อาชีพในฝัน ที่เป็นภาพสวยงามของทุกคน หลายคนมองว่าเป็นแอร์ เป็นสจ๊วต ได้เที่ยว ได้เดินทาง งานสบาย เงินเดือนดี ซึ่งข้อนี้ทุกคนบอกว่าความลับบริษัทบอกเป็นเลขไม่ได้จริงๆ วันนี้เราจะมาพูดคุยกับศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ประกอบอาชีพนี้กันดูว่าที่บอกมาข้างต้นนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่
นายกิตติศักดิ์ โรจน์แสงรัตน์ หรือ แม็ค ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินแอร์ไชน่า (Air China)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: ยาดมครับ ขาดไม่ได้เลย ต้องพกติดเสื้อสูทเอาไว้ แต่จริงๆ พอบินบ่อยๆ ก็จะปรับตัวได้สบายครับ
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: ต้องพกสิ่งของที่เรียกว่า No Go Items เช่น ไฟฉาย นาฬิกา ยาประจำตัว อุปกรณ์เข็มและด้าย เสื้อเชิ้ตสำรอง พวกเสื้อผ้า กล้องถ่ายรูป ประมาณนี้ครับ
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: จำเป็นต้องนอนเก็บแรงครับ เพราะเราจะรู้ตารางบินอยู่แล้ว ต้องแบ่งเวลาสำหรับนอนให้มากและจึงวางแผนเที่ยวได้ครับ
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่อง: เครื่องบินดีเลย์ครับ สภาพอากาศไม่เปิด ผู้โดยสารต้องนั่งรอบนเครื่อง 3-4 ชั่วโมง ก็ต้องเสิร์ฟน้ำเสิร์ฟอาหารวนไปครับ บางครั้งก็จะเป็นผู้โดยสารป่วยครับ มีอาการชัก อาเจียน ก็จะต้องประกาศหาหมอบนเครื่อง และปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: ต้องปรับตัวเรื่องการนอน และขุนให้ร่างกายแข็งแรงครับ
นางสาวชนิดาภา พงศ์พุทธชาด หรือ แอมเพิล ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินการบินไทย (Thai Airways)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: ของหวานค่ะ อาจจะต้องหาน้ำผลไม้ดื่มจะช่วยให้ดีขึ้น
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: ของใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ แบบว่าพร้อมเดินทางสำหรับกรณีฉุกเฉินได้เลยค่ะ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: ต่อให้เหนื่อยแค่ไหนก็จะต้องออกไปชมเมืองค่ะ จะไม่ยอมอยู่โรงแรมเฉยๆ เพราะว่าการได้เดินทางมาคือโอกาสที่ดี เราจึงต้องใช้โอกาสนี้สำรวจโลกกว้าง เก็บเกี่ยวบรรยากาศและประสบการณ์
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: สภาพอากาศค่ะ หากอากาศไม่ดีจะทำให้เครื่องบินสั่น และจะทำงานยากมากขึ้น
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: ต้องปรับตัวเป็นอย่างมากค่ะ แต่เมื่อทำไปได้สักพักร่างกายเริ่มชิน วันที่ไม่มีบินก็จะพักผ่อนให้เต็มที่ค่ะ
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: แต่ละเดือนจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับตารางบินค่ะ แต่โดยเฉลี่ยก็ประมาณ 5 หลักค่ะ
นางสาวอชิรญาณ์ ศุภลักษณ์นารี หรือ โอปอ ศิษย์เก่าสาขาวิชาการแสดงขับร้อง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: ยาดมค่ะ แอร์โฮรเตสคนไทยแทบทุกคนจะพวกยาดมจากประเทศไทย
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: รองเท้าสำหรับใส่บนเครื่อง ชุดทำงาน ไฟฉาย
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: ดูละครย้อนหลังค่ะ
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: เคยมีผู้โดยสารเป็นลม ส่วนใหญ่จะเกิดในไฟลท์ยาวๆ ค่ะ
