ข่าว ม.รังสิต ผ่านสื่อ

  วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์



วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
College of Engineering


แผ่นพับวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์






คู่มือการศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์




  วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
COLLEGE OF ENGINEERING | B.EngCOLLEGE OF ENGINEERING | B.Eng

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 
engineer.rsu.ac.th
           

Virtual Tour
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สร้างพลังขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี มุ่งสู่ความโดดเด่นทางวิชาการ บริการสังคม และเสริมสร้างจรรยาบรรณ
 
เปิดเส้นทางการศึกษาสู่วิศวกรมืออาชีพ
            ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัย โดยเน้นการคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ และเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม
 
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์
            ระดับปริญญาตรี B.Eng
• วิศวกรรมเครื่องกล                   
• วิศวกรรมยานยนต์                   
• วิศวกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน                                 
• วิศวกรรมอุตสาหการ                
• วิศวกรรมไฟฟ้า (กำลัง สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์)
• วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
• วิศวกรรมเคมี
• วิศวกรรมโยธา
• วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• วิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง
• สาขาวิชาเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน
 
            ระดับปริญญาโท M.Eng
• วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
• วิศวกรรมโยธา
 
            ระดับปริญญาเอก D.Eng
• วิศวกรรมโยธา
 
            ระดับปริญญาตรี-โท B.Eng (RSU) - M.Eng (AIT) Unified Bachelor-Master Degree
• วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
• วิศวกรรมไฟฟ้า
• วิศวกรรมโยธา
 
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
 
ระบบการศึกษา   แบบทวิภาค  (2  ภาคการศึกษาปกติ )
 
            ระยะเวลาของหลักสูตร   4 ปี
 
            จำนวนหน่วยกิตของหลักสูตร   142 - 147 หน่วยกิต
           
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
            สำเร็จการศึกษาจากระดับ ม.6 ปวช. ปวส. (สามารถเทียบโอนรายวิชาพื้นฐานทั่วไปได้)
 
การเทียบโอนวิชา
            วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอื่น สามารถเทียบโอนวิชาย้ายเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรังสิตได้
 
ทุนการศึกษา    
 
ชื่อทุน รายละเอียดได้รับยกเว้น เกรดเฉลี่ยจากสถาบันเดิม
ทุนโครงการสู่ วศ.บ. ค่าบำรุงการศึกษาและ
ค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร
ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
(สอบข้อเขียน)
ทุนดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ค่าบำรุงการศึกษาและ
ค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร
ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
(สอบสัมภาษณ์)
ทุนประสิทธิ์ -
คุณหญิงพัฒนา
ค่าบำรุงการศึกษาและ
ค่าหน่วยกิตครึ่งหนึ่ง
ตลอดหลักสูตร
ตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป
(สอบสัมภาษณ์)
ทุนความสามารถพิเศษ ติดต่อสำนักงานรับนักศึกษา
 
 

วิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
 
ทำหน้าที่ผลิตวิศวกเครื่องกลเพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยหลักสูตรจะสนับสนุนให้บัณฑิตมีความสามารถทั้งด้านวิชาการและบริหารจัดการที่ใช้การวิจัยและพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ในระหว่างการ       ศึกษาได้มุ่งเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติทำการทดลอง การวางแผน ออกแบบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างให้มีขีfความสามารถในการพัฒนางานและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว หลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 แขนงวิชาย่อย คือแขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ที่เน้นทางวิศวกรรมเครื่องกลทั้งพื้นฐานและชั้นสูง
แขนงวิชาวิศวกรรมพลังงาน ที่เน้นพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล และด้านพลังงานชั้นสูง
 
