ทีมนักศึกษาและอาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และเหรียญทองแดงจากการประกวดนวัตกรรมระดับประเทศ Thailand Research Expo 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ
นางสาวกุลธิดา โอชารส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า แก้ววัดความหวานในครื่องดื่มประเภทชา ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากการประกวดนวัตกรรมระดับประเทศ Thailand Research Expo 2023 สำหรับผลงานดังกล่าว ประกอบด้วยแท่งตรวจวัดความหวานในเครื่องดื่มประเภทชา ทำหน้าที่ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากปริมาณน้ำตาลภายในเครื่องดื่มเมื่อได้แรงดันไฟฟ้าที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก สัญญาณจะถูกส่งไปที่ภาคปรับปรุงสัญญาณเพื่อปรังปรุงสัญญาณให้ได้สัญญาณที่สมบูรณ์ จากนั้นสัญญาณจะถูกประมวลผลแปลงจากสัญญาณอนาล็อกไปเป็นค่าดิจิทัลเอาต์พุดโดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ในการประมวลผลซึ่งจะแสดงผลเป็นค่าระดับน้ำตาลในเครื่องดื่มในหน่วยช้อนชา (TSP)
“สำหรับวิธีการใช้งานของแก้ววัดความหวานคือ นำเครื่องดื่มประเภทชาใส่ในแก้ววัดความหวาน หลังจากนั้นเขย่าแก้วเพื่อให้เครื่องดื่มกับน้ำแข็งผสมกันโดยให้สังเกตว่าแท่งวัดความหวานไม่โดนน้ำแข็งโดยตรง แล้วกดสวิตซ์ปิด - เปิดเครื่อง เพื่อทำการเปิดเครื่อง(รอประมาณ 1 นาทีก่อนเริ่มการใช้งาน) จึงทำการกดปุ่มเริ่มการวัดปริมาณความหวานของเครื่องดื่มประเภทชาแล้วรอเวลาในการประมวลผล 10 วินาที โดยจะแสดงเลขนับถอยหลัง จากนั้นเมื่อแก้ววัดความหวานในเครื่องดื่มประเภทชาทำการประมวลเสร็จสิ้นจะแสดงค่าปริมาณความหวานในหน่วยช้อนชา พร้อมแสดงสีแจ้งเตือน” นางสาวกุลธิดา กล่าว
นอกจากนี้ยังมีผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ได้แก่ เครื่องวัดความดันด้วยหลักการ PPG แสดงผลข้อมูลผ่านระบบ IOT และเครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งทั้ง 3 ผลงาน มี รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ และ ผศ.ธวัช แก้วกัณฑ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาวนีสรีน ลีมา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า สำหรับผลงานเครื่องวัดความดันด้วยหลักการ PPG (Photoplethysmogram) แสดงผลข้อมูลผ่านระบบ IOT (BLOOD PRESSURE METER BY PPG (Photoplethysmogram) AND DISPLAY VIA IOT) มีที่มาจากการตรวจวัดความดันโลหิตในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอทและแบบอัดโนมัติโดยเครื่องวัดแบบปรอทต้องใช้ปลอกแขนในการวัดความดันต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวัดและไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการศึกษาออกแบบสร้างเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยหลักการ Photoplethysmoghaphy (PPG) ใช้แสงความช่วงความยาวคลื่น 500-550 nm ที่พร้อมทั้งแสดงผลและเก็บข้อมูลผ่านหน้าจอ LCD , WebApplication และ Application LineSytole Dastole BLOOD PRESSURE METERStart โดยมีวิธีการใช้งานคือ เปิดสวิตช์เครื่องหน้าจอจะแสดงข้อความว่า "Wifi Connecting" ที่หน้าจอเพื่อให้ตัวเครื่องทำการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi หลังจากที่เชื่อมต่อสัญญาณเรียบร้อยแล้วเครื่องพร้อมทำงานจะแสดงข้อความบนหน้าจอ โดยจะแสดงข้อความว่า "BLOOD PRESSURE"และ " WELCOME" เมื่อเครื่องพร้อมรับคำสั่งวัดค่า จะแสดงข้อความบนหน้าจอ "BLOOD PRESSURE" และ"PRESS START" จากนั้นสอดนิ้วเข้าโพรบและกดปุ่ม START บนเครื่องวัดความดันโลหิต เมื่อเสร็จสิ้นการประมวลผล จะแสดงค่าความดันโลหิต และค่าอัตราการเต้นของหัวใจ ทางหน้าจอ
อีกหนึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงคือ เครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ (INFRARED THERMOMETER CALIBRATOR) โดย นางสาวพิมพ์พิชชา รุ่งเรือง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ใช้หลักการแผ่รังสีความร้อน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ภาคแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งใช้แหล่งจ่ายไฟ 220 VAC 2) ภาครับสัญญาณ ประกอบด้วยทรานสดิวเซอร์ เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ และวงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส 3) ภาคควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลประกอบด้วยโมดูล สำหรับควบคุมอุณหภูมิด้วยหลักการ PID และสามารถแสดงผลอุณหภูมิผ่านหน้าจอของโมดูล โซลิดสเตตรีเลย์ใช้ในการตัดต่อวงจรฮีตเตอร์ และใช้ฮีตเตอร์ชนิดอินฟราเรดในการให้ความร้อนแก่แผ่นอ้างอิงความร้อน
“ทางคณะผู้จัดทำได้ออกแบบและสร้างเครื่องสอบเทียบอุณหภูมิ แบบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ เพื่อให้มีเครื่องสอบเทียบอุณภูมิแบบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่มีความแย่นยำเทียบเท่าเครื่องมาตรฐานโดยเป็นเครื่องที่มีราคาถูกได้โดยการพึ่งพาเทคโนโลยีภายในประเทศเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกสามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูง” นางสาวพิมพ์พิชชา กล่าว
"