วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
COLLEGE OF BIOMEDICAL ENGINEERING
http://bme.rsu.ac.th
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมชีวการแพทย์)
ประกอบด้วยหลักสูตร ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท
วศ.บ. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) B.Eng. (Biomedical Engineering)
วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) M.Eng. BME (Biomedical Engineering)
ปรัชญา (Philosophy)
นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ
ปณิธาน (Pledge)
มุ่งผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการเพื่อเติมเต็มระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้กับสังคม
อัตลักษณ์ (Identity)
ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ
วิสัยทัศน์
ก้าวสู่ “คณะแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน”
คำขวัญประจำวิทยาลัย
“Quantum Leap to the Innovation & Entrepreneurship Faculty”
ยุทธศาสตร์หลัก
ยุทธศาสตร์ที่ 1. มีระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง
ยุทธศาสตร์ที่ 2. เป็นคณะแห่งการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมแห่งอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3. มีระบบบริหารจัดการเพื่อเป็นคณะผลลัพธ์
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับภาคผู้ประกอบจริงมีความยืดหยุ่น และมีคุณภาพสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต
2. ผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
3. สร้างสังคมและบรรยากาศภายในคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็น”คณะแห่งความเป็นนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ” โดยการผสมผสาน องค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้ากับวิชาชีพ
4. สร้างวัฒนธรรมให้คณะเป็นสังคมของคนดี คนเก่ง มีความสุข อบอุ่นและทำให้บุคลากร
5. ผลผลิต
6. สามารถผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะในการทำงานได้ทั่วโลก และมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ
7. สามารถผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
8. เป็นศูนย์กลางทางวิชาการด้านวิศวกรรมคลินิก และ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ของประเทศและเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล
9. มีสังคมและบรรยากาศเป็น”คณะแห่งความเป็นนวัตกรรมและผู้ประกอบการ ”
10. เป็นสังคมของคนดี คนเก่ง มีความสุข อบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้น
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกรชีวการแพทย์ หรือวิศวกรคลินิคประจำโรงพยาบาล หรือ หน่วยงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวการแพทย์ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
2. วิศวกรบริการ ประจำบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการการให้บริการทางด้านเครื่องมือแพทย์
3. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือแพทย์ ประจำองค์การที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเครื่องมือแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชน
4. วิศวกรชีวการแพทย์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายผลิต หรือ ควบคุมคุณภาพ ประจำหน่วยงานขององค์การของรัฐหรือบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการทางด้านผลิตเครื่องมือแพทย์
5. ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ ประจำบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการการให้บริการทางด้านเครื่องมือแพทย์
6. ประกอบธุรกิจส่วนตัว ทางด้านการจำหน่าย การให้บริการ หรือการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับงานทางด้านเครื่องมือแพทย์ หรืองานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
7. ศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นอาจารย์ หรือนักวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรี
** เริ่มปีการศึกษา 2560
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
143 หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
30 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ |
107 หน่วยกิต |
• กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ |
35 หน่วยกิต |
• กลุ่มวิชาชีพ |
72 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า |
6 หน่วยกิต |
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
• จบ ม.6 สายวิทยาศาสตร์ หรือ
• จบ ปว.ช. ปว.ส. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า หรือใกล้เคียง(ผู้ที่จบระดับ ปว.ส. ใช้ระบบเทียบโอนหน่วยกิต)ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
** เริ่มปีการศึกษา 2560
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
101 หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
8 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ |
87 หน่วยกิต |
• กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ |
27 หน่วยกิต |
• กลุ่มวิชาชีพ |
60 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า |
6 หน่วยกิต |
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
รับผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอุปกรณ์การแพทย์ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคนิคกายอุปกรณ์หรือใกล้เคียง ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาโท
ระบบทวิภาค
ระบบทวิภาค หน่วยกิตตลอดหลักสูตร 41 หน่วยกิต
การศึกษา แผน ก2. ทำวิทยานิพนธ์ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
เรียน วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. หรือ วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
รับผู้จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสารสนเทศ หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสารสนเทศ ฟิสิกส์ประยุกต์ ฟิสิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีอุปกรณ์การแพทย์ หรือมีคุณสมบัติตามความเห็นชอบของหลักสูตร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สมัครทางระบบ Online ที่ www.rsu.ac.th/bmi
E-Mail pakit.p@rsu.ac.th , anantasak_09@hotmail.com
โห้อง 4-113 , 4-222 ชั้น 2 อาคาร 4 (วิทยาศาสตร์)
โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 1506 , 1428 โทรสาร 1408
52/347 พหลโยธิน 87 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
|