ผลงานนักศึกษาและอาจารย์
•           Robust Controller Design
•           Sizing of rice mills cogeneration system
•           การลดก๊าซ CO2 ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าโดยการปลูกป่า
•           การศึกษาสารทำความเย็น R-502 ที่อุณหภูมิต่ำของเครื่องแช่เยือกแข็งด้วยอากาศ
•           ปั๊มลูกสูบที่ขับเคลื่อนโดยกังหันน้ำแบบคาปลาน
•           รางวัลรองชนะเลิศ  รางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยม “เตาพลังงานแสงอาทิตย์รังสิต-3”     
•           รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 โครงการค่ายนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ เรื่อง “เครื่องกลสเตอร์ลิงเติมอากาศที่ผิวน้ำด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์”
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
•           งานควบคุมในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น วัสดุก่อสร้าง อาหาร เชื้อเพลิง เครื่องนุ่มห่ม เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์ รถยนต์ ฯลฯ
•           ออกแบบจัดสร้าง ควบคุม ทดสอบ และบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
 
บริษัทชั้นนำที่มีศิษย์เก่า
            ซีแพค,  ซูมิโตโม อิเลคทริค วายริ่ง ซิสเต็ม(ประเทศไทย) จำกัด,  อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, บริษัทที่ปรึกษาด้านเซลล์แสงอาทิตย์, วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ฯลฯ
 
 


วิศวกรรมยานยนต์
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต
 
วิศวกรรมยานยนต์เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ผสมผสานวิศวกรรมหลายแขนง โดยอาศัยพื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกลร่วมกับทฤษฎีต่างๆด้านยานยนต์ ในหลักสูตรจะศึกษาภาคทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการทำงานและระบบควบคุมต่างๆ ภายในยานยนต์ พลศาสตร์สำหรับยานยนต์ อากาศพลศาสตร์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน การเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต การบริหารจัดการในอุตสาหกรรมยานยนต์และศูนย์บริการยานยนต์ ตลอดจนเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองการพัฒนายานยนต์ทีมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะ ความปลอดภัย    ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้นักศึกษาจะได้ฝึกภาคปฏิบัติเกี่ยวกับระบบยานยนต์พื้นฐาน ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การทดสอบเครื่องยนต์          การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต (CAD&CAM) และการทัศนศึกษาดูงานอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์
 
ผลงานนักศึกษาและอาจารย์
•           รถประหยัดพลังงาน
•           ที่จอดรถอัจฉริยะ
•           การออกแบบเครื่องผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
•           การศึกษามลพิษในเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล (B100)
•           การศึกษาการใช้น้ำมันดีเซลปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซลการเกษตร
•           การศึกษาการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กับเครื่องยนต์แกส๊โซลีน
•           การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะรถมอเตอร์ไซด์ 4 จังหวะที่ใช้ E85 กับ น้ำมันแก๊สโซลีน 91
•           ผลกระทบของเชื้อเพลิง E100 ต่อเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ
•           ไดนาโมมิเตอร์แบบแผ่นเบรก ขนาดไม่เกิน 15 kW
•           การศึกษาประสิทธิภาพการเบรคของล้อยางเสื่อมสภาพ
•           ไดนาโมมิเตอร์ชินดแรงเสียดทาน
 
แนวทางประกอบอาชีพ
•           วิศวกรในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตยางรถยนต์เป็นต้น
•           วิศวกรออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์
•           วิศวกรทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
•           องค์กรธุรกิจ งานวิศวกรรมและหน่วยงานราชการ
•           ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ศูนย์บริการยานยนต์
•           วิศวกรประเมินความเสียหายในบริษัทประกันภัย
 


วิศวกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน
 
เป็นหลักสูตรเพื่อให้วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานสามารถดูแลบำรุงรักษาอากาศยาน โดยใช้ทักษะเชิงช่างในการดำเนินการซ่อมบำรุงอากาศยานอย่างเป็นขั้นตอนตามหลักการที่ถูกต้องภายในระยะเวลาที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยมุ่งเน้นการศึกษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านโครงสร้าง (Airframe) และเครื่องยนต์ต้นกำลัง (Power plant) รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาตนเองให้ทันกับการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีด้านการบิน หลักสูตรได้เพิ่มเนื้อหาขององค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในระบบต่างๆที่ใช้ในอากาศยานในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการขั้นสูงในระบบต่างๆทั้งในเครื่องบินเชิงพาณิชย์และส่วนบุคคล ตลอดจนมุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้วยการฝึกปฏิบัติงานจริง หลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรแรกและเป็นหลักสูตรเดียวใน        ประเทศไทย ที่ผสมผสานการเรียนการสอนระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตกับสถาบันเทคโนโลยีการบินมาเลเซียน (Malaysian Institute of Aviation Technology) ซึ่งเป็น        สถาบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอนจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO-International Civil Aviation Organization) และกรมการบินพลเรือน ประเทศมาเลเซีย           
 
