการจ่ายเงินแล้วมายังงานบริการนักศึกษา เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

เงื่อนไขการผ่อนผันชำระหนี้
1. การผ่อนชำระหนี้ นักศึกษาสามารถผ่อนชำระเป็นรายเดือนได้จำนวน 4 เดือน หลังจากระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันที่รับเงิน ทั้งนี้การผ่อนชำระจะเป็นข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างนักศึกษา (ผู้กู้) กับสำนักงานกิจการนักศึกษาโดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
2. การชำระคืนเงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่มหาวิทยาลัย ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในทันทีที่นักศึกษาไม่ขาดแคลนเงินค่าใช้จ่ายอีกต่อไป ทั้งนี้ต้องให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มการสอบไล่ประจำภาคการศึกษาที่นักศึกษาได้รับเงินกู้ยืมฉุกเฉิน เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัย
3. นักศึกษาที่ยังไม่ได้ชำระคืนเงินกู้ยืมฉุกเฉินที่รับไปแล้วแก่มหาวิทยาลัยอย่างครบถ้วน ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณา ให้ได้รับเงินกู้ยืมฉุกเฉินอีก

งานบริการด้านประกันอุบัติเหต
ุ มหาวิทยาลัยได้จัดบริการสวัสดิการแก่นักศึกษา และบุคลากรในด้านการประกัน อุบัติเหตุ โดยร่วมกับบริษัทประกันภัย ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเกิด อุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าศึกษา (นักศึกษา) หรือนับตั้งแต่วันแรก ที่เข้าทำงาน (บุคลากร) โดยนักศึกษาทุกคนจะเสียเบี้ยประกัน จำนวน 200 บาท ต่อคนต่อปี โดยมีระยะเวลาในการคุ้มครอง 1 ปี และจะทำการต่ออายุกรมธรรม์ทุกปี

ผลประโยชน์ที่ได้รับ
นักศึกษาจะได้รับความคุ้มครองการเสียชีวิตและการสูญเสีย อวัยวะ หรือสายตา อันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดจากอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมงทั่วโลก

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- กรณีสูญเสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทน จำนวน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
- กรณีได้รับบาดเจ็บจะได้รับค่าสินไหมตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ต่อการเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง

วิธีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1. เตรียมเอกสารใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริงทั้งหมด) สำเนา บัตรนักศึกษา หรือบัตรประชาชน และสำเนาหน้าสมุดเลขที่บัญชี
2. นำเอกสารมาเขียนคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนที่สำนักงานกิจการนักศึกษา
3. กรณีเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์คือผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การดำเนินการของงานบริการนักศึกษา
1. รับเอกสารจากนักศึกษาและบุคลากร เพื่อรวบรวมนำเสนอบริษัทประกัน ภัยให้ดำเนินการต่อไป
2. เมื่อได้รับเอกสารอนุมัติจากบริษัทประกันภัยแล้ว จะติดต่อให้นักศึกษา ทราบ
3. จ่ายเงิน หรือโอนเงินเข้าบัญชีให้นักศึกษาตามเอกสารอนุมัติของบริษัท ประกันภัย

งานบริการจัดหางาน
งานบริการนักศึกษา จัดให้บริการแก่นักศึกษาในการประกอบ อาชีพ และหางานทำ และพัฒนาศักยภาพนักศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน โดยงานบริการได้จัดแหล่ง ข้อมูลข่าวสาร ของความต้องการแรงงาน หรือตำแหน่งงานว่างของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาค รัฐและเอกชน เพื่อบริการแก่นักศึกษาที่สนใจ

การดำเนินงานของงานบริการนักศึกษา
1. ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาได้ทราบข้อมูลของ หน่วยงานต่างๆ โดยติดประกาศ ตามบอร์ดของอาคารต่างๆ 2. นำเสนอคณะต่างๆ ให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบ กรณีงานที่เกี่ยวข้อง กับนักศึกษาคณะใดคณะหนึ่ง

งานบริการด้านขอลดหย่อนอัตราค่าโดยสาร
นักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะเดินทางเป็นกลุ่ม หรือคณะเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในต่างจังหวัด หรือนักศึกษาที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน สามารถติดต่อเพื่อขอทำหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปติดต่อขอซื้อบัตรลดราคาค่าโดยสารรถยนต์ หรือ รถไฟได้ที่บริษัทขนส่ง จำกัด หรือสถานีรถไฟ

