วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งสร้าง Platform ใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21 ให้กับบัณฑิต ส่งนักศึกษาทำงานวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ที่ Southern Denmark University ประเทศเดนมาร์ก
รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มุ่งปลูกฝังความรู้และทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ Platform ใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21 ให้แก่บัณฑิตด้วยการพัฒนาชุดความคิดชุดใหม่ ชุดของทักษะชุดใหม่ รวมทั้งชุดของพฤติกรรมชุดใหม่ เพื่อที่จะนำใช้ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและประเทศ
โครงการ SMOOTH
“สำหรับปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา นอกจากจะส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ในภาคการศึกษาที่ 2/2561 นี้ได้ส่งนักศึกษาไปร่วมทำวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ กับ Southern Denmark University ประเทศเดนมาร์ก ที่มีความร่วมมือทางวิชาการกันอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.ดร. ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ อาจารย์ประจำ Southern Denmark University และเป็น Visiting Professor ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าว
แขนกลไว้ใช้เรีรยนและทำโปรเจกต์
ด้าน นายกฤษณพันธุ์ แย้มเกตุ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงการฝึกทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยระดับโลกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องดีที่ทางวิทยาลัยมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเดนมาร์ก จึงมองเห็นโอกาสที่จะได้นำความรู้ตลอด 4 ปี ที่ได้รับจากวิทยาลัยไปต่อยอดการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้บรรยากาศการทำงาน ทัศนคติและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจเข้าร่วมฝึกงานในมหาวิทยาลัยที่ประเทศเดนมาร์ก โดยได้เข้าร่วมในส่วนของ Embodied AI & Neurorobotics Lab, Centre for BioRobotics,The Maersk Mc-Kinney Moller Institute. และเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุในโครงการที่มีชื่อว่า SMOOTH (Seamless human-robot interaction for the support of elderly people)
(ซ้าย) ศ.ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์
“ส่วนความรับผิดชอบจะอยู่ที่ส่วนของการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับหุ่นยนต์ โดยจะนำโปรแกรมและบทสนทนาที่พัฒนาโดยทีมของมหาวิทยาลัยแฮมเบิร์ก(Universität Hamburg) ประเทศเยอรมัน มาพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้งานร่วมกับทีมที่พัฒนาเรื่องการเคลื่อนที่ และการเรียนรู้เส้นทางการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ โดยก่อนไปได้เตรียมทบทวนความรู้เรื่อง Embodied AI, ภาษาC++ และ Python ที่ได้เรียนจากวิทยาลัย นอกจากนั้นต้องศึกษาระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์(ROS) เพิ่มเติม รวมไปถึงโปรแกรมที่พัฒนาโดยทีมจากประเทศเยอรมัน โดยระหว่างที่ทำงานอยู่ที่ประเทศเดนมาร์กได้เห็นการทำงานที่เป็นกันเอง การประชุมด้วยบรรยากาศที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ความเคารพซึ่งกันและกัน น้ำใจและมิตรภาพที่น่าประทับใจ
อ่านไม่ออกเลย
อาคารที่ตั้งของแล็บ
ส่วนตัวรู้สึกทราบซึ้งและรู้สึกขอบคุณคณาจารย์นำโดย รศ.นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศ.ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเดนมาร์ก สำหรับความรู้และโอกาสอันยิ่งใหญ่ของชีวิต หลายคนเชื่อว่าโลกยุคใหม่ ความรู้สามารถหาได้จากที่ไหนก็ได้ไม่ใช่แค่ในมหาวิทยาลัย แต่ส่วนตัวพบว่าการถ่ายทอดความรู้ที่สำคัญต่อชีวิตมาจากอาจารย์ที่จริงใจ บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีก็มาจากสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ และขอบคุณครอบครัวที่สนับสนุนมาตลอด ผมคิดว่าการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นความท้าทายที่น่าค้นหา ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในที่แปลกใหม่ รวมถึงภาษาท้องถิ่น ซึ่งวัฒนธรรมที่ต่างกันทำให้ได้เห็นอะไรที่แตกต่างหลากหลาย การได้มีเพื่อนชาวต่างชาติทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ อีกทั้งการได้มาฝึกงานที่มหาวิทยาลัยในต่างแดนเลยทำให้พบเพื่อนที่มาจากทั่วทุกมุมโลก
ด้านหน้ามหาวิทยาลัย
เพื่อนๆ จากหลายชาติหลายภาษา
สำหรับอนาคตคิดว่า การได้มาเรียน BME ที่ม.รังสิต ทำให้มีช่องทางในการทำงานทั้งโรงพยาบาล บริษัทเอกชน หรือจะประดิษฐ์สร้างเครื่องมือแพทย์ก็ทำได้ และการได้มาฝึกงานที่เดนมาร์กยิ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้ยิ่งขึ้นไปอีก” นายกฤษณพันธุ์ กล่าวเสริม
"