ข่าว ม.รังสิต ผ่านสื่อ

  สถาบันไผ่กู้ชาติ


สถาบันไผ่กู้ชาติ
Institute of Bamboo For Nation

สถาบันไผ่กู้ชาติ

ประวัติความเป็นมา

      สถาบันไผ่กู้ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของทางท่านอธิการที่ต้องการส่งเสริมการนำพืชโตเร็ว และปลูกง่ายในทุกสภาวะอากาศ ทุกพื้นที่อย่าง “ไผ่” มาพัฒนาและใช้ประโยชน์สูงสุดจนสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในปี 2564 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ค่อนข้างประสบปัญหาในการดำเนินการของสถาบันฯ เนื่องจากโรคระบาดโควิด 19 ทำให้กระทบกับความต่อเนื่องของโครงการที่ได้จัดทำไว้ ในปีการศึกษา 2562 ทั้งความร่วมมือในการจัดทำรายวิชาไผ่ศาสตร์ กับมหาวิทยาลัย Central South University of Forestry and Technology จากประเทศจีน การลงนามข้อตกลงความร่วมมือกันทั้งทางด้านการเรียนการสอน และงานวิจัยที่ถูกชะลอออกไป, ความร่วมมือกับสหภาพโรงงานแปรรูปไผ่จากเมืองชางซาประเทศจีน ในการที่จะจัดตั้งโรงงานต้นแบบที่ จ.น่าน ก็ยังไม่ได้มีการจัดทำข้อตกลงที่ชัดเจนเนื่องจากประธานสหภาพไม่สามารถเดินทางจากประเทศจีนมาเยี่ยมชมพื้นที่จัดตั้งโรงงาน, ความร่วมมือในการจัดทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นแบบระหว่างผู้ออกแบบที่ทางสถาบันฯ และคณะศิลปะและการออกแบบได้คัดสรรให้ลงพื้นที่ในชุมชนของ จ.น่าน ในการค้นหารูปแบบลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และเหมาะสมกับการใช้งานจริงรวมถึงการผสมผสานนวัตกรรมจากงานวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็ถูกชะลอออกไปเนื่องด้วยงบประมาณ และสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 รวมถึงการพัฒนาสวนไผ่ตัวอย่างในส่วนของโรงงานแปรรูปเบื้องต้น และการเพาะปลูกก็ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องด้วยไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินงานได้ตามแผนงาน จากสถานการณ์เศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยฯ และจากผลกระทบโรคระบาดโควิด 19

      แต่ทั้งนี้ทางสถาบันไผ่กู้ชาติ ก็ยังคงเดินหน้าในการศึกษาวิจัยและสืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบไม้ไผ่แปรรูป ให้มีความเหมาะสมและสามารถนำมาใช้งานได้จริง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของวัสดุประกอบอาคารต่อยอดการพัฒนาการผลิตและแปรรูป รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกพันธ์ไผ่ที่สามารถใช้เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรนำไปประกอบอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละชุมชนได้ โดยพยายามค้นหาพันธมิตรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแหล่งข้อมูลงานวิจัยจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆของไทย เพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนมุมมองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น เตรียมพร้อมในการพัฒนาที่จำเป็นต้องลงสำรวจพื้นที่ และร่วมลงมือทำกับชุมชน

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ

      การดำเนินงานของสถาบันฯเป็นไปในแนวทางให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย และพันธมิตรเพื่อผลักดัน “ไผ่” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจมีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่ป่าไผ่ธรรมชาติที่ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทั้งน้ำ ดิน และอากาศ กลับมาอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์จากผลพวงของการปลูก “ไผ่” ดังปณิธานที่ตั้งไว้คือ "ไผ่ ไทย พืชเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาชาติไกลอย่างยั่งยืน"

ภาระงานหลักและความรับผิดชอบ

      สถาบันไผ่กู้ชาติ มีภาระกิจหลักในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการนำไผ่มาใช้ประโยชน์สูงสุด ครบกระบวนการตั้งแต่เริ่มการเพาะปลูก ผลิต และส่งออกขาย โดยมีบทบาทเป็นศุนย์กลางทางข้อมูลและจัดหาแนวทางที่เหมาะสมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานี้ รวมถึงมุ่งเน้นการวิจัยและจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อให้นำไปต่อยอดการพัฒนาให้ครบกระบวนการดังนี้

      ”ต้นน้ำ” ที่พยายามผลักดันให้ทางสถาบันฯเป็นศูนย์กลางข้อมูลและงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนเพิ่มความเชื่อมั่นและเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการเลือกเพาะปลูก ”ไผ่” ชนิดต่างๆเพื่อส่งขายสร้างรายได้เพิ่มเติมจากพืชพันธ์หลักๆ ที่เป็นรายได้หลักอยู่แล้ว รวมถึงมีราคาในการขายที่คุ้มค่าในการลงทุนและต่อยอด

