"Piece of plants" พื้นที่สีเขียวและมุมเล็กๆ นักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต

06 Jan 2020

จากโครงการการแข่งขันสร้างพื้นที่สีเขียวระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นโดย ปตท. รายการ Perspective และรายการเจาะใจที่มองเห็นว่าปัจจุบันมนุษย์เราต้องเผชิญปัญหาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ รวมไปถึงสารเคมีที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจก ทำให้เราเรียนรู้ว่าปรากฏการณ์เหล่านั้นส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น อุทกภัย อากาศร้อนผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงที่เกิดจากมือมนุษย์ ฉะนั้นเราเองยังสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ง่ายๆ อย่างการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค้า

 

 

ทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดคือการปลูกต้นไม้ทดแทน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากต้นไม้เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา ในเมื่อปัจจุบันป่าไม้ของเราถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก เราทุกคนต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่เพื่อเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่เป็นพื้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว และยิ่งไปกว่านั้น โครงการการแข่งขันดังกล่าวได้เล็งเห็นถึงพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่เชื่อว่าสามารถเป็นกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่ที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ จึงเกิดไอเดียให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมมือกันสร้างพื้นที่สีเขียว โดยเริ่มต้นง่ายๆ เน้นพลังจากนักศึกษาที่มีพลังความรู้ ริเริ่ม พัฒนาสิ่งต่างๆ เริ่มสร้างพื้นที่สีเขียวในเขตรั้วมหาวิทยาลัยของตนเอง โดยเน้นการออกแบบพื้นที่สีเขียวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนในรั้วมหาวิยาลัย

 

 

 

เป็นที่มาให้เหล่านักศึกษาทุนชมรมเด็กอัจฉริยะ และกลุ่มเพื่อนๆ จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ นายสุธีร์ จันทร์ปรี นายวิชาชาญ โตวัฒนา  นางสาวปัณฑ์ชนิต นุชผ่องใส  นางสาวพัชรินทร์ แซ่ไหล  นางสาววรินทร มะโคตรสา  นางสาวอัฐภิญญา ศิริสม  นางสาวณัฐรดา ผุดผ่องนายศมาพล อิน?ตา?วงค์  นายกฤตตะวัน ลี้ไพย์ทูร  นายโชติพงศ์ ธิติธรรม พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม อาจารย์ต๊อด-อัตถกร  ธรรมศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา "ชมรมเด็กอัจฉริยะ" ได้ระดมพลังสมอง พลังความคิด และความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง(พื้นที่บริเวณภายในของมหาวิทยาลัยรังสิต)

 

อาจารย์ต๊อด บอกทีมงานว่า “โครงการแข่งขันนี้ เรียกว่าเป็นโครงการที่เข้าทางพอดี เราอยากปลูกจิตสำนึกแก่นักศึกษาอยู่แล้วให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีต้นไม้และพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น บางทีการทำกิจกรรมอะไรลักษณะนี้อาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาคนอื่นๆ หรือให้กับคนไทยได้เห็นถึงพลังความสามารถ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากนักศึกษาหรือเยาวชนกลุ่มเล็กๆ ครั้งนี้ทราบว่าทาง ปตท. และกรรมการโครงการได้เลือกมหาวิทยาลัยชั้นนำในเขตเมือง อาทิ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งสิ้น 5 สถาบัน เข้าร่วมโครงการทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตของเรา ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดีดีจาก ปตท. รวมถึงทำให้เราเองในฐานะสถาบันการศึกษาได้สร้างภาพลักษณ์ สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยรักและหวงแหนต้นไม้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเองได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ เป็นต้นแบบที่ดีในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้าน สถานศึกษา และที่ทำงาน ทำให้ประเทศไทยของเรามีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของโครงการ”

 

 

