รังสิตวิชาการ ’66 เวทีการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและมั่นคงในชีวิต

20 Nov 2023

 

มหาวิทยาลัยรังสิต จัดงาน “รังสิตวิชาการ’ 66” เปิดเวทีเสวนาการศึกษา RSU Academic Conference  หัวข้อ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและมั่นคงในชีวิต” โดยมี ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ประธานเปิดงาน ภายในงานได้รับเกียรติจากนายบรรจบ เฉลยมรรค ผู้อำนวยการโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม นางสาวจารุชา สมศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองห้า (พฤกชัฏราษฎร์บำรุง) ดร.ไฟโรส อยู่เป็นสุข ผู้จัดการโรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์ และ ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยครูสุริยเทพ ร่วมเสวนา และมีการนำเสนอผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัลดีเด่น 3 ด้าน ได้แก่ ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารการศึกษา ผลงานในการขอวิทยฐานะ และผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งสิ้น 13 ผลงาน

 

 

นอกจากนี้ ยัง​มีการประกวดนำเสนอแนวคิดแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมสี่เสาหลักของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (4 Pillars) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ ซึ่งมีโรงเรียนมัธยมศึกษากว่า 40 โรงเรียนทั่วประเทศเข้าแข่งขันนำเสนอมุมมอง วิธีคิด แนวทางการ แก้ปัญหาสังคม สำหรับผลการแข่งขันภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ เป็นประธานและมอบรางวัล ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีโรงเรียนเข้ารับรางวัลดังนี้  

 

รางวัลแกรนด์แชมปเปี้ยน พร้อมทุนการศึกษา 30,000 บาท ได้แก่ ทีมเด่นดาว จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย 

 

 

รางวัลชนะเลิศ พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท ได้แก่ ทีมลูกศิษย์จารย์เฟิร์ส จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ประเด็นอนาคตด้านสุขภาพ) ทีม PANTWINCHER จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านธุรกิจ)  ทีมพ่อหรั่งสั่งลุย จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นด้านสังคม) ทีมเด่นดาวจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย (ประเด็นอนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์)   ทีมโชคดี จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม(ประเด็นอนาคตด้านเทคโนโลยี) ทีม P(x) จากโรงเรียนเตรียมอุมศึกษา (ประเด็นอนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา)

 

 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 พร้อมทุนการศึกษา 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Dek-Thum จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (ประเด็นอนาคตด้านสุขภาพ) ทีม Invincible จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านธุรกิจ) ทีมโอ๋ๆ ไม่ร้องน้าาา จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นด้านสังคม) ทีมCharlie’s Angels จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์) ทีม Homydoctจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ (ประเด็นอนาคตด้านเทคโนโลยี) ทีม Team Scent จาก Keerapat International School (ประเด็นอนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา)

 

 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 พร้อมทุนการศึกษา 3,000 บาท ได้แก่ ทีมเทพศิรินทร์มารันวงการจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (ประเด็นอนาคตด้านสุขภาพ) ทีมตู้เย็นไรเด้อด้วยเทอร์โมอิเล็กทริคด้วยท่อไอเสียรถ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (ประเด็นอนาคตด้านธุรกิจ) ทีม SME จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียคอนเเวนต์ (ประเด็นด้านสังคม) ทีม Rice Straw Stump Cutter จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์) ทีม Syntax Waiyakorn จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี (ประเด็นอนาคตด้านเทคโนโลยี) ทีม NTT จาก Newton Sixth Form School (ประเด็นอนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา)

 

 

รางวัลชมเชย พร้อมทุนการศึกษา 1,500 บาท ได้แก่ ทีม Conquer Asthma จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม และ ทีม Spercolate จากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ (ประเด็นอนาคตด้านสุขภาพ) ทีม Make Strides จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และ ทีม Fufu-Fusefo จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง (ประเด็นอนาคตด้านธุรกิจ)ทีม Comsci za จากสตรีอ่างทอง และ ทีม Save Sea Save We จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นด้านสังคม) ทีม YOLO จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม และ ทีม Volleyball Blocking Arm จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์) ทีม NTNBN จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม และ ทีม 1นอ 2 ตอ จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านเทคโนโลยี) ทีม NRW นักปั่นมืออาชีพ จากโรงเรียนนครระยองวิทยาคม (ประเด็นอนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา)

 

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