* หน่วยจิตวิทยาการศึกษา
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำแก่นักศึกษาที่มีปัญหา ในด้านบุคลิกภาพ การปรับตัวด้านวิชาการ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ ส่งเสริมและพัฒนาบุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม และแนะแนวในเรื่องทั่วไป

สถานที่ตั้ง ห้อง 4-608 อาคารวิทยาศาสตร์ ชั้น 6 เปิดทำการ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.30-13.30 น. ยกเว้นวันหยุดตามประกาศของมหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 1462,1477

ขั้นตอนขอรับบริการ
1. นักศึกษาที่มารับบริการต้องผ่านการปรึกษาและส่งต่อมาจากอาจารย์ที่ ปรึกษาประจำคณะที่นักศึกษาสังกัด
2. นักศึกษาสามารถขอรับบริการด้วยตนเองได้ โดยติดต่อนัดหมายกับเจ้าหน้า ที่ประจำหน่วยจิตวิทยาการศึกษา

สำนักงานกิจการนักศึกษา ชั้น 2 ห้อง 205 อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต

52/347 ถนนพหลโยธิน หมู่บ้านเมืองเอก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ : 0-2997-2200 ต่อ 3918, 3921, 3922, 3923, งานบริการด้านการศึกษาวิชาทหารรักษาดินแดน (รด.) 3924
โทรสาร : 0-2997-2222 ต่อ 3917
อีเมล์ : rsu-sa@rsu.ac.th

รายละเอียดเพิ่มเติม Website: http://www.rsu-sa.com



ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 89 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 39 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 15 หลักสูตร รวม 143 หลักสูตร
วิทยาศาสตร์ - สุขภาพ
___
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
พยาบาลศาสตร์
วิทยาศาสตร์
กายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
เทคนิคการแพทย์
ทัศนมาตรศาสตร์
รังสีเทคนิค
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ - เทคโนโลยี
___
สถาบันการบิน
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
นวัตกรรมเกษตร
เทคโนโลยีอาหาร
มนุษยศาสตร์ - สังคมศาสตร์
___
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
นิติศาสตร์
วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
สถาบันภาษาอังกฤษ
สถาบัน Gen.Ed.
อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
รัฐศาสตร์
การทูตและการต่างประเทศ
เศรษฐกิจ - ธุรกิจ
___
บริหารธุรกิจ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ
วิทยาลัยการกีฬา
บัญชี
เศรษฐศาสตร์
ศิลปะ - การออกแบบ
___
ดิจิทัลอาร์ต
วิทยาลัยการออกแบบ
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรออนไลน์ / นานาชาติ / ป.โท-เอก
___
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยนานาชาติ
International Chinese College (中国国际学院)
Rangsit Cyber University
วิชาการ / วิจัย /
ประกันคุณภาพ

Journal of International
- Journal of Current Science and Technology (JCST)
- Rangsit Journal of Social Science and Humanities (RJSH)
- Interprofessional Journal of Health Sciences (IJHS)
- Rangsit Journal of Educational Studies

Journal of National
- วารสารพัฒนาการเรียนการสอน (Teaching and LearningJournal of Rangsit University : Teaching and Learning)
- วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ (Journal of Communication Arts Review)
ว- ารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ (Business Administration and Economics Review)
- วารสารศิลปศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Rangsit University)
- วารสารรังสิตสารสนเทศ (RSU library journal)
- รังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ (Journal of Rangsit Graduate Studies)
- วารสารดนตรีรังสิต (Rangsit Music Journal)
- วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี (Rangsit University Journal of Engineering and Technology)
- วารสารนวัตกรรมสังคม (Journal of Social Innovation)

ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์
SHOWCASE
ปล่อยของ
iTunes U
RSU Gallery
BOOKSHELF
ศาลาดนตรีสุริยเทพ 30 ปี ม.รังสิต
อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก้าวข้ามวิกฤติชาติ
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน
อาชีพอินเทรนด์เปลี่ยนโลก..คุณเองก็เป็นได้
ดาวน์โหลด / ฟอนต์ / ซีไอ
ดาวน์โหลดโลโก้
ดาวน์โหลดฟอนต์
ดาวน์โหลดซีไอ

NEWS & MEDIA
สารรังสิต
RSU Media
SOCIAL MEDIA