ผลงานนักศึกษาและอาจารย์
•           เครื่องยนต์ Turbojetแนวทางการประกอบอาชีพ
•           วิศวกรการซ่อมบำรุงอากาศยานในทุกสายการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ
•           วิศวกรในอุตสาหกรรมต่างๆ
 
บริษัทชั้นนำที่มีศิษย์เก่า
•           สายการบิน Thai Airways, Thai Aviation Service,  Bangkok Airway, Japan Airlines, Nok Air, Orient Air, Chevron และนักศึกษาได้รับทุนรัฐบาลไทยเข้าศึกษาต่อที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

 
 
 
วิศวกรรมอุตสาหการ
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอุตสาหการ เป็นสาขาวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์  การออกแบบผังโรงงาน การวางแผนการผลิต และ การควบคุมกระบวนการผลิตทุกกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยต้นทุนต่ำที่สุด หัวใจสำคัญในการศึกษาคือ การเรียนรู้ การจัดตั้งระบบผสมผสานระหว่างคน เงิน วัสดุและเครื่องจักรอุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธ์ภาพสูงสุด เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้อยู่เสมอ ซึ้งในการนี้ จะต้องใช้ความชำนาญทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และสังคมศาสตร์ร่วมกันไป โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาออกแบบ         ระบุ ทำนาย และประเมินผลการทำงานของระบบดังกล่าว
 
แนวทางในการประกอบอาชีพ
•           วิศวกรฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์(Product design Engineer)
•           วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา(R&D Engineer) 
•           วิศวกรวางผังโรงงาน (Plant design Engineer)
•           วิศวกรฝ่ายผลิต (Production Engineer)
•           วิศวกรโครงการ(Project  Engineer)
•           วิศวกรฝ่ายวางแผน (Planning  Engineer)
•           วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ(QA/QC  Engineer)
•           วิศวกรอุปกรณ์และโครงสร้างการผลิต (Facility  Engineer)
•           ผู้จัดการโรงงาน(Plant Manager)
•           ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆผลงานนักศึกษาและอาจารย์
•           การจัดเส้นทางการขนส่งน้ำอัดลม
•           การออกแบบและสร้างเครื่องยกฝาบ่อและดึงสายเคเบิ้ลโทรศัพท์
•           การปรับปรุงคุณภาพสายการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์
•           การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวัดอัตราประสิทธ์ภาพการใช้เครื่องจักร
•           การผลิตชิ้นงานด้วยเทคโนโลยี CAD/CAM/CNC
•           การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองการให้บริการสนามบินนานาชาติ เป็นต้น
 
บริษัทชั้นนำที่มีศิษย์เก่า
            Goodyear, Stanley, American Standard, Seiko, True, YAMAHA, VOLVO, Canon,ปตท.  etc.
 


 
วิศวกรรมไฟฟ้า (กำลัง สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
 
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  เป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรมและความเจริญมั่นคงของประเทศ  แบ่งหลักสูตรเป็น  3  แขนงวิชาคือ
 