ด้านตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า “พวกเราเริ่มรวมตัวกันจากเพื่อนๆในกลุ่มชมรมเด็กอัจฉริยะ ซึ่งพวกเราเป็นนักศึกษาชั้นปีที่  4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งหมด พอได้รับโจทย์โครงการมาเราก็รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้เราได้สร้างพื้นที่สีเขียวเราจึงสร้างพื้นที่สีเขียวของเราในชื่อ Piece of Pants มาจากแนวคิดที่ว่าสร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้งานได้ เราจึงเลือกสร้างพื้นที่สีเขียวบริเวณสระน้ำ โดยสร้างพื้นที่ลอยน้ำขึ้นมา ใช้ทุ่นลอยน้ำจากวัสดุเหลือใช้อย่างขวดพลาสติกที่รับบริจาคมา จากนั้นเริ่มทดลองทำจากขนาดเล็กๆ จนมั่นใจแล้วว่าโครงสร้างที่ออกแบบแข็งแรงพอที่จะลอยบนผิวน้ำได้ จึงได้สร้างทุ่นขนาดที่ต้องการบนน้ำ และนำต้นไม้ลงไปปลูก จนได้รูปแบบที่สวยงามเสมือนเป็นสวนลอยน้ำมุมหนึ่งของมหาวิทยาลัย นักศึกษาและทุกคนสามารถมานั่งเล่น พักผ่อน และใช้ประโยชน์จากทุ่นสวนลอยน้ำนี้ได้ สำหรับงานออกแบบโครงการ งานดีไซน์ต่างๆ เรานำมาจากความรู้ทางสถาปัตย์ที่เราเรียนมาปรับรูปแบบประกอบกับคำแนะนำจากอาจารย์ที่คณะ อาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงที่ปรึกษาจากโครงการ 40 ปตท.Plant Together เข้าด้วยกันทำให้ผลงานออกแบบลงตัว”

 

“นอกจากนี้การที่เราได้รวมตัวกันทำกิจกรรมดีดีเช่นนี้ พวกเราเองได้เรียนรู้แนวคิดจากผลงานของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้แชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมถึงทำให้มีโอกาสได้ทำงานกับมืออาชีพ ได้ทำงานวางแผนทุกกระบวนการร่วมกันเป็นทีมเราก็ได้รับประสบการณ์ที่ดี ส่วนผลการแข่งขันถือเป็นเรื่องที่เป็นไปตามกติกาและกฎเกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการโครงการ เราขอให้ผลงานของได้เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากสองมือของพวกเราได้ลงมือทำสร้างพื้นที่สีเขียวช่วยประเทศของเรา และช่วยโลกของเราก็คิดว่าเป็นการเริ่มต้นลงมือทำก็นับเป็นเรื่องที่ดีมาก และขอส่งต่อพื้นที่เล็กๆนี้ให้เป็นแรงบันดาลใจของอีกหลายๆคนมาช่วยกันเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้เพิ่มขึ้นในอนาคต”

 

จากโครงการการแข่งขันสร้างพื้นที่สีเขียวระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นโดย ปตท. รายการ Perspective และรายการเจาะใจที่มองเห็นว่าปัจจุบันมนุษย์เราต้องเผชิญปัญหาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ รวมไปถึงสารเคมีที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจก ทำให้เราเรียนรู้ว่าปรากฏการณ์เหล่านั้นส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น อุทกภัย อากาศร้อนผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงที่เกิดจากมือมนุษย์ ฉะนั้นเราเองยังสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ง่ายๆ อย่างการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค้า

 

ทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดคือการปลูกต้นไม้ทดแทน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากต้นไม้เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา ในเมื่อปัจจุบันป่าไม้ของเราถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก เราทุกคนต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่เพื่อเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่เป็นพื้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว และยิ่งไปกว่านั้น โครงการการแข่งขันดังกล่าวได้เล็งเห็นถึงพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่เชื่อว่าสามารถเป็นกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่ที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ จึงเกิดไอเดียให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมมือกันสร้างพื้นที่สีเขียว โดยเริ่มต้นง่ายๆ เน้นพลังจากนักศึกษาที่มีพลังความรู้ ริเริ่ม พัฒนาสิ่งต่างๆ เริ่มสร้างพื้นที่สีเขียวในเขตรั้วมหาวิทยาลัยของตนเอง โดยเน้นการออกแบบพื้นที่สีเขียวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนในรั้วมหาวิยาลัย

 

เป็นที่มาให้เหล่านักศึกษาทุนชมรมเด็กอัจฉริยะ และกลุ่มเพื่อนๆ จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ นายสุธีร์ จันทร์ปรี นายวิชาชาญ โตวัฒนา  นางสาวปัณฑ์ชนิต นุชผ่องใส  นางสาวพัชรินทร์ แซ่ไหล  นางสาววรินทร มะโคตรสา  นางสาวอัฐภิญญา ศิริสม  นางสาวณัฐรดา ผุดผ่องนายศมาพล อิน?ตา?วงค์  นายกฤตตะวัน ลี้ไพย์ทูร  นายโชติพงศ์ ธิติธรรม พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม อาจารย์ต๊อด-อัตถกร  ธรรมศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา "ชมรมเด็กอัจฉริยะ" ได้ระดมพลังสมอง พลังความคิด และความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง(พื้นที่บริเวณภายในของมหาวิทยาลัยรังสิต)

