ดิจิทัลอาร์ต

|
แผ่นพับดิจิทัลอาร์ต
คู่มือการศึกษาดิจิทัลอาร์ต
|
|
คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
FACULTY OF DIGITAL ART
คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
BACHELOR OF FINE ARTS B.F.A.
www.rsu.ac.th/digital
• อุตสาหกรรมแอนนิเมชัน เป็นอุตสาหกรรมประเภทบันเทิง ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพราะนอกจากจะนำรายได้มาสู่ประเทศแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาระความรู้ และแง่มุมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และวัฒนธรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง เช่นอุตสาหกรรมในวงการภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ตลอดจนสื่อมัลติมีเดียต่าง มีการศึกษาค้นคว้าและทดลองด้วยการนำเทคโนโลยี ใหม่ๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาและสร้างสรรค์ ดังที่รัฐบาล (SIPA) มีแผนที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแอนนิเมชันขึ้นในภูมิภาคนี้ใน 3 ปีข้างหน้า
• ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการและความสามารถของผู้ประกอบการและผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยในการสร้างให้มีความสมจริงหรือเสมือนจริงมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการประสมประสานกับความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ประกอบเข้ากับการนำอุปกรณ์เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการสร้างภาพแอนนิเมชัน สร้างการเคลื่อนไหวและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหว แอนนิเมชันจึงเป็นส่วนหนี่งในการเข้าไปช่วยเพิ่ม เสริมเติมแต่งให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิตอีกด้วย
• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 มหาวิทยาลัยรังสิต นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน ตลอดจนสื่อมัลติมีเดียต่างๆ จนในปัจจุบันสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์และวงการโทรทัศน์ ดังเป็นที่ประจักษ์ในผลงานของบัณฑิตผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปจำนวนมาก ประกอบกับเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต ท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบัณฑิตไทยให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมแอนนิเมชันชั้นนำในต่างประเทศและด้วยความพร้อมและศักยภาพในการผลิตบัณฑิต ทั้งทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์การศึกษา จึงได้มีนโยบายให้ขยายสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต เพื่อให้สามารถรองรับหลักสูตรใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรม
• แอนนิเมชันให้เติบโตสมบูรณ์แบบ จึงได้แยกตัวออกมาจากคณะศิลปะและการออกแบบเพื่อเป็นคณะใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า คณะดิจิทัลอาร์ต เพื่อรองรับการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบของงานแอนนิเมชันในรูปแบบ 2มิติ และ3มิติ ตลอดจนเทคนิคต่างๆที่ใช้ประกอบในงานแอนนิเมชันและงานภาพยนตร์โดยประกอบไปด้วยหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ตและสาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต
• โดยในปีการศึกษา 2555 จะมีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาดิจิทัลอิลัสสเตรชั่นและสาขาวิชาโมชั่นมีเดียดีไซน์ เพื่อรองรับงานในประเภทสื่อโฆษณาโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่างๆ
COMPUTER ART
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต
ด้วยสาขาคอมพิวเตอร์อาร์ต เป็นสาขาวิชาที่มีประโยชน์และความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวงการศึกษา วงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวงการแอนิเมชันด้วยงานอุตสาหกรรมบันเทิงในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ผลงานให้สวยงาม คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ โดยหลักสูตรมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นด้านงานออกแบบตัวละคร งานแอนิเมชัน 3 มิติและงานแอนิเมชัน 2 มิติ ตลอดจนงานเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ ฯลฯ
แนวทางประกอบวิชาชีพ นักออกแบบตัวละคร 3 มิติ นักออกแบบตัวละคร 2 มิติ แอนิเมเตอร์ นักออกแบบพื้นผิวและจัดแสงเพื่องานภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ผู้กำกับศิลป์ คอมโพสิทเตอร์
VISUAL EFFECTS
สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค
สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บัณฑิตมีความเป็นเลิศทางด้านความงาม สามารถเปลี่ยนแรงบัลดาลใจเป็นการสร้างสรรค์ มีแนวความคิดที่ชัดเจนในการผลิตผลงานวิชวลเอฟเฟคด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีคุณภาพในระดับสากลโดยมีการแบ่งกลุ่มในหลักสูตรวิชวลเอฟเฟคเป็น 3 สายคือ Dynamic Simulation,3-D Visual Effectsและ 3-D Compositing เพื่อเป็นทางเลือกให้นักศึกษาได้ค้นหาแนวทางของตนเองในการประกอบวิชาชีพต่อไป
แนวทางประกอบวิชาชีพ นักออกแบบตัวละครเพื่องานภาพ 3 มิติ นักออกแบบจัดแสงและพื้นผิวเพื่องานวิชวลเอฟเฟค คอมโพสิทเตอร์ เพื่องานวิชวลเอฟเฟค ผู้กำกับฝ่ายเทคนิคพิเศษแอนิเมเตอร์เพื่องานภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ผู้กำกับศิลป์ ศิลปิน
คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายนัฐวุฒิ สีมันตร |
คณบดี |
นายสาธิต เชียงทอง |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
นายชินธิป ตั้งศิริพัฒน์ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
นายภัทร นิมมล |
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุ |
ผู้ช่วยคณบดี |
ผศ.ชัยพร พานิชรุทติวงศ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต |
นายพนัส โภคทวี |
หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต |
นายพาสิน ธนสิน |
หัวหน้าสาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค |
การรับสมัคร
ขอรับใบสมัครได้ที่ สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก 1) ชั้น 1
โทร. 0-2791-5500-10 โทรสาร 0-2997-2394
www.facebook.com/rangsituniversity
คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 พหลโยธิน 87 ถ.พหลโยธิน
อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 5201-4
โทรสาร 0-2997-2200-30 ต่อ 5200
www.rsu.ac.th/digitalart
|
|
|
|
|