      “กลางน้ำ” ที่พยายามส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและเทคนิคทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิตไม้ไผ่แปรรูปที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ผสานกับเทคโนโลยีการแปรรูป และ การผลิตเครื่องจักรจากประเทศจีนที่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ว่าส่วนใดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยได้บ้าง รวมถึงให้ทางสถาบันฯเป็นผู้คิดค้นงานวิจัยในการพัฒนาเครื่อง มือ กระบวนการ และสารประกอบการแปรรูปต่างๆที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานต้นแบบเพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดให้กับธุรกิจและโรงงานไผ่แปรรูปของตนเองได้ อย่างแพร่หลายภายในประเทศ

      “ปลายน้ำ” ที่พยายามให้ทางสถาบันฯ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้งานวัสดุประกอบอาคารที่สามารถให้ไม้ไผ่แปรรูปเป็นตัวเลือกสำคัญกับผู้ออกแบบอาคารทั้งภายใน (Interior) ภายนอก (Architecture) และพื้นที่บริเวณโดยรอบอาคาร (Landscape) ทั้งปัจจัยของรูปแบบที่สวยงามหลากหลาย ปัจจัยของการใช้งานและติดตั้งที่สะดวกเหมาะสมทนทานต่อการใช้งาน และ ปัจจัยในส่วนของราคาของผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันกับวัสดุเทียมไม้อื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด

โครงสร้างการบริหารงาน

จำนวนบุคลากร

สถาบันไผ่กู้ชาติ มีจำนวนบุคลากร ทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการสถาบันไผ่กู้ชาติ (นายปรเมศวร์ พลรัฐธนาสิทธิ์)
    ทำหน้าที่
    • กำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน และงบประมาณของสถาบันฯที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา “ไผ่”
    • กำหนดบุคคลากร และผู้ประสานงานในการดำเนินงานของสถาบันฯ ตามแผนฯ
    • จัดหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัยต่างๆ ผ่านโครงการที่เป็นรูปธรรม
    • จัดทำ ส่งเสริม และรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาไผ่ให้ครบทุกกระบวนการเพื่อเป็นรากฐานในการ ต่อยอดที่ชัดเจน
    • ส่งเสริมการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และ กิจกรรมต่างๆของทางมหาวิทยาลัยฯ
  2. รอง.ผอ.ฝ่ายพัฒนาพันธ์ไผ่ (นายเตชิต เตชดุลยเลิศ)
    ทำหน้าที่
    • ประสานงานการดูแลและปรับปรุงสวนไผ่ตัวอย่างของสถาบันฯ จ.น่าน และ ภายใน ม.รังสิต
    • ประสานงานการจัดทำและดูแลโรงแปรรูปไผ่เบื้องต้นภายในสวนไผ่ตัวอย่างเพื่อจำหน่าย และศึกษาวิจัย
    • ประสานงานข้อมูลเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ภายในประเทศ ในทุกมิติ เพื่อการพัฒนาศึกษาวิจัย
    • ประสานงานดูแลงานภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมที่ใช้ไผ่เข้ามาเป็นวัสดุประกอบ ในพื้นที่ของม.รังสิต และ เครือข่ายทั้งหมด
  3. รอง.ผอ.ฝ่ายพัฒนาการแปรรูปไผ่ (ผศ.ดร.พิพัฒน์พงศ์ วัฒนวันยู)
    ทำหน้าที่
    • ประสานงานดูแลการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากไม้ไผ่แปรรูป เพื่องานประกอบสถาปัตยกรรม
    • ประสานงานดูแลการจัดทำกระบวนการผลิตรวมถึงระบบอุตสาหกรรมต้นแบบการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากไม้ไผ่แปรรูป
    • ประสานงานข้อมูลเครือข่ายอุตสาหกรรมผู้แปรรูปไผ่ภายในประเทศ เพื่อการดำเนินการในเชิงธุรกิจ และ พัฒนาวิจัย
    • ประสานงานดูแลงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากไผ่แปรรูปเข้ามาเป็นวัสดุประกอบ ใน พื้นที่ของม.รังสิต และเครือข่ายทั้งหมด
  4. รอง.ผอ.ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อินทร์)
    ทำหน้าที่
    • ประสานงานดูแลความร่วมมือที่ได้ลงนาม MOU ร่วมกันระหว่างมหาลัย Central South University of Forestry and Technology กับ ม.รังสิต ทั้งในส่วนการเรียนการสอน (ไผ่ศาสตร์), การค้นคว้าวิจัย (ผลิตภัณฑ์ แปรรูป) และกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม (เครื่องจักรแปรรูป
    • ประสานงานดูแลความร่วมมือที่ได้มีข้อตกลงกันระหว่างกลุ่มเจ้าของโรงงานแปรรูปไผ่ เมือง Changsha มณฑล Hunan ซึ่งอยู่ในภาคกลางตอนใต้ของประเทศจีน ในการร่วมลงทุนจัดตั้งโรงงานไผ่แปรรูปต้นแบบเพื่อ พัฒนางานวิจัยและส่งเสริมการแปรรูปไผ่ในประเทศไทย ในพื้นที่สวนไผ่ตัวอย่างสถาบันฯ จ.น่าน
  5. รอง.ผอ.ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรไผ่ศาสตร์ (อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์)
    ทำหน้าที่
    • จัดการหลักสูตร และองค์ความรู้เรื่องไผ่ในด้านต่างๆ สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย รวมถึงการ ร่วมมือกับสถาบันอื่น องค์กรภายนอกทั้งใน และต่างประเทศ
    • ประสานงานจัดการกิจกรรม หรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการภายในมหาวิทยาลัย องค์กรวิชาชีพ ชุมชน ทั้งในและ ต่างประเทศ
    • ประสานงานด้านองค์ความรู้กับมหาวิทยาลัยอื่น องค์กรด้านไผ่ต่างๆ ชุมชนที่มีความชำนาญด้านไผ่ ทั้งใน และ ต่างประเทศ
  6. เลขานุการ ผู้อำนวยการสถาบันไผ่กู้ชาติ (นางสาววรรณศินี ภริทตา)
    ทำหน้าที่
    • ปฏิบัติหน้าเลขานุการสำนักงานและเลขานุการผู้อำนวยการสำนักงาน
    • รับ-ส่ง หนังสือเข้าออกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
    • ดูแลจัดเก็บเอกสารของสำนักงาน
    • งานจัดซื้อ งานเบิกจ่าย ด้านการเงินและงบประมาณ
    • เบิก-จ่าย พัสดุ ครุภัณฑ์ วัสดุสิ้นเปลื้องตลอดจนงานซ่อมแซมบำรุงรักษา
    • พิมพ์เอกสารของสำนักงาน
    • สถิติการมาปฏิบัติงาน และอื่นๆที่เกี่ยวข้องเตรียมการประชุม จดบันทึกรายงานการประชุม และ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    • ต้อนรับ ติดต่อ และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
    • เสนอและติดตามงานของหน่วยงาน
    • จัดทำฐานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง
    • จัดทำรายงานประจำปีเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน
    • งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

