วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
COLLEGE OF MEDICINE
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
DOCTOR OF MEDICAL M.D.
medicine.rsu.ac.th
วิสัยทัศน์ :
สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชนอันดับหนึ่งของประเทศระดับมาตรฐานสากล
Vision :
Thailand’s leading public-private medical school with high international standards
พันธกิจ :
สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชน ที่สร้างประโยชน์ด้านการแพทย์ให้กับสังคม ผลิตบัณฑิตแพทย์ได้มาตรฐานแพทยสภา และระดับสากล
- เน้นการพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคต
- มุ่งเน้นการวิจัย
- ปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการเรียนรู้
- ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบัน
Mission :
Public-private partnership medical school creates health benefits for society and produces medical graduates with medical qualifications that meet the medical council and international standards:
- Emphasize the development of future medical expertise;
- Focus on research development;
- Instill lifelong learning;
- Use modern technologies in the learning process;
- Promote a positive school image
ปรัชญา :
ผลิตแพทย์ที่มีความสามารถในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้ประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี
วัฒนธรรมองค์กร :
สามัคคี มีคุณธรรม
ค่านิยม : LIPS (ร่วมพลังทำงาน เน้นการเรียนรู้ ด้วยความโปร่งใส มีคุณธรรม อย่างมืออาชีพ)
- L (Learning) = มุ่งเน้นการเรียนรู้
- I (Integrity) = คุณธรรม
- P (Professionalism) = มืออาชีพ
- S (Synergy) = พลังร่วม
อัตลักษณ์ :
ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม รับใช้สังคม
เอกลักษณ์ :
มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่ “การศึกษา คือ นวัตกรรม”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้บัณฑิตแพทย์มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติ สอดคล้องกับมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แพทยสภา และสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก (World Federation for Medical Education - WFME) อย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย ดังต่อไปนี้
- ประยุกต์ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (basic and clinical sciences) ในการบริบาลสุขภาพ
- มีความตระหนักและประพฤติตนตามหลักเวชจริยศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ (medical ethics and professional law)
- มีความสามารถในการสื่อสารเชิงวิชาชีพ (professional communication)
- มีความสามารถในการวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาผู้ป่วยอย่างมีเหตุผล
- มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์และเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ (critical thinking and evidence based medicine)
- มีความสามารถในการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ (patient investigation) เพื่อสนับสนุนหรือลบล้างสมมติฐานสาเหตุของปัญหา
- มีความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพระบบบริบาลสุขภาพ: สุขภาพของบุคคล ชุมชน และประชาชน (Health promotion and health care system: individual, community and population health) และการบริบาลแบบองค์รวม (holistic care)
- มีความสามารถในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างสมเหตุผล (patient management)
- มีความสามารถในการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการทำหัตถการ (technical and procedural skills)โดยคำนึงถึงและป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยและญาติ
- มีความรับผิดชอบในบทบาทแพทย์และความรับผิดชอบต่อสังคม (roles of doctor and social responsibility)
- มีความสามารถในการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพและเชิงปัจเจกบุคคล (professional and personal development)
- มีความสามารถในการเป็นผู้นำ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น (leadership and teamwork)
- มีความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา (institutional pride)
- มีจิตสาธารณะ (public spirits)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเทียบเท่าให้มหาวิทยาลัยพิจารณาโดยผู้สมัครสอบวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี (ผู้เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นไป)
หลักฐานการสมัคร
- ใบสมัครตามแบบมหาวิทยาลัย
- รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
- สำเนาหลักฐานการสมัคร 1 ชุด
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
มีช่องทางการรับนักศึกษาเข้าศึกษา 2 ช่องทาง 3 รอบการรับสมัคร คือ
ผ่านการรับของรอบมหาวิทยาลัยรังสิตรับตรง 2 รอบ ดังนี้
- รอบมหาวิทยาลัยรังสิตรับตรงรอบที่ 1
- รอบมหาวิทยาลัยรังสิตรับตรงรอบที่ 2
- ผ่านการรับของ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนที่ 1.สมัครเข้ารับการสอบตามคุณสมบัติและเงื่อนไขในแต่ละรอบการสอบ (รอบมหาวิทยาลัยรังสิตรับตรง / รอบ กสพท.)
- ขั้นตอนที่ 2.ผ่านการสอบข้อเขียนของมหาวิทยาลัยรังสิต หรือ ผ่านการคัดเลือกตามระบบรับตรงของ กสพท. ขั้นตอนที่ 3.ผ่านเกณฑ์การสอบวิชาเฉพาะทางการแพทย์และแบบทดสอบทางจิตวิทยาตามที่คณะกรรมการสอบ สัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด
- ขั้นตอนที่ 4.ผ่านการตรวจสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด
- ขั้นตอนที่ 5.ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- ขั้นตอนที่ 6.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ผู้มีรายชื่อลงทะเบียนการเป็นนักศึกษา
อาจารย์ประจำ จำนวน 605 คน
- สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 14 คน
- สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 591 คน
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ศ.คลินิก นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิการ
- ศ.คลินิก นพ.สุรวิทย์ เตชธุวานันท์ อธิการกิตติคุณ
- ศ.คลินิก พญ.ยุพิน ไทยพิสุทธิกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร และพัฒนาคุณภาพ
- ผศ.นพ.เกษม เสรีพรเจริญกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา
- ผศ.นพ.ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน รองคณบดีฝ่ายปรีคลินิก
- ศ.คลินิก นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม
- ผศ.พญ.ทัศนีย์ กิตอำนวยพงษ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
- ผศ.สุเทพ มงคลเลิศลพ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายกิจการนักศึกษา
- รศ.พญ.วราภรณ์ แสงทวีสิน อาจารย์ประจำ
- ศ.เกียรติคุณ พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ อาจารย์ประจำ
- ผศ.นพ.วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล อาจารย์ประจำ
- นางวันเพ็ญ อิ่มเอิบสิน อาจารย์ประจำ
- นางสาวประภาศรี แพทย์ศิริ อาจารย์ประจำ
- นางสาวศิริพร ยุทธวราภรณ์ อาจารย์ประจำ
สำนักงานวิทยาลัยแพทยศาสตร์
เลขที่ 2 อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์
กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต
(ภายในบริเวณโรงพยาบาลราชวิถี)
ถนนพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2354-4725,0-2644-7000 ต่อ 40909
โทรสาร 0-2354-4726
การรับสมัคร
ขอรับใบสมัครได้ที่ สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก 1) ชั้น 1
โทร. 0-2791-5500-10 โทรสาร 0-2997-2394
www.rsu.ac.th
e-mail: info@rsu.ac.th
www.facebook.com/rangsituniversity
medicine.rsu.ac.th
|