สาขาวิชาคอนเทนต์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเสวนา "คอนเทนต์บนสื่อดิจิทัล : วิกฤตหมูป่า ณ ถ้ำหลวง" เรื่องเล่าจากแอดมินเพจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรวรรธน์ ขุนทอง บรรณาธิการ หน้า 1 ไทยรัฐทีวี คุณรัชพล งามกระบวน ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ จังหวัดเชียงราย และคุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการกลุ่มข่าวสืบสวนสอบสวนและบริการศูนย์ข่าวภูมิภาค ThaiPBS ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การผลิตคอนเทนต์และการจัดการข่าวสารท่ามกลางวิกฤติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน โดยสามารถสรุปประเด็นจากการเสวนาได้ ดังนี้
คำถาม: ในสถานการณ์ที่วิกฤต ฉุกเฉินฉับพลันมาก และต้องลงพื้นที่นานถึง 18 วัน มีการเตรียมตัวอย่างไรในแง่มุมของผู้ทําข่าว และการจัดการสถานการณ์วิกฤติและสถานการณ์ปกติอย่างไร รวมทั้งการนําเสนอข่าวแบบไหนที่ทำได้ และแบบไหนที่ควรระวัง?
พีอาร์เชียงราย: ในตอนแรกที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ยังคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เด็กติดถ้ำเดี๋ยวก็คงออกมาได้ และไม่ได้คิดเลยว่า จะเป็นเรื่องที่ยากเย็นมากขนาดนี้
ไทยรัฐ: ในตอนแรกที่รู้ว่ามีเคส เด็กติดถ้ำรู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์ปกติมาก แต่เมื่อรู้ว่าเป็นเด็กที่ติดถ้ำ 13 คน และหนึ่งในนั้นคือมีโค้ชอยู่ด้วย ทําให้เราสงสัยแล้วว่าเหตกุารณ์นี้ไม่ธรรมดาแล้ว ก็เลยส่งทีมข่าวส่วนกลางไป จนเริ่มกลายเป็นข่าวใหญ่ ตอนส่งไปวันแรกก็ยังไม่เจอเด็ก เริ่มรู้สึกแล้วว่าไม่ธรรมดา หลังจากนั้นเลยส่งทีมข่าวไปเรื่อยๆ รวมแล้ว 30 กว่าคน
ไทยพีบีเอส วันที่เกิดเหตุ ก็มีศูนย์ข่าวที่ประจําที่อยู่แต่ละภูมิภาครายงานมาว่ามีคนติดถ้ำ เป็นเด็ก 12 คน รวมโค้ชอีก 1 คน ตอนนั้นคิดว่าคงไม่มีอะไร คิดว่าอีกไม่กี่ชั่วโมงก็คงออกมา เราก็หาข้อมลูเกี่ยวกับถ้ำหลวงว่าเป็นยังไง ก็เห็นว่าเคยมคนเคยติดเข้าไป แต่ไม่กี่วันก็ออกมาได้ ก็คิดว่าคงไม่มีอะไร แต่พอผ่านมาอีกวันยังไม่เจอ จึงตัดสินใจเอาทีมข่าวไป เพราะรู้สึกแล้วว่าเป็นเรื่องใหญ่แล้ว
ประเด็นแรกที่คิดเลยคือ คนที่ติดในถ้ำเขาจะอยู่กันยังไง อดข้าวอดน้ำ 24 ชั่วโมง มันเป็นเรื่องใหญ่ เลยเอาประเด็นเหล่านี้มาคุยกันในกองบรรณาธิการว่า เราควรต้องให้ความสําคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งคนที่ติดในถ้ำส่วนใหญ่เป็น เด็ก ซึ่งเราใช้ข้อมูลเป็นการจัดการแผนการทํางาน
คำถาม: ในช่วงเวลาของ 3 วันแรก ยังอยู่ในช่วงสับสนมึนงงว่า เกิดอะไรขึ้น เข้าถ้ำไปทําไม เกิดคําถามมากมาย ในขณะที่คอนเทนต์คาดเดาเรื่องราวต่างๆ จนทําให้ผู้ที่ตามเหตุการณ์ไม่สามารถแยกได้ว่าอย่างไหนจริง อย่างไหนเท็จ ในสถานการณ์ช่วงเวลานั้นจับต้นชนปลายไม่ถูก ไหนจะเรื่องข่าวเท็จ แถมยังมีเรื่องของความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องอีก อยากทราบว่า มีการจัดการข่าว และนําเสนออย่างไร เพราะในช่วงเวลานั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสําหรับสื่อมวลชนที่ต้องคัดกรองความจริง