•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง มุ่งเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้ากำลัง การออกแบบสถานีจ่ายไฟฟ้า การกำเนิดและการควบคุมพลังงานไฟฟ้า การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม 
•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสายอากาศ การสื่อสารข้อมูลและโครงข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารไร้สาย การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง การสื่อสารดาวเทียม ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการสื่อสารไมโครเวฟ และระบบสายสื่อสัญญาณ
•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 
ผลงานของอาจารย์และนักศึกษา
•           จักรยานออกกำลังกายผลิตไฟฟ้า  220 v 50 Hz
•           เครื่องควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าระบบไร้สาย Zigbee
•           รถไฟฟ้าสำหรับคนพิการ
•           การประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ dsPIC
•           เครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยกังหันลม
•           ระบบควบคุมแผงโซล่าเซลปรับตามดวงอาทิตย์
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
•           บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง จะสามารถออกแบบระบบไฟฟ้าในหน่วยงานต่างๆ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อให้การบริหารจัดการ        การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานเป็นวิศวกรออกแบบและควบคุมการให้บริการผลิตจำหน่ายไฟฟ้า   
•           บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร จะสามารถออกแบบและดูแลระบบสื่อสารโทรคมนาคม ออกแบบสายอากาศชนิดต่างๆ ออกแบบและดูแลระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบสื่อสารไมโครเวฟ  เป็นต้น 
•           บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถเลือกประกอบอาชีพ ในอุตสาหกรรมต่างๆได้หลากหลาย เช่นอุตสาหกรรมผลิตและประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 


 
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
 
ศึกษา ออกแบบและพัฒนาทั้งระบบฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ออกแบบและวิเคราะห์วงจรที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม ออกแบบหน่วยประมวลผลกลาง หรือวงจรรวมเพื่อทำงานเฉพาะด้าน ศึกษาระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และปฏิบัติจริงทางด้านระบบโครงข่ายข้อมูล อาทิการออกแบบ การสร้าง การควบคุมและการจัดการทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์บนระบบโครงข่าย
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
            วิศกรออกแบบวงจรรวม, วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโครงข่าย, วิศวกรดูแลและพัฒนาระบบโครงข่าย, นักเขียนโปรแกรมประยุกต์, นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร, วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ
 
ผลงานนักศึกษา
•           เครื่องอ่านป้ายสินค้าแสดงผลด้วยเสียง
•           โปรแกรมนับอายุต้นไม้จากภาพวงปี
•           เครื่องเรียกแท็กซี่ภายในหมู่บ้านผ่านเครือข่ายไร้สาย
•           เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนผ่านระบบ GPRS
•           ระบบหาตำแหน่งของอุปกรณ์ไร้สาย
•           การสร้างระบบ Authentication โดยใช้ Free RADIUS Server
 
cpe.rsu.ac.th/


 
วิศวกรรมเคมี
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
 
วิศวกรรมเคมี เป็นสาขาวิชาชีพที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ รวมถึงการใช้พลังงานกับการเปลี่ยนวัตถุดิบหรือเคมีภัณฑ์ในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ทั้งปริมาณและคุณภาพ ทำหน้าที่วางแผนออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิตในโรงงาน ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่จบการศึกษาด้านนี้สามารถประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บริษัทปตท. เคมีคอล จำกัด (มหาชน) บริษัทกระจกไทยอาซาฮี จำกัด และ บริษัทไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์ จำกัด เป็นต้น
 
แนวทางประกอบอาชีพ
1.         งานด้านการปฏิบัติการการผลิต วิเคราะห์กระบวนการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิตในโรงงาน
2.         งานด้านการคำนวณและการออกแบบกระบวนการผลิต (Process Engineer) การออกแบบและการจำลองแบบทางวิศวกรรมเคมีเพื่อการก่อสร้างใหม่ ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งเดิมของหน่วยปฏิบัติการ
3.         งานด้านการควบคุมการผลิต การวางแผนและการจัดการทางด้านการดำเนินการผลิต (Production Engineer) การออกแบบระบบของการควบคุมกระบวนการ
4.         งานด้านวิศวกรรมโครงการ (Project Engineering) การวางแผนโครงการในส่วนของวิศวกรรมเคมี และบริหารควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือต่อเติม           หน่วยปฏิบัติการ
5.         งานด้านการให้คำปรึกษา การแก้ปัญหา การตรวจสอบวินิจฉัย การบริการทาง เทคนิคของหน่วยปฏิบัติการและระบบกระบวนการผลิต
6.         งานด้านการวิจัยและพัฒนา การค้นคว้า สืบค้น ทดสอบสมมติฐานหรือข้อมูลทางสถิติของกระบวนการหรือระบบทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม เคมี ทดสอบกระบวนการผลิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
7.         งานด้านการวิเคราะห์และทดสอบ การวัด การวิเคราะห์ และทดสอบในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับคุณภาพของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
8.         งานด้านการควบคุมดูแลความปลอดภัย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงงาน การควบคุมและพัฒนามาตรการ อุปกรณ์สำหรับความปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ภัยอันตรายของสารเคมี ของเสียทางเคมี รวมถึงการทำแผนฉุกเฉินด้านความปลอดภัย
 