 

อาจารย์ต๊อด บอกทีมงานว่า “โครงการแข่งขันนี้ เรียกว่าเป็นโครงการที่เข้าทางพอดี เราอยากปลูกจิตสำนึกแก่นักศึกษาอยู่แล้วให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีต้นไม้และพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น บางทีการทำกิจกรรมอะไรลักษณะนี้อาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาคนอื่นๆ หรือให้กับคนไทยได้เห็นถึงพลังความสามารถ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากนักศึกษาหรือเยาวชนกลุ่มเล็กๆ ครั้งนี้ทราบว่าทาง ปตท. และกรรมการโครงการได้เลือกมหาวิทยาลัยชั้นนำในเขตเมือง อาทิ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งสิ้น 5 สถาบัน เข้าร่วมโครงการทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตของเรา ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดีดีจาก ปตท. รวมถึงทำให้เราเองในฐานะสถาบันการศึกษาได้สร้างภาพลักษณ์ สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยรักและหวงแหนต้นไม้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเองได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ เป็นต้นแบบที่ดีในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้าน สถานศึกษา และที่ทำงาน ทำให้ประเทศไทยของเรามีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของโครงการ”

 

ด้านตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า “พวกเราเริ่มรวมตัวกันจากเพื่อนๆในกลุ่มชมรมเด็กอัจฉริยะ ซึ่งพวกเราเป็นนักศึกษาชั้นปีที่  4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งหมด พอได้รับโจทย์โครงการมาเราก็รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้เราได้สร้างพื้นที่สีเขียวเราจึงสร้างพื้นที่สีเขียวของเราในชื่อ Piece of Pants มาจากแนวคิดที่ว่าสร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้งานได้ เราจึงเลือกสร้างพื้นที่สีเขียวบริเวณสระน้ำ โดยสร้างพื้นที่ลอยน้ำขึ้นมา ใช้ทุ่นลอยน้ำจากวัสดุเหลือใช้อย่างขวดพลาสติกที่รับบริจาคมา จากนั้นเริ่มทดลองทำจากขนาดเล็กๆ จนมั่นใจแล้วว่าโครงสร้างที่ออกแบบแข็งแรงพอที่จะลอยบนผิวน้ำได้ จึงได้สร้างทุ่นขนาดที่ต้องการบนน้ำ และนำต้นไม้ลงไปปลูก จนได้รูปแบบที่สวยงามเสมือนเป็นสวนลอยน้ำมุมหนึ่งของมหาวิทยาลัย นักศึกษาและทุกคนสามารถมานั่งเล่น พักผ่อน และใช้ประโยชน์จากทุ่นสวนลอยน้ำนี้ได้ สำหรับงานออกแบบโครงการ งานดีไซน์ต่างๆ เรานำมาจากความรู้ทางสถาปัตย์ที่เราเรียนมาปรับรูปแบบประกอบกับคำแนะนำจากอาจารย์ที่คณะ อาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงที่ปรึกษาจากโครงการ 40 ปตท.Plant Together เข้าด้วยกันทำให้ผลงานออกแบบลงตัว”

 

“นอกจากนี้การที่เราได้รวมตัวกันทำกิจกรรมดีดีเช่นนี้ พวกเราเองได้เรียนรู้แนวคิดจากผลงานของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้แชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมถึงทำให้มีโอกาสได้ทำงานกับมืออาชีพ ได้ทำงานวางแผนทุกกระบวนการร่วมกันเป็นทีมเราก็ได้รับประสบการณ์ที่ดี ส่วนผลการแข่งขันถือเป็นเรื่องที่เป็นไปตามกติกาและกฎเกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการโครงการ เราขอให้ผลงานของได้เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากสองมือของพวกเราได้ลงมือทำสร้างพื้นที่สีเขียวช่วยประเทศของเรา และช่วยโลกของเราก็คิดว่าเป็นการเริ่มต้นลงมือทำก็นับเป็นเรื่องที่ดีมาก และขอส่งต่อพื้นที่เล็กๆนี้ให้เป็นแรงบันดาลใจของอีกหลายๆคนมาช่วยกันเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้เพิ่มขึ้นในอนาคต”

 

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