สถานที่ตั้ง

ห้อง 215 ชั้น 2 อาคาร 19 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

โทรศัพท์

0-2971-6000 ต่อ 6627

อีเมล์

porramat.p@rsu.ac.th

 



ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 89 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 39 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 15 หลักสูตร รวม 143 หลักสูตร
วิทยาศาสตร์ - สุขภาพ
___
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
พยาบาลศาสตร์
วิทยาศาสตร์
กายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
เทคนิคการแพทย์
ทัศนมาตรศาสตร์
รังสีเทคนิค
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ - เทคโนโลยี
___
สถาบันการบิน
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
นวัตกรรมเกษตร
เทคโนโลยีอาหาร
มนุษยศาสตร์ - สังคมศาสตร์
___
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
นิติศาสตร์
วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
สถาบันภาษาอังกฤษ
สถาบัน Gen.Ed.
อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
รัฐศาสตร์
การทูตและการต่างประเทศ
เศรษฐกิจ - ธุรกิจ
___
บริหารธุรกิจ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ
วิทยาลัยการกีฬา
บัญชี
เศรษฐศาสตร์
ศิลปะ - การออกแบบ
___
ดิจิทัลอาร์ต
วิทยาลัยการออกแบบ
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรออนไลน์ / นานาชาติ / ป.โท-เอก
___
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยนานาชาติ
International Chinese College (中国国际学院)
Rangsit Cyber University
วิชาการ / วิจัย /
ประกันคุณภาพ

Journal of International
- Journal of Current Science and Technology (JCST)
- Rangsit Journal of Social Science and Humanities (RJSH)
- Interprofessional Journal of Health Sciences (IJHS)
- Rangsit Journal of Educational Studies

Journal of National
- วารสารพัฒนาการเรียนการสอน (Teaching and LearningJournal of Rangsit University : Teaching and Learning)
- วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ (Journal of Communication Arts Review)
ว- ารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ (Business Administration and Economics Review)
- วารสารศิลปศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Rangsit University)
- วารสารรังสิตสารสนเทศ (RSU library journal)
- รังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ (Journal of Rangsit Graduate Studies)
- วารสารดนตรีรังสิต (Rangsit Music Journal)
- วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี (Rangsit University Journal of Engineering and Technology)
- วารสารนวัตกรรมสังคม (Journal of Social Innovation)

ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์
SHOWCASE
ปล่อยของ
iTunes U
RSU Gallery
BOOKSHELF
ศาลาดนตรีสุริยเทพ 30 ปี ม.รังสิต
อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก้าวข้ามวิกฤติชาติ
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน
อาชีพอินเทรนด์เปลี่ยนโลก..คุณเองก็เป็นได้
ดาวน์โหลด / ฟอนต์ / ซีไอ
ดาวน์โหลดโลโก้
ดาวน์โหลดฟอนต์
ดาวน์โหลดซีไอ

NEWS & MEDIA
สารรังสิต
RSU Media
SOCIAL MEDIA