คุณรัชพล งามกระบวน ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ จังหวัดเชียงราย
พีอาร์เชียงราย: ตอนแรกคิดว่าคงไม่มีอะไร เดี๋ยวก็คงเจอ แต่พอมาวันที่สองท่านผู้ว่าฯ ได้เรียกเข้าประชุม มีการวางแผนระบบไฟ ระบบการคมนาคม ทีมการช่วยเหลือ กู้ภัย ทีมดําน้ำต่างๆ ให้เข้ามา ให้หน่วยซีลเข้ามาช่วยเหลือ คิดว่าถ้าหน่วยซีลมาช่วยแล้ว คิดว่าวันนั้นยังไงก็ต้องเจอ หลังจากนั้นก็เริ่มมีสื่อมวลชนเข้ามากันมากขึ้น นับเป็นปรากฏการณ์ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราเห็นสื่อเข้ามามากมาย ในตอนนั้นเราได้เริ่มทดลอง live สด ปรากฎว่าก็มีคนดู 40,000 กว่าคน เราก็เริ่มตกใจ

คุณวรวรรธน์ ขุนทอง บรรณาธิการ หน้า 1 ไทยรัฐทีวี
ไทยรัฐ: การที่จะคัดกรองประเด็นข่าวทุกอย่าง อันดับแรกเลยคือ ให้นําเสนอแต่เพียงสิ่งที่ตัวเองรู้ และสัมผัสได้ ห้ามฟังจากคนอื่น ซึ่งการคัดกรองประเด็น หรือคอนเทนต์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและเสี่ยงที่สุด คือถ้าพลาดเพียงนิดเดียวจะกลายเป็นดราม่าทันที ยิ่งถ้าในโลกโซเชียลก็จะยิ่งดราม่าสุดๆ เพราะฉะนั้น จึงบอกกับทีมข่าวทุกคนว่าเอาแค่สิ่งที่เห็นที่สัมผัสได้ และได้ยินกับหูเท่านั้น ขณะเดียวกันเราจะรอการแถลงข่าวจากผู้ว่าฯ อย่างเดียวไม่ได้ เพราะข่าวมันออนอยู่ตลอดเวลา แต่เราต้องทําคอนเทนต์ให้กับเพจและนําเสนอทางทีวีด้วย เพราะฉะนั้นเรารอไม่ได้เลย ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ทุกอย่างจะเป็นข่าวหมด แต่เราก็จะมีกติกาของเราคือ เราจะมีเส้นแบ่ง จะไม่ตั้งคําถามที่ขยี้อารมณ์ เพราะตอนนั้นเรายังไม่สามารถสรุปได้ว่า เจอหรือไม่เจอ อยู่หรือไม่อยู่ เราอยากโฟกัสไปที่การค้นหา และการทํางานของหน่วยซีลที่เข้าไปค้นหาเด็ก ทุกอย่างเป็นการทํางานที่ทุลักทุเลมาก เพราะเราทํางานกันท่ามกลางฝน พื้นเดินไม่ได้ จากวันแรกที่ไปถึงพื้นเป็นหญ้า แต่พอฝนตกพื้นเป็นทะเลโคลน ทําให้ทีมงานข่าวทุกคนรู้สึกเพลีย เหนื่อยล้า เพราะเราทํางานกันทั้งวันทั้งคืน ได้นอนวันละประมาณชั่วโมง ในเรื่องของการคัดกรองข่าวเน้นไปที่ การได้เห็นกับตา ได้ยินกับหู ไม่คาดการณ์ล่วงหน้าและไม่ใส่ความคิดเห็น
คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการกลุ่มข่าวสืบสวนสอบสวนและบริการศูนย์ข่าวภูมิภาค Thai PBS
ไทยพีบีเอส: ประเด็นแรกคือ เราจะไม่ไป live หน้าถ้ำเด็ดขาด เนื่องจากมีการแจ้งเตือนจากทางจังหวัดโดยขอความร่วมมือในการงดการ live อย่างที่สองคือ เราพบว่าสัญญาณที่หน้าถ้ำมันต่ำมาก ถ้าจะอัดวิดีโอจริงๆ ให้เป็นบันทึกเทปเท่านั้น และมาใช้สัญญาณข้างนอก ประเด็นที่สองคือ งดการสัมภาษณ์ญาติและคนใกล้ชิด เนื่องจากว่าเป็นความละเอียดอ่อนมาก เพราะมันกระทบความรู้สึก แต่สิ่งที่เราใช้คือ การวางแผนการทํางานจากกองบรรณาธิการแต่ละทีมที่ไปทํางานที่ถ้ำหลวงจะต้องทํางานยังไงบ้าง นักข่าวทุกคนจะต้องรู้แผนที่ ภูมิศาสตร์ที่อุทธยานถ้ำหลวงมันเป็นยังไง พื้นที่ของนักข่าวในการรายงานจะต้องไปอยู่ตรงจุดไหน เราต้องวางแผนก่อนว่าจะให้นักข่าวแต่ละคนไปรายงานข่าวอยู่ที่จุดไหน การทํางานของเจ้าหน้าที่แบ่งการทํางานเป็น 3 เรื่องหลักๆ
