วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก

|
|
|
|
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
|
|
College of Oriental Medicine
|
|
|
แผ่นพับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
คู่มือการศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
|
|
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
COLLEGE OF ORIENTAL MEDICINE
นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
website : www.rsu.ac.th/orientalmed
facebook : www.facebook.com/orientalmedrsu
Line ID : ORMRSU
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นศูนย์รวมความรู้ทางด้านการแพทย์แผนตะวันออก (การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์อายุรเวท) และเภสัชกรรมแผนตะวันออก (การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางการแพทย์แผนตะวันออก)
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร และ หลักสูตรระดับปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนตะวันออก มี 6 แขนงวิชา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรที่ 1 การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)
ระยะเวลา 4 ปี จำนวน 140 หน่วยกิต
• เวชกรรมไทย เน้นการตรวจรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนไทยผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันเบื้องต้น
• เภสัชกรรมไทย เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตำรับยาแผนไทยที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านเภสัชกรรมแผนปัจจุบันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มี คุณภาพมาตรฐานตามข้อกำหนดในตำรับยาสมุนไพร
• เน้นการนวดรักษา นวดส่งเสริมสุขภาพ นวดผ่อนคลาย นวดสปา นวดเท้า
• การผดุงครรภ์ไทย เน้นการดูแลสุขภาพแม่ก่อนและหลังคอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
การเรียนการสอน
• วิชาพื้นฐานวิชาชีพดำเนินการสอนโดยคณาจารย์ที่สอนนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมด
• กลุ่มวิชาชีพดำเนินการสอนโดยคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิทางการแพทย์แผนไทย(ประเภท ข )และ เภสัชศาสตร์
• เน้นการศึกษาวิจัยทางคลินิกทางการแพทย์แผนไทย
• ฝึกปฏิบัติการตรวจรักษาโรค การทำหัตถการในสหคลินิกของวิทยาลัยการแพทย์แผนจะเป็นออก
• การผลิตตำรับยาแผนไทยและแผนโบราณที่มีคุณภาพ และมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดในระดับอุตสาหกรรม ในโรงงานผลิตยาสมุนไพรซันเฮิร์บของมหาวิทยาลัยรังสิต
***บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาการแพทย์แผนไทยสามารถการสอบใบประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนไทยทั้งสี่ใบได้แก่เวชกรรมไทย การนวดไทย ผดุงครรถ์ไทย และ เภสัชกรรมไทย (เป็นผู้มีสิทธิ์เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยาสมุนไพรโรงงานผลิตยาสมุนไพร ตาม พ.ร.บ. ยา และพ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ)
แนวทางประกอบอาชีพ
• แพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐบาลและเอกชนเอกชน
• เปิดสถานพยาบาลและสถานบริการด้านสุขภาพ
• ประกอบธุรกิจการผลิตตำรับยาแผนไทย และแผนโบราณที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดในระดับอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
• นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรตำรับยาแผนไทย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมสมุนไพร และเครื่องสำอางสมุนไพร
หลักสูตรที่ 2. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขา เภสัชกรรมแผนตะวันออก
ระยะเวลา 4 ปี จำนวน 130 หน่วยกิต
• มุ่งเน้นผลิต ทางด้านการวิจัยและพัฒนาตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวท อาหารเสริม และเครื่องสำอางสมุนไพร • เรียนรู้พื้นฐานการการแพทย์แผนตะวันออกทุกสาขา(การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์อายุรเวท) เคมีและการตรวจสอบสารสำคัญของพืชสมุนไพร การออกฤทธิ์และความเป็นพิษ การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพรวมทั้ง การประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการผลิตตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวท อาหารเสริม และเครื่องสำอางสมุนไพร
• มีสิทธิ์สอบใบประกอบโรคศิลป์ทางด้านเภสัชกรรมไทยและเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านขายยาและโรงงานสมุนไพรตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ
• สามารถวิจัยพัฒนาตำรับยาสมุนไพรทางการแพทย์แผนตะวันออกในระดับอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ดี และควบคุมคุณภาพตามหลักการของเภสัชกรรมแผนปัจจุบัน
• ฝึกปฏิบัติงานทางด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร การผลิตและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรในโรงงานผลิตยาสมุนไพรซัน เฮิร์บของมหาวิทยาลัยรังสิต และในโรงงานผลิตยาสมุนไพรอื่นๆ
• สอนโดยอาจารย์เภสัชกรแผนปัจจุบันและอาจารย์เภสัชกรรมแผนไทย
แนวทางประกอบอาชีพ
• บัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถทำงานในโรงงานผลิตยาสมุนไพรในระดับอุตสาหกรรม
• ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตำรับยาสมุนไพร อาหารเสริมและเครื่องสำอางสมุนไพร
• เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านขายยาสมุนไพร และโรงงานผลิตยาสมุนไพรตาม พ.ร.บ.ยา และพ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ
หลักสูตรที่ 3. การแพทย์แผนจีนบัณฑิต (พจ.บ.)
