อ่านชื่อแล้วคงจะงง งง ยาก ยาก สักหน่อยว่าคืออะไร?
"สัจจะวจนะ" มากจากแนวคิดที่สถาปัตยกรรมยุคโกธิคถูกสร้างเพื่อตอบสนองในด้านความศรัทธา ซึ่งเป็นเรื่องทางศาสนาอย่างชัดเจนในทุกมิติมิติและความหมายที่แสดงผ่านสัญญะทั้งรูปธรรมและนามธรรมเกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาในศาสนาที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกยกให้มีเหตุผลของการมีอยู่บนโลกหรือพูดง่าย ๆ ว่าพระเจ้าผู้สร้างสามารถอธิบายทุกอย่างได้ รูปแบบความคิดนี้ทำให้มีคำพูดถึงตัวสถาปัตยกรรมว่าเป็น "การเผยพระวจนะผ่านก้อนอิฐ" เป็นที่มาหากพระวจนะคือคำสอน ที่มีรูปแบบเป็นประโยคสิ่งที่เป็นสัจจะของประโยคหรือเป็น Raw Material ของประโยค นั่นคือ ตัวอักษร และตัวอักษรเป็นที่มาของโครงการออกแบบตัวอักษรเชิงทดลองจากระบบสถาปัตยกรรมโกธิค ภายใต้ชื่อ "สัจจะวจนะ" และเป็นผลลัพธ์ผลงานการตัวจบของ นายนฤดม ผาสุขดี นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ตัวอย่างทีสิสของคนเรียนนิเทศศิลป์ที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนที่เน้นการค้นคว้าที่เข้มข้น และลึกซึ้งเพื่อนำมาสู่การออกแบบและต่อยอด
.jpg)
ผลงานนี้มีคอนเซ็ปต์หลักที่นฤดมนำไปเสนอในห้องนำเสนองานศิลปนิพนธ์ว่า “ผมต้องการหาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบองค์ความรู้ที่มีการแสดงออกที่แตกต่างกันระหว่างสถาปัตยกรรมและการออกแบบ Graphic มาใช้ในการสร้างหลักการสำหรับสร้างตัวอักษร เพราะโดยปกติออกแบบ Graphic เราทำงานกับรูปแบบ 2D แต่สิ่งที่พยายามจะทำคือการหาวิธีในการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็น 3D มาใช้เชื่อมโยงอ้างอิงกันเพื่อจะสร้างระบบหลักในการนำไปใช้ออกแบบตัวอักษรที่เป็น 2D รูปแบบของงานนี้เป็นงานออกแบบเชิงทดลองกึ่งวิจัย เนื่องจากประเด็นหลักต้องการหาความเป็นไปได้ ไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองสิ่งหนึ่งสิ่งใดชัดเจน การออกแบบวิธีการเพื่อใช้ทดลองหาความเป็นได้ที่จะเกิดขึ้น โดยตัวงานถูกออกแบบโดยแบ่งลำดับขั้นการทำงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดคือกำหนดเป็นสามส่วน ตัวตั้งต้น/ตัวแปร/ผลลัพธ์” แต่ทว่าจากการเสนอหัวข้อหลายต่อหลายสิบครั้ง สิ่งที่ได้พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาทำให้เห็นว่าเราไม่ได้มีหัวข้อที่โดดเด่นหรือน่าสนใจอะไรจนอาจารย์เปรยว่า...
"ใครก็ทำมันได้ จะทำซ้ำอีกทำไม?"
"คุณบอกว่านี้คือสไตล์คุณ แล้วสามารถอธิบายได้ไหมว่า ทำไม?"
