Sarn Rangsit Online
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๑๕ มกราคม ๒๕๔๘
 

RSU

Home
Editor's Talk
Scoop
News
Showcase
Good Old Day
Interview
Hitchhiker
Law and Order
Bookshelf
Health Tip
On Campus
Joyous Sport
Verbal Language
Life Style
Hidden Question
Editorial Staff
Feedback
Back Issues
Subscribe

On This Month's cover - click for a larger image
On this Month's Cover:
RSU's 20th Anniversary
 
 
Verbal Language  

Printable Version
 

คำง่ายๆ ที่ไม่ใช่ ของกล้วยๆ (2)

พูดถึง lemon ครูขอแวะคุยเรื่องนี้สักหน่อยค่ะ คำว่า มะนาว ฝรั่งเขาใช้ได้ สองคำก็คือ lemon กับ lime จริงๆแล้ว มะนาวที่ลูกกลมๆแป้นๆ สีเขียวเข้ม รสชาติเปรี้ยวจัด กลิ่นหอม ที่มีอยู่ในบ้านเรานั้นฝรั่งเขาเรียกว่า lime ไม่ใช่ lemon อย่างที่คนไทยเข้าใจกันหรอกค่ะ

ส่วนมะนาวที่ลูกรีๆ ผลโตๆ และมีส่วนที่ปูดออกมาเล็กน้อย ตรงหัวและท้ายลูก(คล้ายๆมะกรูด) สีจะออกเขียวอ่อนๆ รสชาติจะเปรี้ยวน้อยกว่า และไม่หอมเท่ามะนาวบ้านเรา ถ้าแบบนี้ฝรั่งเขาเรียกว่า lemon ค่ะ

Book on How To Speak English Well
เคยมีเพื่อนฝรั่งเล่าให้ครูฟังเรื่อง น้ำมะนาว สมัยที่เธอมาอยู่เมืองไทยใหม่ๆ เขาไปเที่ยวที่สวนจตุจักร วันนั้นอากาศร้อนมาก เธอรู้สึกอยากดื่มน้ำมะนาวเย็นๆให้ชื่นใจ ก็เลยไปสั่งน้ำมะนาวที่ร้านขายน้ำ ความที่เธอได้ข้อมูลมาว่ามะนาวบ้านเรารสชาติอร่อย และหอมกว่ามะนาวของบ้านเขา เธอก็เลยสั่งน้ำมะนาวด้วยความมั่นใจว่า "Pure lemon juice with ice, please."ขอน้ำมะนาวสด (แบบไม่ผสม) ใส่น้ำแข็งค่ะ (นึกภาพตามนะคะสงสัยเธอคงอยากจะดื่มแบบ whisky on the rock ประเภทเหล้าไม่ผสมอะไรเลยใส่แต่น้ำแข็ง แบบนั้นละมั้ง )

คนขายก็คงนึกในใจว่าแม่สาวฝรั่งคนนี้มาเปรี้ยวจะกินเข้าไปได้ยังไง แต่ก็ทำให้ตามที่เธอสั่ง

พอเธอดื่มเข้าไปเท่านั้นแหล่ะ สำลักเลย คงไม่ต้องบรรยายต่อแล้วนะคะ

เธอต่อว่าคนขายว่าทำไม มันเปรี้ยวขนาดนี้ ไม่เห็นอร่อยเหมือนที่มีคนบอกเธอเลย

คนขายก็ใจดี บอกว่ารอเดี๋ยวแล้วก็ชงให้ใหม่ ที่พวกเราเคยดื่มๆกันก็คือต้องผสมน้ำ น้ำตาลนิด เกลือ หน่อย แค่นี้ก็อร่อยเหาะแล้ว (คุณผู้อ่านขา กรุณาเม้มปากด้วยค่ะ เดี๋ยวน้ำลายหยดลงบนหนังสือ)

แม่เพื่อนฝรั่งของครูพอได้ชิมใหม่ บอกว่า อร่อยจริงๆ หอม และรสชาติดีกว่าน้ำมะนาวบ้านเธอจริงๆ

นี่ไงคะที่ทำไมฝรั่งถึงหลงเสน่ห์น้ำมะนาวของไทย เพราะมันกลิ่นหอม และ รสชาติจัดจ้านกว่าค่ะ