ระยะเวลา 6 ปี จำนวน 181 หน่วยกิต
• มุ่งผลิตบัณฑิตทางการแพทย์แผนจีนที่มีคุณภาพ มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีต่างๆตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
• สามารถตรวจวินิจฉัยโรค ดูลิ้น จับชีพจร เลือกใช้ยาจีนหรือตำรับยาจีน การฝังเข็ม การนวดทุยหนา
• การเรียนการสอน เพิ่มเติมจากศาสตร์การแพทย์แผนจีนแล้ว ยังได้เรียนรู้สมุนไพรไทย หลักการทางเภสัชกรรมแผนปัจจุบัน การผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร และตำรับยาจีน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เภสัชกรแผนจีนได้อีกด้วย
• บูรณาการเชื่อมโยงและผสมผสานศาสตร์การแพทย์แผนตะวันออกทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน(การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์อายุรเวท)เป็นการบูรณาการการแพทย์องค์รวม
แผนการศึกษาของหลักสูตรฯ มีดังนี้ :
ชั้นปีการศึกษา |
การจัดการเรียนการสอน |
ภาษาที่ใช้เรียน |
สถานที่เรียน |
ชั้นปีที่ 1 |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ (พื้นฐานวิชาชีพ)
หมวดวิชาเลือกเสรี |
ไทย |
มหาวิทยาลัยรังสิต |
ชั้นปีที่ 2 |
วิชาภาษาจีน |
จีน |
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ชั้นปีที่ 3 |
หมวดวิชาเฉพาะ
(พื้นฐานวิชาชีพ วิชาชีพบังคับ) |
ไทย/จีน
(วิชาชีพบังคับเรียนเป็นภาษาจีน) |
มหาวิทยาลัยรังสิต |
ชั้นปีที่ 4 |
หมวดวิชาเฉพาะ
(พื้นฐานวิชาชีพ วิชาชีพบังคับ) |
ไทย/จีน
( วิชาชีพบังคับเรียนเป็นภาษาจีน) |
มหาวิทยาลัยรังสิต |
ชั้นปีที่ 5 |
หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาชีพบังคับ) |
จีน |
มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ชั้นปีที่ 6 |
หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาฝึกเวชปฏิบัติ) |
ไทย/จีน |
ฝึกงานที่ไทย 6 เดือน
และที่จีน 6 เดือน |
• นักศึกษาทุกคนจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง (Nanjing University of Chinese Medicine)
• ปี2561 ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง 20 ทุน
• สามารถกู้ ทุน กยศ., กรอ. ได้ 200,000บาท/ปี
• ได้รับปริญญาการแพทย์แผนจีนบัณฑิต 2 ปริญญา มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง
• จัดการเรียนการสอนศาสตร์การแพทย์แผนจีนทุกวิชา เป็นภาษาจีนโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง สาธารณรัฐประชาชน จีน
• ชั้นปีที่ 2 เรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กวางสี (Guangxi Medical University) มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
• นักศึกษาต้องผ่านการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ระดับ 4 เป็นอย่างน้อย และ ระดับ 5 จึงจะสามารถเข้าเรียนในกลุ่มวิชาชีพบังคับและวิชาฝึกเวชปฏิบัติ (ชั้นปีที่ 5 และ 6) ศึกษาในมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง (Nanjing University of Chinese Medicine)
• การฝึกเวชปฏิบัติ นักศึกษาจะต้องฝึกงานที่โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน 6 เดือน และโรงพยาบาลในประเทศไทยอีก 6 เดือน
• นอกจากการเรียนทางวิชาการแล้วนั้น ทางหลักสูตรฯ ยังจัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์จีนคอยดูแลนักศึกษาทั้งเรื่องการเรียนและเรื่องส่วนตัว และยังส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัย และภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวิชาชีพสาขาอื่นๆ หรือเพื่อนสาขาการแพทย์แผนจีนต่างสถาบัน เนื่องจากหลักสูตรฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาทั้งในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และหลังจากจบการศึกษาแล้ว
