บริหารธุรกิจ ม.รังสิต ปรับโฉมหลักสูตรใหม่ 5 สาขาน่าเรียน ตอบโจทย์โลกธุรกิจดิจิทัล

14 Nov 2018


         คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปรับโฉมหลักสูตรใหม่ 5 สาขาน่าเรียน เพื่อสร้างผู้บริหาร และผู้ประกอบการมืออาชีพ ตอบโจทย์โลกธุรกิจดิจิทัล



         ผศ.ดร.รุจาภา แพ่งเกษร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ปัจจุบันการค้าการลงทุนมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทั้งการแข่งขันภายในประเทศ และการแข่งขันจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่นำมาใช้ในการแข่งขันเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจที่กระจายไปในวงกว้างแบบไร้พรมแดน การเรียนรู้ศาสตร์ที่จะนำไปใช้ในการบริหารธุรกิจในยุคปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรเรียนรู้ เพราะไม่ว่าคุณจะเชี่ยวชาญในศาสตร์ใดก็ตาม หากไม่มีหลักและเทคนิคในการบริหารจัดการเมื่อนำวิธีการต่างๆ ไปใช้ก็จะได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ไม่คุ้มเวลา โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เรียกว่าเป็นดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ทั้งในมุมผู้ผลิตสินค้า ผู้จำหน่ายสินค้า และผู้บริโภคสินค้า ฉะนั้น การขับเคลื่อนธุรกิจแบบวิธีเดิมๆ และวิธีใหม่ๆ จะต้องบูรณาการให้ไปด้วยกันได้อย่างลงตัวจึงจะไปได้ดี นี่จึงเป็นโจทย์ที่น่าค้นหา


      

          “สำหรับคณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต เรามุ่งเน้นในการผลิตทรัพยากรบุคคลออกมาให้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่ตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ เป็นบุคคลมีความพร้อมในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม และความเป็นสากล สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ออกไปประกอบอาชีพได้ ในฐานะนักบริหารและผู้ประกอบการแบบมืออาชีพ ออกไปรับใช้สังคมอย่างสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีมได้ดี แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และล่าสุดในปีการศึกษา 2562 คณะบริหารธุรกิจจึงได้มีการปรับโฉมรูปแบบหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ เพื่อสร้างนักบริหารและผู้ประกอบการมืออาชีพในยุคดิจิทัล โดยได้นำศาสตร์ที่ปฎิบัติได้จริงมาวิเคราะห์ และวางแผนพัฒนา นำมาใช้ให้เกิดความทันสมัย และรองรับการบริหารธุรกิจในอนาคตที่มีองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย โดยมุ่งเน้นการเรียนแบบวิเคราะห์ คิด ทำ และนำไปใช้ได้จริง ซึ่งในทุกสาขาวิชาจะมีคณาจารย์ที่เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาเหมือนโค้ชที่เดินไปพร้อมกับผู้เรียน เพื่อสร้างความมั่นใจและพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นผู้บริหารและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพได้ในอนาคต” คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กล่าว

โค้ชที่จะคอยดูเเลนักศึกษาทุกคน 


เราไม่ได้สอนให้เป็นลูกจ้าง แต่สร้างให้เป็นผู้ประกอบการ ...

         ผศ.ดร.รุจาภา กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการเรียนรู้ตลอดการศึกษา ได้ถูกออกแบบมาให้รู้ทั้งหลักการและประสบการณ์ ทุกคนได้เรียนจริง-ฝึกจริง-ในสถานที่จริง โดยที่คณะบริหารธุรกิจได้สร้างสิ่งรองรับการพิสูจน์ฝีมือเมื่อเรียนแล้วต้องทำได้ เช่น RBS Mart เป็นสถานที่ฝึกงานสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพ ถือเป็นการ workshop เรียนจริง ฝึกจริง ก่อนที่จะออกไปฝึกงานจริงในสถานประกอบการจริงภายนอก นอกจากนี้ ในการเรียนชั้นปีที่ 4 ก่อนจบการศึกษา นักศึกษาทุกคนจะต้องพิสูจน์การเป็นนักบริหารและผู้ประกอบการ โดยสร้างแผนธุรกิจเองได้และนำแผนมาแข่งขัน ทำเป็นสินค้าจริงวางจำหน่ายและทำการตลาดจริงในห้างสรรพสินค้า เป็นการคอนเฟริม์ความเชี่ยวชาญในการทำงานแบบมืออาชีพ เมื่อจบการศึกษาออกไปสามารถนำไอเดียไปทำเป็นธุรกิจจริงได้อีกด้วย เพราะที่คณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต เราไม่ได้สอนให้เป็นลูกจ้าง แต่เราสร้างให้เป็นผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ โดยมีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Yunnan University of Finance and Economics (YUFE) ในการจัดทำโครงการศึกษา แบบทวิปริญญาและโครงการปริญญาร่วม เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาให้กับนักศึกษาไทย ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในระดับโลก


RBS Mart สถานที่ฝึกงานสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพ

โครงการประกวดเเผนธุรกิจ ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ และความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักศึกษา

เจาะ 5 สาขาน่าเรียน คณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต มีอะไรบ้าง? 
สาขาวิชาการจัดการ
         เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการองค์กร ภาครัฐ และเอกชน ในด้านการวางแผน หลักของการบริหารจัดการ วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้แนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสร้างให้เป็นผู้ประกอบการอย่างสมบูรณ์ สำหรับสาขาวิชาการจัดการ แบ่งออกเป็น 3 แขนงวิชา ได้แก่ (1) แขนงวิชาการจัดการทั่วไป เป็นการเรียนในด้านการวางแผน การบริหารจัดการในองค์การทั่วไปทั้งที่เป็นภาคเอกชน รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ (2) แขนงวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรียนรู้หลักการและเทคนิคในการบริหารคน กฎระเบียบ การบริหารค่าจ้างเงินเดือนของคนในองค์การ การแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์การ และ (3) แขนงวิชาการเป็นผู้ประกอบการ เรียนรู้ในการวิเคราะห์ การวางแผน และการปฎิบัติทำธุรกิจจริง เน้นการทำ workshop ในทางการค้า ดังนั้น จุดสำคัญที่สุดคือ เราสอนให้ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการทั่วไป บริหารจัดการคนในองค์กร และบริหารจัดการในกิจการได้เมือเป็นผู้ประกอบการ เริ่มจาก Startup เป็น SMEs และขยายไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้


สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
         ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะในการมอง คิด และวิเคราะห์เรื่องการเงินและการลงทุน วิเคราะห์การลงทุน การวางแผนการเงินขององค์กร การควบคุมการเงิน การบริหารสถาบันการเงิน และตลาดหลักทรัพย์ การจัดสรรเงินลงทุนในหลักทรัพย์ การประกันภัย รวมถึงหลักการในการบริหารเงินทั่วไป ได้ฝึกการเล่นหุ้น การค้าทองคำ หรือวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินเมื่อต้องการลงทุนทำกิจการในอนาคตซึ่งเป็นสาขาที่น่าสนใจในการนำไปใช้ในงานและนำไปใช้ในการบริหารเงินและอนาคตให้กับตนเอง


สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมค้าปลีก
         เนื่องจากปัจจุบันการทำการตลาดที่ดีทำให้ธุรกิจอยู่ได้ เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ดังนั้น สิ่งที่ฝึกให้เรียนรู้จะเกี่ยวกับการบริหารการตลาด บริหารการลงทุนทางการตลาด การทำกิจกรรมทางการตลาดแบบออนไลน์ การเลือกลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภค การสื่อสารการตลาดดิจิทัล การจัดการการค้าปลีก และการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบร้านค้าปลีก และการจัดเรียงสินค้า การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการวางแผนการตลาดดิจิทัล เน้นการทำ workshop แบบกรณีศึกษา และลงพื้นที่ในตลาดจริง


สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
         สาขาวิชานี้เป็นเทรนด์ที่ถูกพัฒนาในรูปแบบเดียวกับต่างประเทศ เมื่อย้อนมองกลับไปในต่างประเทศจะวางระบบทางธุรกิจพัฒนามาเป็นลำดับ จากในปี 1990 เริ่มมีพัฒนาการด้านเว็บ มาเป็นการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-commerce ในปี 2000 และมุ่งทำธุรกิจเป็นแนว Digital marketing ในปี 2010 และในปี 2020 ธุรกิจจะวางแผนก้าวสู่ Digital Business หรือธุรกิจดิจิทัล การเรียนในสาขาธุรกิจดิจิทัลนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล การดูแลระบบเครือข่ายเบื้องต้น การวิเคราะห์และออกแบบธุรกิจ การตลาดออนไลน์ การสร้างเนื้อหาสำหรับสื่อสังคมออนไลน์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับธุรกิจดิจิทัล นับว่าเป็นการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ต้นทาง และครอบคลุมไปถึงปลายทางในการทำธุรกิจในยุคอนาคต

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
         สาขาที่มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะศาสตร์ทางโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจะสร้างความได้เปรียบในการทำธุรกิจได้ชัดเจนเพราะจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์ การจัดการขนส่ง การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การกระจายสินค้า การพยากรณ์ การบริหารการผลิต การค้าระหว่างประเทศ โดยมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านข้างต้นในมิติของการเป็นผู้ประกอบการ และในมิติของอุตสาหการเข้าไว้ด้วยกัน


ทุนการศึกษา
- ทุนเรียนดี ประสิทธิ์-คุณหญิงพัฒนา อุไรรัตน์ (ทุน 50%)
- ทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรอ. และ กยศ.

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