เรื่องแรกคือ การค้นหาในถ้ำ เรื่องที่สองคือ การค้นหาบนดอย ตามเชิงเขา เรื่องที่สามคือ การจัดการกับการระบายน้ำ เพราะฉะนั้น นักข่าวจะมีการรายงานอยู่ 3 ประเด็นหลักๆ การทําฐานข้อมูลในการทํางานมันเป็นเรื่องหลัก และยิ่งถ้าเราได้ข้อมูลจากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการปีนเขาเพื่อหาโพรง การดําน้ำค้นหาเด็ก และการระบายน้ำ จะทําให้เราได้ข้อมูลที่แม่นยํา
คำถาม: เดินทางมาถึงวันที่ 6 ของการติดตามสถานการณ์ เริ่มเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นหลังจากที่มีคนเริ่มเข้าไปในพื้นที่เพื่อยื่นความช่วยเหลชือ และเริ่มเป็นกระแสมากขึ้น สื่อถูกจับตามองจากคนที่กําลังเอาใจช่วย จนมาถึงจุดที่สื่อถูกจดัระเบียบ เมื่อไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ ได้ทําอย่างไรกับวิธีการได้มาซึ่งข่าวในขณะนั้น จะมองว่าเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไหม? มีความเห็นอย่างไร?
ไทยพีบีเอส: ในความจริงแล้วจะมีกรอบจริยธรรมของการทํางานของการเป็นสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายด้วย สิ่งสําคัญคือ ต้องเคารพการตัดสินใจของหน่วยงานราชการที่เป็นคนบริหารจัดการเหตุภัยพิบัติ เราต้องดูว่าการทํางานของเราเป็นอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับเขาและไม่ไปก้าวล่วง หรือละเมิด เสียมารยาท เช่น ห้ามเข้าพื้นที่ ห้าม live หน้าถ้ำ
พีอาร์เชียงราย: เมื่อเริ่มมีการจัดระเบียบสื่อ เราก็ต้องออกมาอยู่ตรงจุดที่สื่อทุกสื่อต้องอยู่เช่นเดียวกัน ใน วันที่หมูป่าคนแรกออกมา เราก็มีโอกาสได้นําทีมเอ็นบีทีได้เข้าไปถ่ายทํา และตัดต่อภาพต่างๆ ในตอนนั้นก็มีคนทั้งถามทั้งตำหนิเข้ามาเยอะว่า ทําไมเพจพีอาร์เชียงรายไม่ live สด กล่าวหาว่าเราปกปิดข้อมลูหรือเปล่า เราก็ต้องบอกว่าเรื่องสําคัญแบบนี้เราก็ต้องรอการยืนยันจากหน่วยงานราชการก่อน จนถึงสุดท้ายเราก็ต้อง live เพราะมีคนเรียกร้องเข้ามาเยอะมาก แต่เราก็เผยแพร่เท่าที่จะทำได้เท่านั้น
ไทยรัฐ: การวางแผนหน้างานเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดสําหรับการป้อนคอนเทนต์ที่จะออกอากาศของไทยรัฐ หลังจากที่ล้มผังรายการปกติ มันจึงโฟกัสไปที่เหตุการณ์หมูป่าเพียงอย่างเดียว คือต้องรายงานข่าวตลอดเวลา จะต้องใช้ทรัพยากรทั้งคนและทีมข่าวจํานวนมาก เพราะฉะนั้น ความชุลมุนหน้าถ้ำก็เป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะฉะนั้น การวางแผนการทํางานทุกช่วงของเหตุการณ์ของข่าว เราต้องกําหนดให้นักข่าวทุกทีมรายงานข่าวในแต่ละจุด