มหาวิทยาลัยรังสิต นำโดย ฝ่ายแผนและพัฒนา ศูนย์บริการทางวิชาการ สำนักงานพัฒนาบุคคล ฝ่ายประกันคุณภาพ และสำนักงาน Wisdom Media ได้จัดการประชุมให้ความรู้ หัวข้อ "แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยแนวปฏิบัติที่ดี" (Good Practice) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ประจำปีการศึกษา 2565 และเพื่อชี้แจ้งให้อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้ทราบถึงนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดการความรู้ สำหรับปีการศึกษา 2566
.jpg)
ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวถึงภาพรวมการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรังสิตตอนนี้ ซึ่งจะโฟกัสแค่การปรับหลักสูตรให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มศักยภาพให้บุคลากรผู้สอน เพียงแค่นี้คงไม่พอแล้ว การศึกษาไทยต้องสนับสนุนปัจจัยเสริมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสำคัญกับการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพแตกต่างออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยและสภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลง การมอบรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ประจำปี 2565 และประชุมให้ความรู้เรื่อง แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) นั้น นอกจากแสดงความยินดีแก่คณาจารย์ที่ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี ประจำปี 2565 ยังเป็นโอกาสในการชี้แจงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงหลักเกณฑ์และกำหนดการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดี ประจำปีการการศึกษา 2566 เพื่อให้ทุกวิทยาลัย คณะ และหน่วยงานได้เดินหน้าพัฒนามหาวิทยาลัยร่วมกันทั้งระบบ
.jpg)
ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา และคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พูดถึง วิธีการทำงานหรือระบบกลไกต่าง ๆ ที่ดำเนินการแล้วนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้ มีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะพิจารณาวิธีการทำงานหรือระบบกลไกในการดำเนินการต่างๆ ว่าเป็น แนวปฏิบัติที่ดี อาทิ มีการดำเนินการจริง โดยสามารถอธิบายแนวทางได้ครบตาม PDCA สามารถอธิบายได้ว่า ขั้นตอนใดหรือปัจจัยใดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวังได้ มีเหตุผลหรือหลักฐานประกอบซึ่ง ควรมีการดำเนินการซ้ำ อย่างน้อย 1 รอบ เพื่อยืนยันว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากวิธีการทำงานหรือระบบกลไกในการดำเนินการนั้นจริง โดยแนวปฏิบัติที่ดีจะเกิดได้อย่างไรนั้น ทุกหลักสูตร คณะ หน่วยงานต้องเข้าใจที่มาอันประกอบด้วย การดำเนินการให้ได้ตาม Key Result ที่วางแผนไว้ และความต้องการที่อยากจะพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นก่อน จะนำไปสู่การเกิดวิธีการพัฒนาจากแนวทางที่มีอยู่หรือประยุกต์จากแนวทางใกล้เคียงที่เคยทำแล้วประสบผลสำเร็จ แม้กระทั่งตั้งใจที่จะสร้างหรือทำให้เกิด สำหรับแนวทางในการดำเนินการในปีการศึกษา 2566 ที่จะเกิดขึ้นนั้น มหาวิทยาลัยรังสิต เน้นสองแนวทางหลักได้แก่ การกำหนดให้ทุกคณะวิชาหรือหน่วยงาน นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีที่พบในการดำเนินการที่ผ่านมา -> Bottom-up และสร้างกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้ทุกคณะวิชาหรือหน่วยงานสร้างหรือพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีขึ้นมา ตามนโยบายหรือเป้าหมายที่กำหนดโดยผู้บริหาร -> Top-down ซึ่งผู้บริหารทุกระดับเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต (Excellence in Education) ต่อไปในอนาคต
.jpg)
ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการ บรรยายถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ว่าจะเริ่มต้นด้วยการจัดการความรู้ ซึ่งตามนิยามของคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร สามารถนำมาพัฒนาเป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดได้ โดยเริ่มจากมุมมองของการจัดการความรู้ด้วยคอนเซ็ปต์ RKMS ซึ่ง R = Rangsit K = Knowledge M = Management S = System ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูล ความรู้ ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยให้การจัดเก็บและค้นคืนองค์ความรู้ทำได้สะดวกขึ้น โดยการดำเนินการตามแนวทางที่รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนาแจ้งไว้นั้น เราคาดหวังว่าบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะเป็น Smart People ซึ่งเกิดจาก Personal KM หรือกระบวนการจัดการความรู้ในระดับบุคคลได้ แต่อีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญและอยากให้เกิดการผลักดันต่อไป คือ Process KM ที่มุ่งหวังไปยังกระบวนการในการดำเนินการของหลักสูตร คณะ หน่วยงาน ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ตาม Key Result ในแผนยุทธศาสตร์ได้ตรงเป้าหมาย ซึ่งหากมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการดังกล่าว เราเชื่อว่าจะสามารถทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ที่จะใช้เป็นแนวทางให้หลักสูตร คณะ หน่วยงาน อื่นๆ นำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการทำงานที่ดีขึ้นในภาพรวมได้
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้รับรางวัลดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต (Excellence in Education) จำนวน 2 รางวัล ได้แก 1. การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษา หลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยอาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ คณะบัญชี 2. สมรรถนะทางการสอน : จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilingual Schools โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล วิทยาลัยครูสุริยเทพ รางวัลดีเด่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 1. ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อาภรณ์ ดีนาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี นามจันทรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารินทร์ บินโฮเซ็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ คณะพยาบาลศาสตร์ 2. การเพิ่ม Citation หรือ h-index ของนักวิจัย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และข้อมูลผลงานการจัดการความรู้ที่ได้รับรางวัลชมเชย จำนวนทั้งสิ้น 22 ผลงาน เป็นต้น
.jpg)
มหาวิทยาลัยรังสิต ขอแสดงความยินดี และเชื่อมั่นศักยภาพของบุคลากรทุกคน และเชื่อว่าพลังแห่งความสำเร็จในการก้าวสู่มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศนั้น ทุกคนมีส่วนในการสนับสนุนเป็นอย่างดี และรางวัลดังกล่าวนี้จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และร่วมกันสร้างความสำเร็จไปพร้อมกัน
สามารถดูข้อมูลผลงาน การจัดการความรู้ได้ที่บน Website https://hrd.rsu.ac.th/good-practice-65/
"