อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
Criminology and Justice Administration
  คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
Faculty of Criminology and Justice Administration

cja.rsu.ac.th
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์
Bachelor of Science Program in Criminology and Forensic Science
รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต


วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.


ปรัชญา

     คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะและองค์ความรู้ ในสาขาสามารถนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม และช่วยแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอันส่งผลกระทบต่อความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน โดยมีเป้าหมายให้บัณฑิตในสาขามีความรู้ สามารถประยุกต์องค์รู้ในลักษณะสหวิทยาการ สามารถทำงานทั้งในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม

     หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ที่สามารถทำงานในหน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานนิติวิทยาศาสตร์ อาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม บัณฑิตเหล่านี้จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของไทย ด้วยการอาศัยความรู้นิติวิทยาศาสตร์และอาชญาวิทยามากขึ้น ซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม


วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ การประยุกต์ และบูรณาการศาสตร์ทางด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
  2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีความรู้ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และนำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ควบคู่กับการเน้นการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
  3. เพื่อสนับสนุน ผลักดัน ให้สังคมได้ตระหนัก เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา และกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างเป็นรูปธรรม
  4. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นการศึกษาแบบสหวิทยาการสำหรับเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในระดับที่สูงขึ้น

จุดเด่นของหลักสูตร

     หลักสูตรจัดการเรียนการสอนโดยอาจารย์ประจำคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และอาจารย์ประจำคณะที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ หลักสูตรได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชามาบรรยายถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ หลักสูตรยังจัดกิจกรรมพานักศึกษาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ และจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้ฝึกงานในหน่วยงานของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอีกด้วย


กิจกรรมเสริมหลักสูตร
  1. กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ ในหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
  2. การจัดเสวนาวิชาการ หรืออบรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชา
  3. การฝึกงานในสถานประกอบการจริงทั้งหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม
  2. ผู้ประกอบการอิสระ หรือทำงานในหน่วยงานของภาคเอกชน
  3. นักวิชาการ และนักวิจัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

 
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ประมาณ 298,500 บาท



หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Bachelor of Arts Program in Criminology and Criminal Justice
รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต


วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.


ปรัชญา

     คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะและองค์ความรู้ ในสาขาสามารถนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม และช่วยแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอันส่งผลกระทบต่อความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน โดยมีเป้าหมายให้บัณฑิตในสาขามีความรู้ สามารถประยุกต์องค์รู้ในลักษณะสหวิทยาการ สามารถทำงานทั้งในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม

      ด้วยความที่ปัญหาอาชญากรรมในประเทศไทยมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ ความเหลื่อมล้ำในสังคมส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากทั้งอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพในด้านวิชาการและด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป


วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในสาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม สามารถประยุกต์องค์ความรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ สรุปปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคม
  2. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตสามารถเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการความรู้ในการทำงานในระบบงานยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมในลักษณะสหวิทยาการสนับสนุนให้บัณฑิตมีความคิดริเริ่ม และนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม
  4. เพื่อพัฒนาทักษะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าข้อมูลจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง สามารถนำเสนอความคิด และเผยแพร่องค์ความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์เหมาะสมกับสถานการณ์
  5. เพื่อให้บัณฑิต มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน มีคุณธรรมและจริยธรรมมีจิตสำนึก และจิตวิญญาณของการช่วยเหลือ การให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิด

จุดเด่นของหลักสูตร

     หลักสูตรจัดการเรียนการสอนโดยอาจารย์ประจำคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และอาจารย์ประจำคณะที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ หลักสูตรได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชามาบรรยายถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ หลักสูตรยังจัดกิจกรรมพานักศึกษาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ และจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้ฝึกงานในหน่วยงานของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอีกด้วย


กิจกรรมเสริมหลักสูตร
  1. กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ ในหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
  2. การจัดเสวนาวิชาการ หรืออบรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชา
  3. การฝึกงานในสถานประกอบการจริงทั้งหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. บุคลากรประกอบอาชีพในด้านที่เกี่ยวข้องกับอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม อาทิ พนักงานคุมประพฤติ พนักงานราชทัณฑ์ พนักงานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
  2. บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติงานทางด้านกระบวนการยุติธรรม อาทิ เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม นักวิชาการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
  3. บุคลากรประกอบอาชีพในองค์การมหาชนหรือทำงานในภาคเอกชนและหน่วยงานภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม อาทิ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หน่วยงานรักษาความปลอดภัย มูลนิธิ สมาคม และองค์กรระหว่างประเทศ
  4. นักวิชาการ นักวิจัย ในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

 
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ประมาณ 352,200 บาท


การรับสมัคร
  • สำนักรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก 1) ชั้น 1
  • 52/347 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
  • โทร : 02-997-2200-30 ต่อ 5500-5510

  • สำนักงาน คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ชั้น 3 ห้อง 308
  • โทร : 02-997-2200-30 ต่อ 1283
  • โทรสาร : 02-997-2200 ต่อ 1216