เราต้องนําเสนอให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารเข้าใจทุกขั้นตอน คอนเทนต์ต่างๆ จึงไม่สามารถเดาอะไรได้เลย หมูป่า แต่ละคนจะออกมาได้เมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ มันคือการเตรียมพร้อม ถ้าพูดถึงสิทธิสื่อมวลชน ส่วนตัวรู้สึกอึดอัด เพราะว่าเป็นนักข่าวที่ค่อนข้างมีความอิสระเสรี แต่สําหรับเหตุการณ์นี้รู้สึกได้ว่ามันแปลก แต่ส่วนตัวรู้สึกศรัทธาในตัวผู้ว่าฯ ท่านตั้งใจทํางาน และมีวิธีคิดที่โอเค ดูจากแววตา น้ำเสียงคือมีจิตใจที่จะช่วยเหลือน้องๆ ออกมาจริงๆ ก็เลย รู้สึกโอเค ในเมื่อมีกรอบมีกติกาเราก็จะทําตาม แต่ห้ามโกหก ถ้าโกหกเราก็จะฉีกทันที ถ้าให้เราอยู่ในกรอบ และให้สิ่งที่เพียงพอตามที่เราต้องการเราก็โอเค นี่คือการทำงานของเรา และคิดว่าเหตกุารณ์นี้ถ้าไม่มีกฎกติกาของการทําสื่อต้องมีการขยี้ดราม่าแน่ๆ ซึ่งก็คิดว่าดีมากที่มีกฎออกมา แต่ก็ดีมากที่ทุกสื่อให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
คำถาม: จากการนำเสนอคลิป CG มุดถ้าของไทยรัฐ วิธีการตัดสินใจที่จะทําแบบนี้เพื่อต้องการให้ผู้ชมเห็นอะไร แล้ววิธีการทํา CG ต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหน
ไทยรัฐ: เราต้องการที่จะทําให้คนรู้สึกว่าถ้าคุณเข้าไปอยู่ในถ้ำจะเป็นยังไง ขนาด ระยะ มิติ ในการช่วยเป็นเรื่องยากมาก การทำ CG นี้จึงถูกสร้างขึ้นมา ข่าวแบบนี้ควรจะทําให้เห็นถึงความอึดอัด ความทรมานมากน้อยแค่ ไหน เพราะฉะนั้น การให้ผู้ประกาศเป็นตัวแทนในการเล่าเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่ชัดเจนมากที่สุด และเห็นภาพมากที่สุด
คำถาม: จากการนําเสนอของไทยพีบีเอสที่นำเสนอภาพจริงที่เป็นของจริงไม่ได้จําลอง จนมีกระแสชื่นชมสําหรับ การจัดการนําเสนอข่าวกรณีถ้ำหลวง จากผลโหวตของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ Pantip โหวตความชื่นชอบให้ไทยพีบีเอสเป็นอันดับต้นๆ มีความเห็นอย่างไร
ไทยพีบีเอส: ประเด็นสําคัญของการทําข่าวคือ เราต้องทําให้คนเชื่อถือให้ได้ ต้องรายงานในสิ่งที่คนจะเชื่อ ได้ว่าเรื่องจริง และในกรณีนี้เราได้นักดำน้ำที่ดีที่สุดของโลก รวมไปถึงการช่วยเหลือจากมนุษยชาติ และเราต้องทํางานแบบวางแผนให้คนดูเชื่อว่า เหล่านี้คือข้อเท็จจริง ข้อมูลจริง ไม่ดราม่า ไม่เฟค ไม่โหนกระแส
คำถาม: หากในอนาคตเกิดวิกฤติในลักษณะนี้ขึ้นอีก ในฐานะคนที่เป็นสื่อ เป็นคนจัดการข่าวสารจะต้องมีการวางแผนอย่างไร รวมถึงผู้ที่ลงพื้นที่จะต้องมีกระบวนการคิด และตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร
ไทยรัฐ: ถ้าในเซตของคนทําข่าว ต้องมองไปถึงการวางแผนและก็การวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การ กระโจนลงส่สูนามข่าวให้ได้เร็วที่สุด ลึกที่สุด ชัดเจนที่สุด เพื่อตรึงคนดู คนอ่าน คนฟัง แพลตฟอร์มของสื่อที่ว่าสําคัญที่สุดในส่วนนี้ ส่วนเรื่องของข้อเท็จจริงและความชัดเจน ความถูกต้อง ก็เป็นเรื่องของประเด็นแรกๆ ที่มาคู่กัน คือไม่ใช่เร็วแล้วผิด แต่ก็ต้องถูกด้วย นับเป็นเรื่องยากและท้าทาย ข่าวนี้เป็นอะไรที่ยากมาก เหนื่อยทั้งกายทั้งใจ แต่พอมันจบเรารู้สึกเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งในการช่วย การให้กําลังใจ และไปอยู่ในเหตกุารณ์