จุดเด่นของหลักสูตร
• เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการสอนด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพสมุนไพรจีนและผลิตภัณฑ์ยาจีน แนวทางการประกอบอาชีพ
• แพทย์แผนจีนในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยสามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนได้
• แพทย์จีน เปิดคลินิกส่วนตัวรักษาโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
• นักวิจัยและพัฒนายาสมุนไพรจีน ประกอบธุรกิจด้านการผลิตยาสมุนไพรจีน ทั้งในโรงงานและร้านขายยาสมุนไพรจีน
• สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านคลินิกในสาธารณรัฐประชาชนจีนได้
Bachelor of Ayurvedic Medicine and Surgery (B.A.M.S) (English Programme) (กำลังดำเนินการ)
หลักสูตรระดับปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนตะวันออก
ระยะเวลา 2 ปี (วันเสาร์และวันอาทิตย์) จำนวนหน่วยกิต 36 หน่วย
โครงสร้างหลักสูตร
• แผน ก แบบ ก 1 (ทำเฉพาะวิทยาพนธ์) 36 หน่วยกิต
• แผน ก แบบ ก 2 (รายวิชาและวิทยาพนธ์) ศึกษารายวิชา 12 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 แขนงวิชา (เลือกแขนงใดแขนงหนึ่งเท่านั้น)
• แขนงวิชา 1 ด้านการพัฒนาการรักษาโรค
• แขนงวิชา 2 ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
• แขนงวิชา 3 ด้านการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผล
• แขนงวิชา 4 ด้านการประเมินคุณภาพ
• แขนงวิชา 5 ด้านการควบคุมการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร
• แขนงวิชา 6 ด้านสุขภาพและความงาม
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
• สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ
ทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ชื่อทุน |
รายละเอียดได้รับยกเว้น |
เกรดเฉลี่ย |
ทุนดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ |
ค่าบำรุงการศึกษาและ ค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร |
ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป (สอบสัมภาษณ์) |
ทุนประสิทธิ์ - คุณหญิงพัฒนา |
ค่าบำรุงการศึกษาและ ค่าหน่วยกิตครึ่งหนึ่ง ตลอดหลักสูตร |
ตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป (สอบสัมภาษณ์) |
ทุนความสามารถพิเศษ |
ติดต่อสำนักงานรับนักศึกษา |
สหคลินิกการแพทย์แผนตะวันออก
บริการตรวจรักษาด้วย ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและ การแพทย์แผนจีน และ
สถานที่ : อาคาร 12 ชั้น 1
โทรศัพท์ : 0 2 997 2222 ต่อ 4406, 4407
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00น – 17.30น
การรับสมัคร
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน ตำบลหลักหก
อำเภอเมือง ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ : 02 997 2222 ต่อ 5169, 5161
โทรสาร : 02 997 2222 ต่อ 5160
มือถือ : 096 118 4424
เว็บไซต์: http://www.rsu.ac.th/orientalmed/
Facebook: www.facebook.com/orientalmedrsu
E-mail : ormrsu@hotmail.com
Line ID : ORMRSU
สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก1) โทรศัพท์ 02 997 2200 ต่อ 5500 – 5510
เปิดทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00น – 16.30 น. |
|
|
|
|