นิเทศศิลป์ ต้องคิดเป็น ทำเป็น...

30 Sep 2019

ชีวิตเด็กนิเทศศิลป์

มีการเรียนการสอนช่วงปีแรกๆ ของการเรียน จะต้องเรียน วิชาพื้นฐานทฤษฎีศิลปะ การออกแบบ ทฤษฎีสี วาดเส้น และวิชานอกคณะได้แก่ ภาษาอังกฤษ ธรรมาธิปไตย ฯลฯ พอขึ้นปีสองปีสาม จะเริ่มมีการสอนที่แตกต่างไป พอถึงปีสุดท้าย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ / ศิลปนิพนธ์ หรือที่เรียกว่า Art Thesis ซึ่งจะเป็นการประมวลความรู้ที่เราเรียนมาตลอดระยะเวลาสี่ปีว่าเราสามารถทำงานจริงได้ขนาดไหน

 

 

สำหรับระยะเวลาการทำ Thesis หรือศิลปนิพันธ์ จะกินเวลาทั้งเทอม ทำแต่ตัวนี้อย่างเดียว ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย และคอยเข้ามาสอบกับเป็นระยะๆ ตั้งแต่เลือกหัวข้อที่อยากจะทำ เรียกว่าหากจบตัวนี้จะมีหนังสือเล่มหนาๆเล่มหนึ่งกับผลงานจากหัวข้อที่ทำนำเอาไปจัดนิทรรศการให้คนนอกได้ดูได้ชมกัน

 

ผลงานส่วนใหญ่จะทำให้เห็นถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะทำให้พอมองออกว่าเราจะถนัดหรือมุ่งไปทางไหน อาทิ ผลงานแบบ Graphic Design หรือเรียกว่าจะไปเป็น "นักออกแบบกราฟิก" แนว Web Graphic Designer นักออกแบบเว็บ Advertising Graphic Designer Graphic Unit นักออกแบบกราฟิกที่ต้องอยู่กับสินค้าทำงานได้ทุกอย่างทุกประเภท ตั้งแต่งานออกแบบ สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ บิลบอร์ด ออกแบบบูทสินค้าที่ระลึก หรือบรรจุภัณฑ์ ผลงานแบบ Art Director หรือผู้กำกับศิลป์ เป็นผลงานออกแบบ แบบนักคิดโฆษณา Animator หรือ Motion Graphic Designer ผลงานแบบคนที่จบภาพยนตร์ Environmental Graphic Designer ผลงานเชิงนิทรรศการ หรือป้ายสัญลักษณ์ ผลงานแบบ Illustrator / Digital Artist ออกแบบภาพประกอบพวกหนังสือ นิทาน นิยาย หรือหน้าปกนิตยสาร แนวภาพถ่ายเครื่องประดับ

 

 

จะเห็นว่านิเทศศิลป์ทำอะไรได้หลายอย่างมาก หากได้ไปเดินดูผลงานศิลปะนิพนธ์ช่วงจบ จะเห็นว่ามีอะไรหลายอย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ด้วยหรือ และทุกครั้งที่มีการจัดแสดงผลงานสิ่งที่เห็นคือมีหลายคนให้ความสนใจไอเดียของเด็กรุ่นใหม่ไม่น้อย ตัวอย่างผลงานเก๋ๆ ของเด็กนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี ม.รังสิตปีนี้ ได้แก่ ผลงานออกแบบอัตลักษณ์ “บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ” โดย นางสาวนัฏฐา นาคะบัตร เกี่ยวกับบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ เป็นสถานที่รวบรวมประเพณีและวัฒนธรรมไทดำเอาไว้ เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ให้คงอยู่ จึงได้นำเอาเอกลักษณ์ของชาวไทดำ บ.นาป่าหนาด ที่สอดแทรกอยู่ในวัฒนธรรมมาออกแบบทั้งในส่วนของ การแต่งกาย บ้านเรือน การละเล่น ความเชื่อ สร้างอัตลักษณ์ให้กับ “บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ” ให้เป็นที่น่าจดจำ มีความน่าสนใจ และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น

ผลงานโครงการออกแบบอัตลักษณ์ส่งเสริมการขายผ้าทอไทยวน“ต้นตาล“ โดยนางสาวกุลธิดา กาบขุนทด กลุ่มทอผ้าบ้านต้นตาลจังหวัดสระบุรี ได้มีการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าทอ ของชาวไทยวนมาจากถิ่นฐานเดิม จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โครงการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและกราฟิกบนบรรจุภัณท์ แบรนด์ “SIAMMIX” โดยนายชนวิทย์ จูมแพง เป็นการออกแบบแบรนด์กระเป๋าสตรีทแฟชั่นที่นำเสนอความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆนำมา ผสมผสานให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ โดยกระเป๋าสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานให้สอด คล้องกับกิจกรรมของผู้ใช้งานได้ “โครงการหยุดโกง ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะหยุดมา” โดยนายวุฒิชัย เพ็ญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นงานออกแบบที่พูดถึงว่าแต่ละปี นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และพวกเขาถูกคนไทยเอาเปรียบหรือโกง แบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมหรือแฟร์กับพวกเขา ผลกระทบที่สุด พวกเขาอาจจะไม่กลับมาอีกแต่สิ่งทีเราต้องการจะบอก “ถ้าพวกเขามีที่เที่ยวที่ดีกว่า พวกเขาอาจจะไม่มาประเทศเราแล้วก็ได้” และระดับปริญญาโท ผลงานการออกแบบ “การสร้างความสบายในที่ทำงาน” โดยนางสาวกัลป์ยาภัสร์ รสิเสฎฐ์กุล เป็นต้น

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