เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง "Transformative Teaching: Empowering Students to Learn"

03 Nov 2023

มหาวิทยาลัยรังสิตกับแนวทางการเรียนการสอนที่ว่า “ปี 1 เป็น.... ได้โดยไม่ต้องรอนาน” เป็นนิยามใหม่ของการเรียนรู้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นกรอบความคิดแก่ทีมคณาจารย์ผู้สอนที่ร่วมกันสร้างสรรค์แนวทางและวิสัยทัศน์แห่งการเรียนรู้ในแบบใหม่ของมหาวิทยาลัยเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

 

 

ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับ สถาบัน Gen. Ed และสำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop Smart Organization) ตามนโยบายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยในการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตด้วยรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของเมซี่โรว์์ (Mezirow) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้น ให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ โดยการจัดสภาพการเรียนรู้ให้้เผชิญกับวิกฤตการณ์ที่ไม่เป็นไปตามมุมมองเดิมของตน เกิดการใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณ สนทนาเชิงวิพากษ์จนนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ "Transformative Teaching : Empowering Students to Learn" มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนาทีมผู้สอนสู่นักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Transformative Learning Designer) 2. พัฒนาการวางแผนการสอนสู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning Process) 3. และเพื่อให้อาจารย์สามารถนำความรู้ไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

 

 

สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างทีมอาจารย์ผู้สอนนั้น พบว่าการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวคิด Transformative Learning: Empowering Students to Learn เกิดแนวทางหลักร่วมกันนั่นคือ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนับสนุนและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสามารถและความกระตุ้นในการเรียนรู้เองโดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความอิสระในการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อสร้างให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบในการค้นคว้าความรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งการกระตุ้นนักศึกษาให้เรียนรู้ด้วยตนเองนั้นสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเรียนรู้ เช่น การสร้างห้องเรียนที่สมบูรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย หรือการใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์ การให้นักศึกษามีอิสระในการเรียน เลือกเนื้อหาที่สนใจและวิธีการที่ต้องการในการเรียนรู้อาจส่งผลให้นักศึกษารู้สึกว่าการเรียนรู้มีความน่าสนใจ การสนับสนุนนักเรียนในการตัดสินใจและเลือกเนื้อหา นักศึกษาและอาจารย์สามารถกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และช่วยในการวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเรียนร่วมกัน การสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่การนำทฤษฎีมาใช้เท่านั้น แต่สนับสนุนการแก้ปัญหาโดยวางแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

 

การเสริมสร้างความรู้นักศึกษาตามแนวคิด Transformative Learning มีประโยชน์ในการพัฒนาทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนรู้และมีเป้าหมายในการเรียนรู้พร้อมทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคที่เทคโนโลยีและความรู้เข้ามาอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยรังสิต ยังได้มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อปรับตัวไปสู่การเป็นทีมผู้สอนรุ่นใหม่ที่มีความเปิดกว้างและความยืดหยุ่นได้ในสภาวะที่สถานการณ์การเรียนรู้เปลี่ยนแปลง บุคลากรในฐานะทีมผู้สอนนอกจากมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี ทักษะการสื่อสารที่ดีแล้ว ประการสำคัญพบว่าต้องมีทักษะการสร้างการเรียนรู้ร่วม สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับการสอนตามความต้องการ มีความเห็นอกเห็นใจและใส่ใจนักศึกษามากขึ้น ไม่ใช่เพื่อปรับปรุงการสอนเท่านั้นแต่รวมถึงการหล่อหลอมทัศนคติที่ดีเพื่อสร้างพลังสมองให้แก่นักศึกษาทุกคนที่เข้ามาศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต

 

 

“ปี 1 เป็น.... ได้โดยไม่ต้องรอนาน!” นิยามดังกล่าวเป็นโจทย์หลักที่มหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งสร้างให้นักศึกษาทุกคนอยากเรียนอะไรต้องได้เรียน อยากเป็นอะไรต้องได้เป็น โดยมหาวิทยาลัยเป็นเพียงสถานศึกษาที่คอยส่งเสริมสนับสนุนเป้าหมายของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน โดยเหล่าคณาจารย์ที่มีความพร้อมและศักยภาพส่งต่อองค์ความรู้ในทุกสาขาของ คณะ/วิทยาลัยต่างๆ รวมถึงพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  "Transformative Teaching: Empowering Students to Learn" ต่อไปในอนาคต

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