|
|
|
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
|
|
Institute of Public Administration and Public Policy
|
|
|
|
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต
Institute of Public Administration and Public Policy
publicad.rsu.ac.th
ปรัชญาวิทยาลัย
กิจการของบ้านเมืองหรือประเทศนั้นต้องอาศัยรัฐบาลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคมร่วมกันนำพาประเทศไปด้วยวิสัยทัศน์ ความคิด และทฤษฎีที่เน้นความเป็นเลิศ นำยุค นำสมัย และสอดคล้องกับความเป็นจริง การเรียนการสอนของวิทยาลัยมุ่งผลิตนักศึกษาออกไปเป็นผู้นำแก่ภาครัฐและภาคสังคมสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในทางรัฐประศาสนศาสตร์ การทูตและการต่างประเทศ รัฐศาสตร์ และการบริหารงานยุติธรรม ที่เน้นความช่ำชองในแต่ละศาสตร์หรือแต่ละวิชาชีพของตน แต่ขณะเดียวกันจะให้รอบรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย นักศึกษาในระดับปริญญาตรีจะได้รับการฝึกฝน และบ่มเพาะในภาคปฏิบัติด้วย ส่วนนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจะมุ่งเน้นให้รู้จักคิดค้น สร้างสรรค์งาน ชอบการค้นคว้าวิจัย และสามารถนำงานวิจัยทั้งหลายไปใช้ในการทำงานได้
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Master of Public Administration)
หน่วยกิตและแผนการศึกษา
หลักสูตรมีหน่วยกิตรวมทั้งสิ้น 39 หน่วยกิต
มีแผนการศึกษา 2 แผน ได้แก่
แผน ก. ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แผน ข. ศึกษารายวิชาและทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
คุณสมบัติผู้สมัคร
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาวิชาจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ (ที่ ก.พ. รับรอง)
วัน เวลาเรียน
เรียนวัน เสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น.
ภาคเรียนที่ 1 ระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม
ภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม
สถานที่เรียน
อาคารประสิทธิรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Ph.D.Public Administration)
การศึกษาเป็นระบบทวิภาค ประกอบด้วยภาคการศึกษาปกติ 2 ภาคและภาคฤดูร้อน 1 ภาค
นักศึกษาต้องศึกษาให้สำเร็จโดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี
โปรแกรมการศึกษา
นักศึกษาที่จบการศึกษาปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์(Public Administrtation) โดยตรง จะเข้าศึกษาในหมวด
วิชาบังคับและวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาปรัชญาและวิธีวิจัย 12 หน่วยกิต
และทำดุษฎีนิพนธ์ในหมวดดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวม 63 หน่วยกิต
นักศึกษาที่จบการศึกษาปริญญาโทจากสาขาอื่น ต้องศึกษาหมวดวิชาพื้นฐานจำนวนไม่เกิน 18 หน่วยกิต ตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นักศึกษาบางรายอาจจะศึกษาหมวดวิชาเสริมพื้นฐานโดยความยินยอมและความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและผู้อำนวยการหลักสูตร
|
|
|