Line Chatbot ช่องทางเช็คเกรดตารางเรียน และตารางสอบ สำหรับนักศึกษา ม.รังสิต

28 Nov 2019

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต พัฒนาระบบงานสารสนเทศอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาในการตรวจสอบผลการเรียน ตารางเรียน และตารางสอบ โดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ (LINE Application) เป็นช่องทางในการบริการภายใต้โครงการ RSU Connect

 

 

นายพสุ กุนทีกาญจน์ (แชมป์) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกลาง และนักวิเคราะห์ระบบ สังกัดฝ่ายงานบริการซอฟท์แวร์ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ปกติแล้วนักศึกษาจะสามารถดำเนินการเกี่ยวกับการลงทะเบียน ตรวจสอบผลการเรียนและตารางเรียน ผ่านระบบ Intranet ของมหาวิทยาลัย (intranet.rsu.ac.th) ซึ่งในช่วงเวลาที่เกรดออกนั้น การจราจรของการเข้าใช้ระบบ Intranet ค่อนข้างหนาแน่น ทำให้ระบบต้องรองรับ Traffic ที่สูงบ่อยครั้ง จึงทำให้ระบบทำงานช้า และระบบดังกล่าวนี้เองก็เป็นระบบที่ถูกใช้งานมานานมากแล้ว จึงปรึกษากันเพื่อกระจายช่องทางการใช้งานว่าเราสามารถประยุกต์ ปรับเปลี่ยน หรือสามารถหาช่องทางอื่นๆ มาช่วย Support ได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันแอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นที่นิยมในการใช้งาน ด้วยการใช้งานทีเข้าถึงง่าย สะดวก  ทางทีมจึงได้พัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานบนแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE Application) ได้ จึงเกิดโครงการพัฒนาไลน์         แชทบอทขึ้นมา เพื่อใช้เป็นช่องทางในการตรวจสอบเกรด และเช็คผลการเรียน ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาการบริการด้านอื่นๆ ตามมา ซึ่งหลังจากที่ได้เปิดตัวใช้งานไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมานั้น ผลตอบรับจากนักศึกษาเป็นไปในทิศทางที่ดี

“RSU Connect เป็นโครงการเพื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตอย่างแท้จริงครับ นักศึกษาสามารถใช้งานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตรวจสอบตารางเรียน ตารางสอบ ผลการเรียน นอกจากนี้ ยังสอบถามสถานที่ อาคารภายในมหาวิทยาลัย ดูปฏิทินการศึกษา สอบถาม FAQ เกี่ยวกับการลงทะเบียนก็ได้ครับ รวมทั้ง Chatbot นี้ ยังสามารถตอบคำถามน้องๆ ได้อีกด้วยครับ แม้ตอนนี้อาจยังไม่ครอบคลุมทุกคำถามและคำตอบ แต่ตัว AI ของบอทนี้จะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ พร้อมด้วยทีมงานที่จะคอย Monitor รวบรวมข้อผิดพลาด และสอนให้บอทฉลาดขึ้นในอนาคต อยากเชิญชวนน้องๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมใช้งานแอพพลิเคชั่นตัวนี้ เพราะมันจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยให้การติดต่อเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ง่ายมากขึ้น และในอนาคตนักศึกษาจะสามารถเปลี่ยน Password Wifi และ Intranet ผ่านทาง Chatbot ได้อีกด้วย”

 

 

นายอนุรักษ์ วรรณคีรี (จิ๋ว) โปรแกรมเมอร์ฝ่ายงานบริการซอฟต์แวร์ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เมื่อก่อนการเข้าใช้งานระบบอินทราเน็ต (Intranet) จำเป็นต้องใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Internet Explore เท่านั้น แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมและอุปกรณ์การเข้าใช้งานนั้นเปลี่ยนไป  อีกเหตุผลหนึ่งด้วยการโหลดของระบบ Intranet เมื่อมีผู้เข้าใช้งานเป็นจำนวนมากๆ ต่อครั้งนั้น ทำให้ระบบโหลดและช้า พวกเราทีมงานสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้แยกบริการบางอย่างออกมา เพื่อเป็นการกระจายการใช้งาน และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานด้วยโดยสามารถจะเลือกใช้บางบริการ (ที่เปิดแล้ว) ผ่านทางโทรศัพท์ Smart Phone ของพวกเขาได้ จึงเกิดโครงการ RSU Connect ขึ้นมา โดยผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับบัญชีผู้ใช้งานนักศึกษา และสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