เราสามารถสอนให้เด็กอยู่เพื่อคนอื่นบ้างได้ไหม? ปรับ Growth Mindset เด็กนิเทศศิลป์เพื่อแก้ปัญหาสังคม

24 Mar 2023

 

เราสามารถที่จะสอนให้เด็กอยู่เพื่อคนอื่นบ้างได้ไหม?

เราสามารถสอนให้เด็กทำเพื่อสังคมบ้างได้ไหม?

เราจะสร้าง Growth Mindset ให้เข้าฝังอยู่ในหัวใจของเด็กได้อย่าง?

 

ดร.ดนุ ภู่มาลี อาจาย์ประจำวิชาสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต  อาจารย์ดีเด่นด้านการบริการวิชาการ ประจำปี 2565 เคยตั้งคำถามกับในฐานะอาจารย์ในสายวิชาชีพศิลปะและการออกแบบถึงสิ่งที่อาจารย์ในแวดวงเดียวกันกำลังทำอยู่ ในสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์กับเป้าหมายเดียวกันในการที่จะผลิตนักศึกษาให้เป็นนักคิด เป็นคนที่มีความพร้อมใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เราได้รับโจทย์จากสายงานวิชาชีพโดยชุดความรู้และทักษะด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบกราฟิก การออกแบบตัวอักษร การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร การออกแบบภาพประกอบ การออกแบบโฆษณา การออกแบบมัลติมีเดีย ฯลฯ ต่าง ๆ นั้น ทั้งหมดนั้นหากไม่ใช่ในเพื่อการค้า หรือธุรกิจ เราจะทำเพื่อคนอื่นได้ไหม? เพื่อให้สังคมจะน่าอยู่มากขึ้น

 

 

จากฉนวนความคิดเพื่อคนอื่นนี่เอง เรากลับมาคิดว่านอกจากการสอนให้นักศึกษาเชี่ยวชาญและชำนาญตามสายงานแล้ว เราจะส่งต่อให้นักศึกษาในสายของเราปรับ Growth Mindset ของนักศึกษาให้ไปเกิดขึ้นในหัวใจอย่างไร จึงได้เข้าร่วมโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์เพื่อสังคมน่าอยู่ (University Network For Change) รวมตัวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยทั้งรัฐและเอกชนกว่า 14 สถาบัน เพื่อช่วยกันสร้างกลไก แสดงพลังทางสังคมเพื่อสะท้อนปัญหาทางสังคมที่เป็นจุดเล็ก ๆ แต่สำคัญ เพื่อให้นำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เข้ามาปรับเปลี่ยน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสังคมได้

 

นิเทศศิลป์ช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างไร?

“เคยมีความเชื่อในอดีตที่ว่า “เรียนศิลปะจะไปทำมาหากินอะไร” “ศิลปะเป็นเพียงวิชาหนึ่งที่แค่สอบให้ผ่านๆ ไป” ปัจจุบันความคิดหรือความเชื่อนี้อาจมีอยู่บ้าง เมื่อระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ทำให้คนเข้าใจคุณค่าความหมายของงานศิลปะต่อสังคมมากกว่าความบันเทิงมากขึ้น เริ่มมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ มีการแสดงความคิดเห็น จนทำให้มุมมองด้านศิลปะไม่จำกัดมากขึ้นแล้ว ประกอบกับนโยบายของวิทยาลัยการออกแบบที่ว่าเราต้องมีส่วนร่วมและพัฒนาสังคม จากความคิดเดิมที่ว่านอกเหนือจากงานสอนการเพิ่มงานบริการวิชาการด้วยจะเป็นภาระที่เพิ่มมา และทำไม่ได้ดีหรือไม่สำเร็จนั้น เปลี่ยนไปสิ้นเชิงเมื่อได้เจอคอนเทนต์ของโครงการจริง ๆ ทำให้เข้าใจว่าสิ่งที่เราเรียนเราสอนเดิมนั้นเราเน้นที่จะสอนให้เด็กสร้างงานเชิงการค้า (Commercial) ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ไหนขายได้ ขายดีขึ้น เพื่อประกอบวิชาชีพ แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถที่จะสอนให้เด็กแก้ไขปัญหาสังคมได้ แก้ไขปัญหาให้คนอื่นหรือคนในสังคมในบางบริบทได้ ถ้าสายวิชาชีพสามารถดึงศักยภาพ พร้อมกับบทบาทหน้าที่ของความเป็นพลเมืองของคนไทย การออกแบบงานหรือสร้างสรรค์งานเพื่อแก้ปัญหาให้แก่สังคม สังคมจะน่าอยู่ ปัญหาจะน้อยลง และเราในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชานิเทศศิลป์ เราสร้างคนที่เข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้นดีกว่าสร้างคนที่เก่งออกไป

 

 

การปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีการนำวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องกับสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น อาทิ วิชาการออกแบบเพื่อสังคม จะเห็นปัญหาสังคมในระดับที่นักศึกษามองเห็นและหยิบจับปัญหานั้นมาแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง เกิดความอินความตั้งใจ เข้าถึงปัญหาที่นักศึกษาเลือกเอง และดีไซน์วิธีการ ผลงานการออกแบบ ซึ่งการได้ทำงานบริการวิชาการตรงนี้แม้แต่ตัวตนอาจารย์เองก็มีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนจากการที่มองว่าเป็นภาระเข้ามาเพิ่ม กลายเป็นประเด็นหลักที่เอามาเป็นกลไกในสอนเพื่อสร้าง Growth Mindset ให้ได้แบบจริงจัง ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอีก 14 สถาบัน หน่วยงานอย่างกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการเพราะเล็งเห็นพลังของนักศึกษาในสาขาวิชาชีพด้านนี้ที่สามารถสะท้อนมุมมองเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่สำคัญมีการสะท้อนแนวคิดขยายออกไปในสายวิชาชีพอื่น การตลาด บัญชี การบิน ทันตะ แล้วจะทำให้สังคมน่าอยู่แบบองค์รวมยกระดับทั้งสังคม

 

 

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราพยายามสอดแทรกให้นักศึกษาคือ วิธีคิด แทนที่จะสอนให้นักศึกษาทำสื่อเชิง Commercial หรือให้ผลิตภัณฑ์ขายดีขึ้น แต่เปลี่ยนเป็นจะทำยังไงให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไข และคนที่อยู่ในบริบทสังคมได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด และอยู่ร่วมกันได้ผ่านแนวคิดที่เกิดจาหัวใจของนักศึกษานั่นเอง

 

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