 
วิศวกรรมโยธา
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
 
วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างทั้งหมด มีขอบข่ายงานตั้งแต่การออกแบบ การควบคุมงาน การก่อสร้าง การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพีและฐานราก วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมขนส่งและจราจร วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง
 
ผลงานนักศึกษา
•           การพัฒนาเครื่องทดสอบน้ำหนักเบาเจาะหยั่งแบบพลศาสตร์ สำหรับวัดความต้านทานของชั้นดินเหนียวอ่อน
•           การพยากรณ์ระดับน้ำท่วมโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
•           ระบบฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการเตือนภัยคลื่นสึนามิ สำหรับชายฝั่งทะเลอันดามันประเทศไทย
•           การปรับปรุงคุณภาพทรายโดยน้ำยางพารา
•           วิศวกรรมชลศาสตร์ในพื้นที่เกษตรกรรมขนาดเล็ก
•           โปรแกรมคำนวณการเปลี่ยนรูปของหน่วยแรง หน่วยการยืดตัวและโมเมนต์ความเฉื่อยของพื้นที่
•           ซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าแกลบละเอียดและเส้นใยไม้สบู่ดำ
•           การผลิตและปรับปรุงแผนที่โดยอาศัยข้อมูลจาก Google Earth
 
ผลงานอาจารย์
•           ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
•           พฤติกรรมการรับแรงของระบบเสาเข็มร่วมกับ Pile Cap
•           การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเตือนภัยคลื่นสึนามิสำหรับประเทศไทย
•           Application of neural network mode in establishing a stage-discharge relationship in tidal river
•           The Hat Yai flood: the worst first flood in Thai history
•           การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
 


วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
 
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2540 และเป็นสาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม  ปัจจุบันได้มีการกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสังคมไทยยังมีความต้องการวิศวกรสิ่งแวดล้อมอีกจำนวนมากเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การเรียนรู้ด้านการออกแบบระบบผลิตน้ำประปา ระบบท่ออาคาร ระบบท่อระบายน้ำเสียและท่อระบายน้ำฝน ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระบบบำบัดมลพิษอากาศและเสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม และวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่ถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย
 
ผลงานดีเด่นนักศึกษาและอาจารย์
•           การกำจัดสีน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรม
•           การกำจัดความเค็มของน้ำทะเล
•           การบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า
•           การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ
•           การทำเสถียรตะกอนโครเมี่ยมในรูปคอนกรีตบล็อก
•           การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใน
•           การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดปทุมธานี
•           การจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง
•           แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการจัดการคุณภาพอากาศ
 
แนวทางประกอบอาชีพ
•           วิศวกรสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมสิ่งแวดล้อมของทางราชการ
•           วิศวกรสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ
•           วิศวกรสิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษา บริษัทก่อสร้างและบริษัทเอกชนต่าง ๆ
•           วิศวกรสิ่งแวดล้อมอิสระ
 
บริษัทชั้นนำที่มีศิษย์เก่า
            AIT, Team, CP, การประปานครหลวง, โรงไฟฟ้า จังหวัดสระบุรี, Tesco Lotus, PANYA CONSULTANS CO.,LTD, เทศบาลฯ
 

 
องค์ประกอบแห่งการเรียนรู้…ก่อนจะเป็นวิศวกรระดับอาชีพ
            • หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            • อุปกรณ์การเรียนและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย
            • ศักยภาพของคณาจารย์ด้านคุณวุฒิและประสบการณ์วิชาชีพ
            • ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดระหว่างศิษย์และอาจารย์
            • สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
            • ความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำด้านวิศวกรรม
            • ทัศนศึกษาดูงานในภาคอุตสาหกรรม
            • การบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
            • ออกพื้นที่ปฏิบัติการภาคสนาม
            • ฝึกปฏิบัติงานจริงในภาคอุตสาหกรรม
 
โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
            • โครงการติวเข้ม เพื่อสอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมจากสภาวิศวกร
            • โครงการส่งเสริมด้านการใช้ภาษา English camp และแนะแนวการสมัครงาน
            • โครงการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย software การออกแบบทางวิศวกรรม
            • โครงการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
            • โครงการส่งเสริมประกวดผลงานรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย
            • โครงการเปิดโลกวิศวกรรมศาสตร์
            • โครงการอบรมสัมมนาทางวิชาการ
            • โครงการแข่งขันทางวิชาการ
            • โครงการติดตามบัณฑิต
 
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 พหลโยธิน 87 ถ.พหลโยธิน
อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทร. 02-9972200-30 ต่อ 3221, 3223, 3229 
โทรสาร. 02-9972200-30 ต่อ 3230 หรือ 02-5339472
 
การรับสมัคร
ขอรับใบสมัครได้ที่ สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก 1) ชั้น 1
โทร. 0-2791-5500-10  โทรสาร 0-2997-2394
www.rsu.ac.th
e-mail: info@rsu.ac.th

 


ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 89 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 39 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 15 หลักสูตร รวม 143 หลักสูตร
วิทยาศาสตร์ - สุขภาพ
___
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
พยาบาลศาสตร์
วิทยาศาสตร์
กายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
เทคนิคการแพทย์
ทัศนมาตรศาสตร์
รังสีเทคนิค
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ - เทคโนโลยี
___
สถาบันการบิน
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
นวัตกรรมเกษตร
เทคโนโลยีอาหาร
มนุษยศาสตร์ - สังคมศาสตร์
___
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
นิติศาสตร์
วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
สถาบันภาษาอังกฤษ
สถาบัน Gen.Ed.
อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
รัฐศาสตร์
การทูตและการต่างประเทศ
เศรษฐกิจ - ธุรกิจ
___
บริหารธุรกิจ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ
วิทยาลัยการกีฬา
บัญชี
เศรษฐศาสตร์
ศิลปะ - การออกแบบ
___
ดิจิทัลอาร์ต
วิทยาลัยการออกแบบ
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรออนไลน์ / นานาชาติ / ป.โท-เอก
___
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยนานาชาติ
International Chinese College (中国国际学院)
Rangsit Cyber University
วิชาการ / วิจัย /
ประกันคุณภาพ

Journal of International
- Journal of Current Science and Technology (JCST)
- Rangsit Journal of Social Science and Humanities (RJSH)
- Interprofessional Journal of Health Sciences (IJHS)
- Rangsit Journal of Educational Studies

Journal of National
- วารสารพัฒนาการเรียนการสอน (Teaching and LearningJournal of Rangsit University : Teaching and Learning)
- วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ (Journal of Communication Arts Review)
ว- ารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ (Business Administration and Economics Review)
- วารสารศิลปศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Rangsit University)
- วารสารรังสิตสารสนเทศ (RSU library journal)
- รังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ (Journal of Rangsit Graduate Studies)
- วารสารดนตรีรังสิต (Rangsit Music Journal)
- วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี (Rangsit University Journal of Engineering and Technology)
- วารสารนวัตกรรมสังคม (Journal of Social Innovation)

ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์
SHOWCASE
ปล่อยของ
iTunes U
RSU Gallery
BOOKSHELF
ศาลาดนตรีสุริยเทพ 30 ปี ม.รังสิต
อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก้าวข้ามวิกฤติชาติ
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน
อาชีพอินเทรนด์เปลี่ยนโลก..คุณเองก็เป็นได้
ดาวน์โหลด / ฟอนต์ / ซีไอ
ดาวน์โหลดโลโก้
ดาวน์โหลดฟอนต์
ดาวน์โหลดซีไอ

NEWS & MEDIA
สารรังสิต
RSU Media
SOCIAL MEDIA