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: สองเดือนแรกไม่สามารถปรับตัวได้เลย เหนื่อยมาก แต่พอทำไปสักพักใหญ่ก็ปรับตัวได้
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: บินหนักๆ ก็ได้ห้าหลักต่อเดือนค่ะ
นายมารุจน์ กูมมุดดิน หรือ ชาฮับ ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินแอร์เอเชีย (Air Asia)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: ต้องทานยาแก้เมาครับ
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: เอกสารสำคัญ เสื้อผ้าสำรอง และของใช้ส่วนตัว
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: นอนครับ หากร่างกายพักผ่อนเพียงพอจึงจะเที่ยว ชอปปิ้ง
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: อาการป่วยของผู้โดยสาร ลูกเรือจำเป็นต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: แอร์เอเชียไฟล์ทเยอะครับ จึงทำให้เราสามารถแลกตารางกันได้ ฮับจะพยายามจัดตารางให้เป็นช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อการพักผ่อนจะได้เสถียรครับ
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: เดือนที่ไฟล์ทหนักที่สุดจะได้ประมาณหกหลัก แต่ไม่ว่าเราจะอยากทำงานมากแค่ไหนก็จะได้ไม่เกินกำหนดที่ทางสายการบินกำหนดครับ
นางสาวปรางรวีวร์ วุธนู หรือ ปาล์ม ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: ส่วนตัวไม่ค่อยเมาเครื่องค่ะ แต่ถ้ามีอาการก็ต้องหาน้ำดื่มที่มีรสชาติเปรี้ยวจะช่วยได้ค่ะ
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: สำคัญที่สุดคือรองเท้าและเสื้อคลุมที่ใส่เสิร์ฟบนเครื่อง เพราะจะคนละตัวกับเสื้อยูนิฟอร์มที่ใส่ในสนามบิน ชุดสำรอง เอกสารสำคัญ เครื่องเขียน เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: ช่วงที่บินใหม่ๆ จะเน้นเดินเที่ยว ถ่ายรูป ชอปปิง ชิมอาหาร แต่ช่วงหลังมานี้ เน้นพักผ่อนค่ะ อาจด้วยอายุที่มากขึ้น^^
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: ผู้โดยสารป่วยจะเจอบ่อยค่ะ นอกจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ก็อาจต้องประกาศหาผู้โดยสารท่านอื่นที่เป็นหมอหรือพยาบาลมาช่วยด้วย หากฉุกเฉินมากๆ กัปตันจะต้องเอาเครื่องลงประเทศที่ใกล้ที่สุด เคยเคสผู้โดยสารเสียชีวิตกะทันหัน เคสนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากค่ะ
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: อาจจะเป็นอาการเหนื่อยมากกว่าค่ะเพราะเราต้องดูแลตัวเองเพราอยู่ต่างประเทศ แต่ไม่ใช่ความลำบาก ทางบริษัทดูแลพนักงานเป็นอย่างดี ที่พักที่ต้องลงเครื่องก็อยู่สบาย เพื่อนสนิทก็บินคนละไฟล์ทจำเป็นต้องสตรอง ทำอะไรคนเดียวเสียส่วนใหญ่ค่ะ
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: โหดสุดที่เคยได้ประมาณแสนกว่าบาทค่ะ แต่บินหนักมากทั้งอเมริกา 3 รอบในหนึ่งเดือน ญี่ปุ่น กาต้าร์ บินสลับโซนไปมา แต่พอเงินเดือนออกก็หายเหนื่อยค่ะ
นางสาวชนนิกานต์ ถาวรยุติธรรม หรือ พลอย ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินโอมานแอร์ (Oman Air)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: จริงๆ อาการเมาเครื่องเกิดจากการเคลื่อนไหวของเครื่องบิน ถ้ารู้สึกเมาก็ควรจะมาพักบริเวณกลางลำของเครื่องบิน และทานยาแก้เมาก่อนเริ่มทำงานค่ะ
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: เสื้อผ้าสำรอง ชุดลำลอง ของใช้ส่วนตัว รองเท้า และของที่ต้องใช้ขณะทำงาน