ไทยพีบีเอส: เหตุการณ์ถ้ำหลวงนับเป็นวิกฤติความยากอีกแบบหนึ่ง เพราะในช่วงการรายงานข่าวถ้ำหลวงแล้วเจอวิกฤติหลายอย่าง ทั้งสื่อออนไลน์ ซึ่งเราต้องเชื่อได้ และเราต้องแข่งกับตัวเอง แข่งกับคนอื่น ผมคิดว่าเรา ต้องเจอข่าวในภาวะวิกฤติแบบนี้มากขึ้น บ่อยขึ้น เยอะขึ้น แต่จริงๆ แล้วมันมีหลักอย่างหนึ่ง คือเราต้อง วางแผน นักข่าวทุกคนของกองบรรณาธิการ ทุกคนต้องรู้จักวางแผนการทํางาน การกําหนดแบ่งหน้าที่ เราต้องมีรายงานครบ อยู่ที่การจัดการวางแผนเป็นหลัก อีกอันนึงก็คือเรื่องการจัดทําข้อมูล ก่อนให้นักข่าวลงไปทํางาน อันนี้ถือว่าสําคัญมาก กระบวนการการทําข่าวใหญ่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลัก ทั้งหมดมันคือชุดข้อมูล ซึ่งนักข่าวหรือทีมบก. บริหารจัดการต้องแม่นกับเรื่องนี้
ช่วง Question & Answer
คำถาม : หลังจากที่น้องๆ และโค้ชออกมาจากถ้ำก็จะมีสื่อต่างประเทศไปสัมภาษณ์ถึงบ้าน ทั้ง 3 ท่านคนมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ เพราะก่อนหน้ามีประเด็นดราม่า และมีการพูดคุยกันว่าห้ามสื่อทุกสำนักไปขุดคุ้ย
ไทยรัฐ: ผมว่าสํานักข่าวทุกช่อง สื่อไทย ยึดกติกาเดียวกันคือ เหตุการณ์แล้วเราจะไม่ตามขยี้ดราม่า เพราะว่าเราไม่อยากจะตอกย้ำ เราไม่รู้หรอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครคือพระเอก ใครคือ ผู้ร้าย เรารู้แต่ว่าต้องนึกถึงความปลอดภัยและกลับไปสู้ออมกอดของคุณพ่อคุณแม่ เราทําหน้าที่สื่อแค่นั้นพอ ส่วนขยี้ดราม่าทุกสื่อก็คงก็ แต่ในเมื่อเรามีกติกาข้อตกลงเป็นแบบนี้ เราคุยกันรู้เรื่อง เข้าใจแล้วก็พร้อมที่จะทำตามกติกา แตถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าสื่ออยากจะนําเสนอก็ทำได้แค่อ้างอิงสื่อต่างชาติแล้วเอามาเล่าเป็นข่าว แต่ถามว่าแฟร์ไหมกับนักข่าวมันก็ไม่แฟร์ แต่ถ้าเราเลือกที่จะไม่ทํา แล้วเรารู้สึกว่านี่คือปรากฏการณ์ใหมทำให้หลอมรวมเป็นนักข่าวหน่วยงานภาครัฐกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นมหากาพย์ของประเทศไทย เราสามารถไปถึงจุดนั้นได้ นั่นเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่าผมภูมิใจ ข่าวไม่ใช่สิ่งที่ต้องแข่งกัน แต่วัดกันที่จรรยาบรรณและความเป็นคนไทย การทําเพื่อคนไทย ทําเพื่อประเทศชาติ
ไทยพีบีเอส: ชีวิตของเด็กมีค่ามากกว่า คําว่าเสรีภาพกับสื่อ ชีวิตของเด็กมีค่ามากกว่าแน่นอน เพราะสื่อทุกคนจะเข้าใจตรงนี้ เราไม่ทําเพราะเรารู้ว่าเราอยากให้เด็กกลับไปสู่ครอบครัว กลับไปเรียนหนังสือ อยากที่จะให้เค้าใช้ชีวิตอย่างสงบ เราก็ปล่อยให้น้องๆ เค้าไปใช้ชีวิตอย่างปกติแล้วเราก็คอยดคูวามสําเร็จของน้องๆ หมูป่าและโค้ชทั้ง 13 คน

สาขาวิชาคอนเทนต์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
"