.jpg)
ต้องขอบอกว่าเมื่อใดเข้าสู่เทศกาลตรวจงาน ตรวจแบบ ตรวจโปรเจ็กต์ขึ้นมาแล้วหล่ะก็ เชื่อว่าน้องนักศึกษาหลายคนคงต้องเอ่ยปากว่า เฮ้ย! ทำไมไวจัง..งานยังไม่เสร็จเลย หรือ วันนี้จะโดนคอมเม้นต์ทางบวกหรือลบกันนะ แถมต้องนั่งฟังอาจารย์ชี้แนะหลายชั่วโมงเป็นแน่แท้ แค่คิดก็ทั้งง่วงทั้งเบื่อแล้วสิ...
.JPG)
ต้องขอบอกเลยว่าอาจไม่เป็นแบบนั้นเสมอไปถ้าได้มาสัมผัสบรรยากาศการเรียนการสอนที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพราะที่นี่มีสีสันการเรียนที่นักศึกษาจะได้สัมผัสประสบการณ์แบบสนุก แฮปปี้ แฟมิลี่ รีบมาตรวจงานกันเช้าตรู่ โดยเฉพาะการเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงตรวจงานของ Design Lab - Projects Review ประจำเทอม 1/2561 หนึ่งในสตูดิโอแห่งการเรียนรู้แนวตั้งของนักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต
.JPG)
.JPG)
.JPG)
โดยบรรยากาศการนำเสนอและตรวจผลงานนั้น นอกเหนือจาการใส่ความรู้แบบวิชาการแล้ว ยังมีการสร้างบรรยากาศ สร้างสีสัน หารูปแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วม โดยการสร้างธีมให้กับการตรวจ อย่างการตรวจครั้งนี้ของสตูดิโอนี้ได้มีการกำหนดให้นักศึกษาร่วมแต่งกายธีมฮาวายไปพร้อมกับอาจารย์และสถาปนิกรับเชิญ...ซึ่งจะฮาวายแค่ไหนก็ได้ขอแค่ให้มีผลงานมาให้ตรวจกันครบทุกชั้นปี ซึ่งแม้จะเป็นการสร้างบรรยากาศเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ได้รับความร่วมมือไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ละคนก็แต่งกายสไตล์ฮาวายตามแบบของตนเองและมาพรีเซ็นต์งานกันพร้อมหน้าพร้อมตา...เห็นแล้วน่าเรียนจริงๆ
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
สำหรับการตรวจงานของนักศึกษาหรือที่เรียกว่า Projects Review ของสตูดิโอ Design Lab นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมอง และความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ผู้สอน สถาปนิกที่ทำงานวิชาการ และสถาปนิกที่ปฏิบัติวิชาชีพ โดยการนำผลงานผลงานออกแบบของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-4 อาทิ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับผลงานออกแบบที่ว่าง / โครงสร้าง / พื้นผิว ภายใต้โจทย์หลัก Place Branding ย่านเยาวราช นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ผลงานออกแบบงานสถาปัตยกรรมจากคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างพื้นฐาน / สถาปัตยกรรม / ภูมิทัศน์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นผลงานออกแบบงานสถาปัตยกรรมจากคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ Reboun (dary (การดีดกลับ, ขอบเขต), Rebellion (การขบถ), Reform (ปฏิรูป, เปลี่ยนรูป) นอกจากนี้ยังสนับสนุนนักศึกษาเข้าร่วมส่งผลงานในโจทย์การประกวดแบบ Urban meal mine เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดังนั้นพื้นที่การตรวจงานครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเวทีที่ให้นักศึกษาได้รับฟังคอมเม้นต์ ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการปรับปรุงผลงานต่อไป
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
พื้นที่การแลกเปลี่ยนนี้นอกจากคณาจารย์ผู้สอนในคณะสถาปัตย์แล้ว ยังได้มีการเชิญสถาปนิกที่ทำงานวิชาการ และสถาปนิกที่ปฏิบัติวิชาชีพ เข้ามาร่วมแสดงความคิด แบ่งปันและแชร์ความรู้ ประสบการณ์แบบละเอียดตรงประเด็นให้กับนักศึกษาทุกผลงาน ไม่ว่าจะเป็น
- คุณชนินทร์ แซ่เตียว
- คุณเฉลิมพล สมบัติยานุชิต
- คุณนิกร อินทร์พยุง
- คุณวีรวัต โอภาเฉลิมพันธ์
- คุณวันวิสาข์ คุณรักษ์ จ
- คุณธนินท์รัฐ ธนาปิยะรักษ์
- คุณอัญชนา สวัสดิชัย
- คุณสวรรยา เอี่ยมประเสริฐ
- และคุณณัฐธนี พฤฒยางกรู
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
.JPG)
การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนวิชาออกแบบในทุกโรงเรียนสถาปัตยกรรม กระบวนการนี้ช่วยพัฒนาทักษะการคิดคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร คำแนะนำและมุมมองจากสถาปนิกและนักออกแบบที่ปฏิบัติวิชาชีพ เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการพัฒนาแนวคิดในการออกแบบขณะที่นักศึกษาอยู่ในโรงเรียนสถาปัตยกรรม
ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต ไม่ได้เพียงแค่ต้องการให้นักศึกษาได้รับความรู้แค่ไหนห้องเรียน หรือความรู้จากอาจารย์เพียงเท่านั้น และเชื่อว่าหลายๆสถาบันเช่นกัน ต่างพยายามสรรหาสิ่งดีดีมีประโยชน์ให้กับนักศึกษาของตนเอง แต่จะมีสักกี่ที่ที่เหล่าคณาจารย์จะพร้อมใจมอบประสบการณ์ความสุขให้กับนักศึกษา แม้จะเป็นแค่ “Projects Review” ของสตูดิโอการเรียนรู้ ไม่ใช่งานสัปดาห์วิชาการหรืองานประจำปีมหาวิทยาลัยก็ตามแต่บรรยากาศการเรียน และสีสันแห่งความสุขยิ่งใหญ่เสมอทุกกิจกรรม
"