หลายคนคงพอนึกถึงรูปร่างหน้าตาของ lemon ออกแล้วใช่ไหม แต่ถ้านึกไม่ออก จะมีปั๊มน้ำมันอยู่ปั๊มหนึ่ง ใช้สีเขียวๆเป็นสัญลักษณ์ ในปั๊มนั้นจะมีร้านมินิมาร์ท ที่ใช้ลูกมะนาวแบบ lemon เป็นโลโก้ ลองสังเกตดูนะคะ

แค่พูดถึงมะนาวเผลอออกนอกเรื่องไปซะไกล ขอวกกลับมาเข้าเรื่องของเราต่อดีกว่าค่ะ

แม่สาวน้อยคนเดิม มองไปที่น้ำในขวดโหลหนึ่งเห็นสีขาวๆแน่ใจว่าเป็นน้ำมะพร้าวแน่นอน เธอพูดโดยไม่ต้องคิดเลยว่า coconut juice ครูกำลังดื่มน้ำมะพร้าวอยู่ แทบสำลักเลย พลางคิดในใจว่า ตายแล้วหนูขา ทำไมมาตกม้าตายเอาคำสุดท้ายอย่างนี้ หนูแปลไปได้ยังไง coconut juice มีที่ไหน

ไม่ใช่แต่ครูนะคะ ฝรั่งคนนั้นก็ขำ เธอมองครูแบบงงๆที่เห็นครูทำหน้าขำๆใส่เธอ เธอก็เลยเริ่มออกอาการเหวอแบบช่วยหนูด้วยค่ะ

ครูเลยต้องกระซิบบอกเธอว่า น้ำมะพร้าวเขาเรียกว่า coconut milk นะจ๊ะ ไม่ใช่ coconut juice

เธอทำหน้าสงสัย ว่าเป็น milk ได้ยังไง ไม่ต้องสงสัยหรอกค่ะ เพราะฝรั่งเขาเรียกแบบนั้นจริงๆ

ครูเคยถามฝรั่งว่าทำไมเขาใช้คำว่า milk กับน้ำมะพร้าว แต่ทีน้ำผลไม้อื่นๆทำไมใช้ juice ฝรั่งบอกว่า ไม่รู้ แถมยังว่า นี่! พนิตนาฏ ทำไมเธอขี้สงสัยนัก ไม่ต้องสงสัยสักเรื่องได้ไหม ไม่ได้ค่ะ ต้องคิดหาคำตอบให้ได้เวลาลูกศิษย์อยากรู้จะได้อธิบายได้ว่ายังไง

นี่เป็นข้อสันนิษฐานของครูนะคะ ครูเดาว่าที่ฝรั่งเขาไม่ใช้ juice เพราะว่า juice มักจะหมายถึงน้ำที่ถูกบีบ หรือคั้นออกมา แต่น้ำมะพร้าวเราไม่ได้ไปบีบหรือคั้นมันออกมาใช่ไหม แล้วก็เลยคิดต่อไปอีกว่า ก็แล้วทำไมไม่ใช้ water มาใช้คำว่า milk ทำไม อันนี้ครูก็ขอเดาต่อไปว่า ที่เขาเลือกใช้คำว่า milk ก็เพราะ milk หมายถึงน้ำบริสุทธิ์ ที่เกิดภายในสิ่งมีชีวิต คล้ายๆกับที่คนไทยใช้ น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ เพราะเชื่อว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ที่สุด (เอ! ข้อสันนิษฐานของครูน่าเชื่อถือไหมนะ) เขาก็เลยใช้ coconut milk จ้า (ครูถามฝรั่งว่าที่ครูพูดมาเป็นไปได้ไหม เขาบอกว่าเป็นไปได้ๆๆ)

แต่ถ้าใครคิดยังไงก็ลองส่ง e-mail มาคุยกันดูนะคะ

เห็นไหมคะ บางทีแค่คำง่ายๆ ใกล้ๆตัวเราแค่นี้ บางทีเราก็ไม่รู้ ไม่ได้ใส่ใจกับมัน ก็เพราะคิดว่าเป็นเรื่องกล้วยๆ เลยพาให้ผิดเพี้ยนไป ครูว่า บางทีถ้าเราใช้คำยากๆผิด ก็ยังจะทำให้หน้าแตกน้อยกว่านี้อีกนะ