การทูตและการต่างประเทศ
|
|
|
|
การทูตและการต่างประเทศ
|
|
School of Diplomacy and International Studies
|
|
|
แผ่นพับการทูตและการต่างประเทศ
คู่มือการศึกษาการทูตและการต่างประเทศ
|
|
การทูตและการต่างประเทศ
School of Diplomacy and International Studies
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ)
BA International Relations and Development
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการทูตและการต่างประเทศ
MA Diplomacy and International Studies
sdis.rsu.ac.th
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และในการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและซับซ้อนนี้ก็มีปัญหาในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของสงคราม การก่อการร้าย วิกฤตทางเศรษกิจ ความยากจน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากร และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงมีจุดมุ่งผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากคณะการทูตและการต่างประเทศสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งต้องการบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในเรื่องของการเมืองการปกครอง เศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และพัฒนศึกษา (Development Studies) เป็นต้น นอกจากนี้บัณฑิตและมหาบัณฑิตยังมีโอกาสที่จะได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์กรนอกภาครัฐ (Non-Governmental Organizations หรือ NGOs) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทต่างชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ และนักข่าว เป็นต้น ในขณะเดียวกันนักศึกษาปริญญาตรีเป็นจำนวนมากที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีความประสงค์ที่จะเรียนต่อในระดับในระดับปริญญาโทที่สถาบันการทูตและการต่างประเทศหรือที่มหาวิทยาลัยอื่นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
คณะการทูตและการต่างประเทศมี 1 หลักสูตรสำหรับปริญญาตรี
และ 1 หลักสูตร สำหรับปริญญาโทคือ
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการทูตและการต่างประเทศ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ)
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนา เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 3.5 - 4 ปี โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนในเรื่องของทฤษฎีและการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นักศึกษาที่เลือกเรียนในสาขาวิชานี้จะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ภัยคุกคามต่าง ๆ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรนอกภาครัฐ สิทธิมนุษยชน ระบบการปกครอง นโยบายสาธารณะ และเศรษฐศาสตร์การเมือง
ตัวอย่างรายวิชาภาคบังคับที่จะเรียนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนา
- IRD 250 เศรษฐศาสตร์การเมืองของเอเชีย (Political Economy of Asia)
- IRD 262 องค์การสหประชาชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN and Sustainable Development)
- IRD 263 การทูตและการเจรจาต่อรอง (Diplomacy and Negotiations)
- IRD 307 องค์การและความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Organizations and Cooperation)
- IRD 318 จีนในศตวรรษที่ 21 (China in the 21st Century)
- IRD 334 การวิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ (Foreign Policy Analysis)
- IRD 339 การเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกา (US Government and Politics)
- IRD 358 มหาอำนาจในเอเชีย-แปซิฟิก (Powers in Asia Pacific)
- IRD 359 ความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security)
- POL 102 ความรู้เบื้องต้นทางปรัชญาการเมือง (Introduction to Political Philosophy)
- POL 202 ความรู้เบื้องต้นทางการเมืองระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์
(Introduction to International Politics and Globalization)
- POL 206 ความรู้เบื้องต้นทางการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(Introduction to Comparative Politics and Government)
- ECO 391 พัฒนาการความคิดทางเศรษฐกิจและการเมือง
(Development of Political Economic Thoughts)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการทูตและการต่างประเทศ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการทูตและการต่างประเทศ เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปี คุณสมบัติของผู้เข้าการศึกษาในหลักสูตรนี้จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ และต้องการที่จะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องของสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ หลักสูตรนี้จะมุ่งเน้นการเรียนการสอนในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ ภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ กฎหมายระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ทางการทูต การแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง เศรษฐศาสตร์การเมืองของทวีปเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเลือกทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษได้
ตัวอย่างรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ
- IDS 603 การเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Politics and Security)
- IDS 606 ทัศนะนานาชาติว่าด้วยการทูตสาธารณะ (Global Perspectives on Public Diplomacy)
- IDS 608 เศรษฐกิจการเมืองในเอเชีย (Political Economy of Asia)
- IDS 609 การรวมกลุ่มอาเซียน (ASEAN Integration)
ตัวอย่างรายวิชาในหมวดวิชาเลือก
- IDS 602 วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy Analysis)
- IDS 643 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Political Economy)
- IDS 645 สิทธิมนุษยชนและประเด็นปัญหาสังคมข้ามชาติ (Human Rights and Transnational Social Issues)
- IDS 693 สัมมนาปัญหาระดับโลก (Seminar on Global Issues)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการทูตและการต่างประเทศ
มีแผนการเรียน 2 แบบคือ
- แบบ ก
- เรียนทั้งหมด 8 วิชา และ
- IDS 699 วิทยานิพนธ์ (Thesis)
- แบบ ข
- เรียนทั้งหมด 8 วิชา
- เรียนวิชาในหมวดวิชาเลือกเพิ่มอีก 2 วิชา
- IDS 697 การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) และ
- IDS 698 การศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Studies)
สอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรได้ที่ : sdis.rsu.ac.th
Email: idis@rsu.ac.th
Tel. (66) 2 997 2222 (Ext.4087,4090)
Fax (66) 2 997 2222 (Ext.4091)
คณะการทูตและการต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน
ตำบลหลักหก อำเภอเมือง
จังหวัดปทุมธานี 12000 |
|
|
|
|