การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันต้องมีการปรับไปตามยุคสมัยและเทรนด์ของ และตามนโยบายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต เรามุ่งเน้นการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา โดยเป้าหมายของสถาบัน Gen.Ed. มุ่งเน้นพัฒนาด้านประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นสำคัญ โดยตั้งเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีทักษะการทำงานร่วมกัน มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในขณะเดียวกัน เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมให้แก่นักศึกษาในสังคมปัจุบันและอนาคต นักศึกษาและอาจารย์จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาขีดความสามารถให้เหมาะสมกับทิศทางการพัฒนาอันจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาการสื่อสาร
สถาบัน Gen.Ed. ร่วมกับฝ่ายวิชาการ ฝ่ายแผนและพัฒนา และสำนักงานพัฒนาบุคคล ได้เปิดเวทีเสวนา "Innovative Education Day" ได้รับเกียรติจาก ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ รักษาการอธิการบดีและเป็นประธานเปิดงาน ภายในงานมีการแชร์กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ แนะนำ Set Box อุปกรณ์ช่วย Classroom สุดเจ๋ง มีการนำเสนอโมเดลการสอน Online & Hybrid จากกลุ่มคณะต่างๆ เวทีเสวนา Innovative Education ในมุมมอง Rangsit University โดยคณะผู้บริหาร ผศ.ดร.ปถมาพร สุกปลั่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ อาจารย์จรูญ เชดเลอร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ อาจารย์วิทูล ทิพยเนตร คณบดีสถาบัน Gen.Ed. ร่วมแสดงความเห็นและประสบการณ์จากการจัดการเรียนการสอนประจำปี 2564
นอกจากนี้ “Student Experience” ในหัวข้อเสวนาในหัวข้อ “Share Achievement” มีศิษย์เก่าผู้สร้างแรงบันดาลใจในสายวิชาชีพต่างๆ และตัวแทนนักศึกษาผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจในหัวข้อ Power of Passion ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การสร้างแรงบันดาลใจ ประสบการณ์เชิงสร้างสรรค์ด้านไลฟ์สไตล์ เป้าหมายและความสำเร็จ ร่วมกับการนำเสนอจากคณาจารย์จาก 8 Pillars อาทิ Pillar 1 อัตลักษณ์วิทยาลัย (RSU identity) โดยผศ. ชาญชัย สุขสุวรรณ์, Pillar 2 ความเป็นสากลและการสื่อสาร กลุ่มที่ 2.1 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (English Language) โดยอาจารย์ภูวกร ศรีกาญจนา กลุ่มที่ 2.2 กลุ่มวิชาภาษานานาชาติและประสบการณ์ระหว่างประเทศ (International Language and International Experience) + กลุ่ม 4 ศิลปะและวัฒนธรรม(Arts and Culture) โดยดร.นวรัตน์ ก๋งเม่ง, Pillar 3 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม (Leadership and Social Responsibility) โดยอาจารย์สุนี ไชยรส, Pillar 5 ผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovative Entrepreneurship) โดยอาจารย์ภาคภูมิ ชัยศิริประเสริฐ, Pillar 6 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Media Literacy) โดยผศ.ดร.บุปผา บุญสมสุข, Pillar 7 หลักคิดวิทยาศาสตร์ (Essence of Science) โดยดร.สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ และ Pillar 8 อาร์เอสยู มาย-สไตล์ (RSU My-Style) โดยผศ.ดร.สถาพร คำหอม
และการนำเสนอโมเดลจาก 6 Clusters ได้แก่ 1. Cluster : Science-Health (วิทยาศาสตร์สุขภาพ) โดยอาจารย์สุนทรีย์ ศรีวงศ์ตา และอาจารย์ทิพย์จุฑา พัฒน์เรืองเดช คณะรังสีเทคนิค โดยอาจารย์สุเมธ ผ่องพรรณแข วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี 3. Cluster : Art–Design (ศิลปะและการออกแบบ) โดยผศ.ดร. สิรดา ไวยาวัจมัย วิทยาลัยการออกแบบ อาจารย์อภิวัฑธน์ พัฒนศิริมงคล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นาวาตรี ดร.นบ ประทีปะเสน วิทยาลัยดนตรี 4. Cluster 4 : Economic-Business (เศรษฐกิจธุรกิจ) โดยอ.ณัฏฐยศ สุริยเสนีย์ คณะบริหารธุรกิจ 5. Cluster : Humanity-Social (สังคมศาสตร์) โดยผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ อ.ปวริศร ซ่อมศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์การแปลและบริการทางภาษา วิทยาลัยศิลปศาสตร์ 6. Cluster : International (นานาชาติ) โดยอาจารย์วีระภา พงษ์พานิช สถาบันภาษาอังกฤษ ร่วมแชร์ประสบการณ์จากการ
จากการเสวนาดังกล่าวกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะของการจัดการเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เกิดเป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด แบบเน้นทักษะการคิดขั้นสูง บูรณาการความรู้หลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ในขณะที่ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
ในส่วนบทบาทของอาจารย์ผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย โดยผ่านการวางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม ทั้งหมดนี้เกิดจากผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียนนั่นเอง
"