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: จะต้องดูไฟล์ทก่อน บางไฟล์ทมีเวลาพัก 1 คืน บางไฟล์ทมีเวลาพัก 5 วัน 4 คืน ก็จะพักผ่อน ออกไปเที่ยว ชอปปิง ทางสายการบินจะมีเงิน Pocket Money ที่เป็นสกุลเงินของประเทศนั้นๆ ใส่ซองไว้ให้ใช้ตามอัธยาศัย
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: การตกหลุมอากาศของเครื่องบิน บางครั้งค่อนข้างรุนแรง ก็จะต้องดูแลผู้โดยสารให้นั่งกับที่ คาดเข็มขัด ให้เฝ้าสังเกตผู้ที่มีอาการกลัวเพือจะได้ดูแลให้ข้อมูลได้
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: ต้องใช้เวลาปรับตัวพักใหญ่ เพราะตารางบินจะจัดตามความเหมาะสมให้สามารถทำงานและพักผ่อนได้เพียงพอ หากเราจัดสรรเวลาดีๆ ก็จะไม่มีปัญหาค่ะ
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: ถ้าไฟล์ทเยอะจริงๆ ก็เป็นหลักแสนค่ะ
นางสาวชรินรัตน์ แก้วดวงแสน หรือ ลูกเกด ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันพนักงานสายการบินนกแอร์ (Nok Air)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: เคยมีอาการค่ะต้องทานยา จิบน้ำอุ่นก็จะดีขึ้น
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: สิ่งของที่จำเป็น พวกชุดสำรอง เครื่องสำอาง รองเท้า ขนมขบเคี้ยว
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: ต้องพักผ่อนค่ะ ที่โรงแรมจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ลูกเรือสำหรับนอนพักผ่อนได้ เพราะจะได้มีแรงทำงานต่อ
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: เวลาที่เครื่องบินส่ายหรือโยกแรงๆ อันตรายมากค่ะ ผู้โดยสารก็อาจจะเจ็บป่วยกะทันหัน และต้องได้รับการดูแล หน้าที่ของลูกเรือคือจะต้องสังเกตผู้โดยสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนที่เรียนมา
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: ต้องใช้เวลาปรับตัวค่ะ บางครั้งคนอื่นกำลังจะเข้านอน เราเพิ่งได้ทานข้าว จำเป็นต้องปรับตัวและวางแผนชีวิตดีๆ ค่ะ แต่หากปรับตัวได้แล้วก็จะดีค่า อยู่ตัวและดำเนินชีวิตได้โดยไม่กระเทือนร่างกายค่ะ ได้พักผ่อนเต็มที่
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: โหดจริงๆ ประมาณ 6 หลักค่ะ
นายวิทย์วศิน สิงหะผลิน หรือ ฟี่ ศิษย์เก่าสาขาวิชาการบริหารจัดการธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันไทยไลอ้อนแอร์ (ThaiLionAir)
- หากมีอาการเมาเครื่องแต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่: สำหรับผมต้องหาของหวานทานครับ ทานน้ำเยอะๆ จะรู้สึกดีขึ้นครับ
- ในกระเป๋าลากของแอร์ สจ๊วต ต้องพกอะไรบ้าง: ส่วนมากจะเป็นชุดสำรอง ไฟฉาย ถุงมือกันร้อน และเอกสารการบิน No Go Item ต่างๆ ครับ
- เวลาที่ไปค้างที่อื่น รอบินกลับ: จะต้องสแตนบายเตรียมบินครับ อาจจะมีได้ทานข้าว ได้ซื้อของบ้างนิดหน่อยครับ
- สถานการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องส่วนมากเป็นเรื่องอะไร: ผมเคยเจอผู้โดยสารทะเลาะกันครับ ก็ต้องขอความร่วมมือปรับย้ายที่นั่งครับ
- ชีวิตที่ทำงานไม่เป็นเวลา: ตรงนี้คือข้อดีสำหรับผมครับ ผมคิดว่าถ้าเราบริหารจัดการดีๆ ไม่มีปัญหาครับ สำหรับการทำงานประจำที่ต้องขับรถเข้าเมือง ฝ่ารถติด แบบนั้นไม่โอเคครับ
- เงินเดือนแบบโหดๆ ที่เคยได้: ผมยังไม่เคยบินหนักที่สุด ก็จะเป็นตามตารางที่ได้มามากกว่า ประมาณ 7-8 หมื่นครับ
"