วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต เปิดแผนการเรียนนานาชาติ : English Program มุ่งพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิต

27 Sep 2018

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดแผนการเรียนนานาชาติ : English Program มุ่งพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิต เพื่อตอบโจทย์แพลตฟอร์มใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21

 


รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ตามวิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในรูปแบบของ RSU Model “Innovative Startup Entrepreneurship” By Integrative and Regenerative Competency Based Technology Transformation เน้นพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก” นั้น

 

 

 


ในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไปทางวิทยาลัยฯ ได้จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 แผนการเรียนให้ผู้สนใจเลือกสมัครเข้าเรียน ได้แก่

1. แผนการเรียนนานาชาติ เป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่รับผู้เรียนทั้งคนไทยและนานาชาติ
2. แผนการเรียนแบบปกติ เป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
3. แผนการเรียนแบบ 4+1 เป็นแผนการเรียนที่เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะปริญญาตรี(4ปี) ควบปริญญาโท(1 ปี)  โดยผู้ที่จบการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี จะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษาในระยะเวลา 4 ปี และได้รับปริญญาโทเมื่อศึกษาต่อในระยะเวลาอีก 1 ปี 
4. แผนการเรียนแบบปริญญาที่ 2 เป็นสำหรับผู้จบปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นๆและต้องการเรียนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นปริญญาที่ 2 ใช้ระบบเทียบโอนหน่วยกิต

 

 

โดยในแต่ละแผนการเรียน ได้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาผ่านระบบและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) แบบสหสาขาวิชา ทั้งทางด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ Big Data Analytic IoT ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ วัสดุชีวการแพทย์ วิศวกรรมเนื้อเยื่อ ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย และโครงงานเป็นพื้นฐาน โดยมุ่งพัฒนาใน 3 แขนงย่อยคือ

1) เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพและ วิศวกรรมคลินิกแบบอัจฉริยะ
(Smart Healthcare Technology and Clinical Engineering)

 


2) หุ่นยนต์ทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์
(Medical Robotics & Medical Devices)

 


3) วัสดุทางการแพทย์บันดาลใจจากชีวภาพและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
(Bio-inspired Materials & Tissue Engineering)

 


“สำหรับแผนการเรียนแบบนานาชาตินั้น จะเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป โดยรับนักศึกษาปีการศึกษาละ 30 คน ซึ่งเป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่คิดค่าหน่วยกิตเท่ากับแผนการเรียนแบบภาษาไทย โดยรับผู้เรียนทั้งที่เป็นคนไทยและนานาชาติ ทั้งนี้ เกิดจากการที่ทางวิทยาลัยฯ ได้มองเห็นถึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดนิยามและวางแนวทางในอนาคตในการพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่พวกเขาต้องออกไปรองรับการตอบโจทย์ให้กับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องของหลักเกณฑ์ของสังคมชุดใหม่ ชุดของโอกาสชุดใหม่ ชุดของภัยคุกคามชุดใหม่ และชุดของข้อจำกัดชุดใหม่ให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเพิ่มเติม

 
 

"

ผู้จัดทำ

บทความที่คุณอาจสนใจ