ทำให้กลับมานั่งคิดว่าเราต้องการงานท้าทายหรือพิสูจน์กระบวนการทำงานบางอย่างที่เป็นเหตุเป็นผลจริงจัง เช่น การที่คุณบอกว่านี่คือลายมือคุณคุณบอกได้เพราะความชินตาจึงรู้ว่านี้ลายมือตัวเอง แต่ไม่มีใครมานั่งอธิบายลายมือตัวเองว่าเป็นแบบนี้เพราะอะไร กดน้ำหนักมาน้อยแค่ไหนจับดินสอยังไง ตวัดเส้นแบบไหน ด้วยเหตุผลนี้ทำให้คิดว่าสิ่งที่สนใจและอยากจะทำคือการรับข้อมูลมาแล้วพยายามหาวิธีการพิสูจน์ และเข้าใจมันจริง เนื่องจากทำให้เรานำไปต่อยอดได้หลากหลายกว่า การที่เข้าใจแกนแล้วนำไปใช้ต่อยอดการออกแบบสิ่งใหม่ให้มีความเป็นไปได้ และเชื่อว่าประโยชน์ของผลงานศิลปะนิพนธ์นี้ด้านตัวงาน คือ การได้รูปแบบของระบบตัวอักษรรูปแบบใหม่ ที่ใช้องค์ความรู้ทีต่างกันในการสร้าง ส่วนด้านวิธีการ คือ วิธีการในการคิดและจัดการข้องมูลอย่างเป็นเหตุเป็นผล เมื่อแรงบันดาลใจเริ่มจากความสนใจตัวอักษร ตัวเขียน Calligraphy และสถาปัตยกรรมศาสนา จึงทำการค้นคว้า (Research) เกี่ยวกับรูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคทั้งหมด การส่งผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคก่อนมาถึงโกธิคเพื่อให้เห็นถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การเชื่องโยงกับองค์ความรู้อื่นเพื่อนำมาเปรียบเทียบว่าข้อมูลจริงเท็จแค่ไหน? อย่างการมีรูปแบบผังทางเดินผังตัวอาคาร ต้องกลับไปรื้อสืบดูตั้งแต่คริสเตียนยุคเริ่มแรก /Byzantine/Carolingian/Ottonian/Romanesque/Gothic การศึกษาข้อมูลทั้งหมดทำให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือก่อนนำมาใช้กับการคิดงาน
.jpg)
จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวตั้งตนเพื่อใช้ในการสร้างหลักการ ชุดระบบโครงสร้างที่จะนำไปใช้ในการสร้างตัวอักษรโดยตัวระบบที่ได้นั้นจะเป็นตัวกำหนดข้อจำกัดต่างๆ ทั้งหมด ระบบที่ได้นั้นทุกส่วน ทุกข้อกำหนดสามารถอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยสิ่งที่เอามาสร้างระบบคือชุดข้อมูลที่เป็นรูปธรรมในด้านโครงสร้างโดยการใช้วิธีย่อยผังตัวอาคารจากทั้งอาคารให้เหลือแค่หนึ่งยูนิตหรือชุดรับน้ำหนักชุดเดียว แต่ในหนึ่งยูนิตยังสามารถเชื่อมโยงกับองค์ประกอบต่างๆ ของตัวอาคารได้อย่างครบถ้วนและผลลัพธ์ถือเป็นส่วนที่เติมเต็มสมการให้เห็นว่าหลักการที่ได้มา ระบบที่ได้มาทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นตัวอักษรได้อย่างไร
“สำหรับผม ตลอด 4 ปี สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์นี้ อยากบอกว่าก่อนเข้ามาเรียน เรามามาพร้อมกับคำถามมากมาย ทั้งด้านการงาน สายงาน ความหมาย ขอบเขตงาน เรียนอะไร เรียนแบบไหน เรียนสิ่งต่างๆเพื่ออะไร คำถามทั้งหมดนี้สาขาไม่ได้ตอบคำถามเราด้วยปาก แต่สอนให้เรียนรู้วิธีคิด วิธีวิเคราะห์ หาคำตอบ สาขานี้สอนให้เรารู้จักที่จะสร้างคำถามตั้งแต่แรก.. เพราะการหาคำถามที่ดีตั้งแต่แรกยอมเป็นตัวชี้นำคำตอบที่เหมาะสมมาให้ ด้วยสายงานของสาขาที่เรียนของผมนั้นมีหลายอาชีพรองรับอยู่มากผมจึงมองว่าการผลงานชิ้นนี้เรียกได้ว่าเป็นการนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทั้งด้านทักษะโปรแกรมต่างๆ ส่วนสำคัญคือเรื่องความคิด การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสิ่งที่มีผลกับงานออกแบบมาก ออกแบบที่เรียนมามันเป็นเหมือนเครื่องมือที่จะทำให้เราเข้าใจวิธีการต่างๆ พอเราบวก กับข้อมูลและทักษะใหม่ๆ มันทำให้เราประยุกต์ใช้กับทุกสายงานได้อย่างไม่มีปัญหา”
.jpg)
ตัวอย่างผลงานศิลปนิพนธ์นี้แสดงให้เห็นว่าเด็กนิเทศศิลป์ไม่ได้เรียนแค่ผิวเผิน ทำงานเอาเท่ห์ เอาเก๋ แต่มันแสดงึงการฝึกฝนตัวเองตั้งวันแรกที่เริ่มต้นเข้ามาเรียน สะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อเอามาใช้จริงและนำมาซึ่งการออกแบบชุดตัวอักษรนั่นเอง และสุดท้ายงานออกแบบที่สร้างออกมาจะได้ตรงตามเป้าหมายและมีความเป็นตัวเอง เป็นความถนัดที่ชัดเจนสำหรับการนำไปใช่ในการต่อยอดอาชีพ...เพราะวันหนึ่งเราอาจจะมีนักออกแบบตัวอักษรหน้าใหม่ หรือทฤษฎีด้านการออกแบบโดยคนไทยกับเขาบ้าง..
"